วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การไหว้ของคนไทย

การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ คำที่มักกล่าวเมื่อไหว้ทักทายหรือลาคือ "สวัสดี" มาจากคำ "สฺวสฺติ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง หรือความปลอดภัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ริเริ่มใช้ มีความหมายเชิงอำนวยพรให้เจริญรุ่งเรือง

๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ 

๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว 

๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ 





โรนัลด์ แมคโดนัลด์ มาสคอตของแมคโดนัลด์ซึ่งตั้งหน้าร้านแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย



ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

วันนี้ลองถามเล่นๆ แต่แฝงไปด้วยสาระนะครับ
สมมุติถ้าให้ท่านคิดถึง เกี่ยวกับ ประเพณีไทย สิ่งแรกเลยที่ท่านคิดถึง ท่านได้นึกถึงอะไร
เช่น การละเล่นพื้นบ้านที่เด้กเล่นแทบทุกคนเคยได้เล่น และชอบมาก
หรือ วันสงกรานต์ที่มีการสาดน้ำและเย็นทั่วเมืองไทยเราพร้อมด้วยชาวต่างชาติที่หลงใหลในความเป็นไทย หรือวันลอยกระทงของเหล่าหนุ่มสาวที่ทำให้คิดถึง ความสวยงามของกระทงที่ลอยอยู่ในสระน้ำ
หรือแม้แต่การแต่งกายของคนไทยที่เรียบง่าย และผ้าที่สวยไม่แพ้ชาติใดในโลก
และอื่นๆ
สำหรับผมแล้วคิดถึง คนไทยที่มีความภาคภูมิในในประเพณีของตนและชาวต่างชาติยังให้การยอมรับ
และชอบในวัฒนธรรมไทยและประเพณีของไทยเราอีกมากมาย
แล้วท่านคิดว่า ความหมายของประเพณีไทย คืออะไร หลายคนพอทราบแต่ไม่สามารถที่อธิบายได้ออกมาเป็นคำที่สระสรวยสวยงาม
แล้วท่านรู้ไหมว่าแต่ละปีของเรา มีงานประเพณีหรือเทศกาลใดบ้างในแต่ละเดือน
หาความรู้ได้ที่
http://siamtradition.blogspot.com/p/blog-page_7344.html

วันนี้หวังว่าหลายคนคงจะได้รับความรู้ไปมาก เราในฐานะคนไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยเราให้เป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก

มีวีดีโอที่อยากให้คนไทยทุกคนดู






ประเพณีแข่งเรือยาว พิมาย

งานนี้ที่พิมายจะจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี



ปีนี้ 2555 เพิ่งจัดและจบไปแล้ว เรามีวีดีโอ ของการแข่งขันปีนี้มาให้ดูกันครับว่ามันส์ขนาดไหน

งานนี้มีมาแต่นานมากแล้วครับ ส่วนมากจะจัดพร้อมกับเทศกาลเที่ยวพิมายของทุกปี ทำให้เป็นเทศกาลที่คนพิมายเองจะไม่ทราบข้อมูลก็เป็นไปไม่ได้ 
ปีนี้ที่ได้ไปเที่ยวมา เอ๊ะ เราคนพิมายนี่หว่า อิอิ ลองไปเดินเล่นมา จะบอกว่าคนเยอะมากๆ พร้อมกับตลาดของการขายสินค้าและกาชาดเล็กๆให้ได้ลุ้นกันตามเคย

ส่วนผลการแข่งเรือยาวออกมาเป็นแบบนี้ครับ

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณี "เทศกาลเที่ยวพิมาย" ประจำปี 2555
ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 
ณ ลำน้ำจักราช อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
ระหว่างวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2555
..................................

ประเภทไม่เกิน 55 ฝีพาย ก
ชนะเลิศ  เทพนรสิงห์ 88 จ.สระบุรี ครองถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ
รองชนะเลิศอันดับ 1  เจ้าแม่ประดู่ทอง หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ จ.ชลบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 2  เทพหงษ์ทอง วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม 
รองชนะเลิศอันดับ 3  พรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี

ประเภทไม่เกิน 55 ฝีพาย ข
ชนะเลิศ  เจ้าขุนเณร-กระทิงแดง จ.เพชรบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 1  เศรษฐีเรือทอง จ.ลพบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 2  ใบกล้วย (หงส์นคร) จ.นครสวรรค์
รองชนะเลิศอันดับ 3  เจ้าพ่อวังกรูด จ.บุรีรัมย์

ประเภทไม่เกิน 40 ฝีพาย (ทั่วไป)
ชนะเลิศ  เจ้าแม่ประดู่เงิน หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ จ.ชลบุรี ครองถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
รองชนะเลิศอันดับ 1  เจ้าแม่วันทอง วัดตะเคียนเลื่อน จ.นครสวรรค์
รองชนะเลิศอันดับ 2  สาวสวยสุภาพร จ.ร้อยเอ็ด
รองชนะเลิศอันดับ 3  เจ้าแม่ธรรมเนียม จ.ร้อยเอ็ด



ปีหน้า พฤศจิกายน อย่าลืมชวนลูกหลานมาเที่ยวพิมายกันนะครับผม





วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ภาพ:Bangfai_21.jpg

บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ภาพ:Bangfai_1.jpg

ภาพ:Bangfai_16.jpg

ภาพ:Bangfai_17.jpg

ภาพ:Bangfai_22.jpg

ภาพ:Bangfai_13.jpg

ภาพ:Bangfai_6.jpg

ภาพ:Bangfai_5.jpg

ภาพ:Bangfai_2.jpg

ภาพ:Bangfai_8.jpg


ภาพ:Bangfai_7.jpg

ภาพ:Bangfai_4.jpg


ภาพ:Bangfai_9.jpg

ภาพ:Bangfai_14.jpg

ภาพ:Bangfai_18.jpg


ประเพณีบุญบั้งไฟ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ประเพณีบุญบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ รายละเอียด ชื่อเป็นทางการ ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคมของทุกปี สถานที่จัด ภาคอีสานของไทย และ ลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้



จังหวัด ยโสธร
ช่วงเวลา
ดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ
าวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

พิธีกรรม 

๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้) 
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ 
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง) 
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง

สาระ 
๑. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
๒. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
๓. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
๔. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร 

ปลาหมึกย่าง ในงานเทศกาลพิมาย 2555 ขายดี ยั่วน้ำลายดีจริงๆ







วิธีทำ ปลาหมึกย่างนั้นก็ไม่ยาก
ส่วนผสม
  1. ปลาหมึกสด (ปลาหมึกกระดอง)
  2. ซี่อิ๊วดำ
  3. น้ำเปล่า
วิธีทำ
  • ให้นำน้ำเปล่าผสมกับซีอิ๊วดำ ในอัตราส่วน 2 :1 คือน้ำ 2 ส่วน และซีอิ๊ว 1 ส่วน
  • ส่วนปลาหมึกก็ทำความสะอาดข้างในตัวปลาให็เรียบร้อย แต่อย่าผ่าออกนะ
  • หลังจากนั้น ก็นำปลาหมึกไปแช่ในน้ำซีอิ๊วที่เราทำเตรียมไว้ และยกแช่ในตู้เย็น หรือถังน้ำแข็งก็ได้ ประมา 2 - 3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาเสียบไม้ย่างขายได้เลย

ส่วนน้ำจิ้ม
  • ก็เป็นน้ำจิ้ม ซีฟู้ดแบบธรรมดา คือ พริกสด, กระเทียม, น้ำตาล, น้ำปลา, มะนาว แล้วนำทุกอย่างปั่นรวมกัน ชิมรสชาติตามชอบ แต่ให้รสจัดสักหน่อย หลังจากนั้นก็หั่นผักชี โรยหน้านิดหน่อย ก็เป็นอันเสร็จ พร้องออกขายได้แล้ว


- workdeena เคยเห็นเขาขายกันที่ตัวละ 10 บาท ถ้าเป็นหนวดปลาหมึก ก็จะขายที่ไม้ละ 5 บาท ถ้าเป็นปลาหมึกขนาดใหญ่เขาขายกันตัวละ 20 บาท แต่ถ้าเป็นปลาหมึกขนาดใหญ่พิเศษ จะขายกันที่ตัวละ 50 บาท ทุกอย่างเสียบไม้ละหนึ่งตัวเท่านั้น ถ้าใครสนใจก็ลองทำขายกันดูนะ ได้ผลอย่างไรก็บอกกันบ้างนะ ขอให้ทุกคนโชคดีนะ

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่สร้างชื่อดังไกลทั่วโลก

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ" 

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับ วันสงกรานต์2555 ปีนี้ ประเพณีรดน้ำดำหัว ของไทยที่โด่งดังไกลทั่วโลกเลยทีเดียว และวันนี้เรามี ประวัติวันสงกรานต์ ฉบับภาษอังกฤษ มาให้ทุกท่านได้ชมและได้รู้กันเลยว่า ประเพณีสงกรานต์ อันยิ่งใหญ่ของไทยนั้นมีค่า และควรรู้รักษาไว้มากแค่ไหน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สงกรานต์2555 ปีนี้คงไม่มีเรื่องฉาว อย่างเช่น สงกรานต์ สีลม หรือ สงกรานต์ โหด เหมือนที่เคยเกิดมาทุกปีเลย

Thailand Songkran or Water Festival is considered the traditional Thai New Year and is famous for its grand water fighting festival. Every year and across the country, Songkran will be held around the middle of April (13-15th), the hottest month of the year, when the Water Festival is held to cool off the heat

ภาพ:Songkarn_20.jpg

ภาพ:Songkarn_11.jpg

ภาพ:Songkarn_6.jpg

ภาพ:Songkarn_5.jpg

ภาพ:Songkarn_7.jpg


ภาพ:Songkarn_8.jpg

ภาพ:Songkarn_10.jpg

วันสงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ



สงกรานต์ตามคตินิยมโบราณ นิยมสรงน้ำพระและผู้อาวุโสอันเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู เพื่อความเป็นสิริมงคล