วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดูชิงร้อยชิงล้าน 9 ธันวาคม 2555 ย้อนหลัง 9/12/55

สวัสดี สำหรับแฟนชิงร้อย พลาดไม่ได้กับความฮาเช่นเคย


สำหรับอาทิตย์นี้ ชิงร้อยชิงล้าน 9 ธันวาคม 2555 เวลา บ่ายสามโมง
เรามีภาพตัวอย่างเรียกความฮากันก่อน รอดูสดๆหรือใครพลาดชมก็สามารถชมผ่านคลิปย้อนหลังได้





















ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ดูชิงร้อยชิงล้าน ย้อนหลัง 9 ธันวาคม 2555 ติดตาม “ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day” วันอาทิตย์ที่ 9 ธ.ค.นี้ บ่ายโมงตรง มาเร็วกว่าเดิม ทางช่อง 3 ติดตามชม



รายการ : ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ออกอากาศ : 9 ธันวาคม 2555 รายละเอียด ชิงร้อยชิงล้าน ย้อนหลัง - ละครสามช่า เรื่อง “ร้ายหลอกหลอก อยากบอกว่ารัก” - แข่งเกม “สงครามแป้ง” - ท้าคนชนคลิป “พริ้วไหวกลางอากาศ” - ว้าว ว้าว ว้าว “ไข่พยากรณ์”

คลิปชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อย, ชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day, ชิงร้อยชิงล้าน ช่อง 3, ชิงร้อยชิงล้าน ซันชายเดย์, ชิงล้านย้อนหลัง 9 ธ.ค. 2555, ชิงล้านย้อนหลัง 9 ธันวาคม 2555, ดูคลิปชิงร้อยชิงล้าน, ดูชิงร้อยชิงล้าน, ดูชิงร้อยชิงล้านย้อนหลัง


เว็บเพื่อนบ้านเกี่ยวกับ
ชิงร้อยชิงล้าน 9 ธันวาคม 2555 ดูชิงร้อย 9/12/2555

การ์ดปีใหม่ 2556 การ์ดอวยพรปีใหม่สวยๆ 2556 หรือ 2013 พร้อมภาษา อังกฤษ

ภาพ การ์ด ปี ใหม่ 2556 New Year cards 2013
การ์ดปีใหม่ 2556 การ์ดอวยพรปีใหม่สวยๆ 2556 หรือ 2013 พร้อมภาษา อังกฤษ
เรามีทั้งแบบรูปภาพการ์ดปีใหม่ 2556และรูปแบบ flash การ์ดปีใหม่ 2556เพื่อให้ท่านได้
ส่งให้กับคนอื่นๆครับ
สำหรับ flash การ์ดปีใหม่ 2556นั้นให้ส่ง url ของหน้านี้ไปให้เพื่อนของคุณได้เลยครับผม
สวัสดีปีใหม่กันก่อนเลยครับ อิอิ


การ์ดปีใหม่ 2556 happy new year 2013


การ์ดปีใหม่ 2556


การ์ดปีใหม่ 2556/2013














การ์ดปีใหม่ 2556






การ์ดปีใหม่ 2556


การ์ดปีใหม่ 2556








 รูปแบบแรกนะครับ การ์ด ปี ใหม่ 2556 แบบเพลงเพราะๆกัน

แบบที่สองเป็นแบบเพลงสากลทั่วไปที่เป็บดนตรีบรรเลงครับ เพราะไม่แพ้กัน

แต่สำหรับผมแล้วชอบอันนี้ครับ การ์ดปีใหม่ 2556


และ


ช่วยส่งการ์ดปีใหม่ 2556หรือแชร์หน้านี้แก่เพื่อนของคุณเพื่อให้เขาได้ทราบกันว่า ปีใหม่ได้มาถึงแล้ว!!!

+++ทีมงานประเพณีไทย+++

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปีใหม่นี้ 2556/2013 จะมาถึงเตรียมบอกลา 2555/2012 กันได้เลย

สวัสดีครับ สวัสดีปีใหม่ 2556 ปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้หลายท่านคงรออยู่แน่ๆ เพราะมันจะเป็นการฉลองของใครหลายๆคน
ทุกคนเลยดีกว่า อิอิ หลายพื้นที่ทั่วไปคงมีชีวิตชีวาอัีกครั้งหลังผ่านสิ่งต่างๆมากมายตลอดปี 2555 หรือ 2012
แน่นอนแก่ขึ้นกันอีกหนึ่งปี แต่ขอให้มีความสุขยิ่งขึ้นไปตามจำนวนปีกันเลยนะครับ
เพราะไม่อยากเห็นใครทุกข์หรือไม่มีความสุขในแต่ละปีเลย

สวัสดีปีใหม่ 2556

อยากจะหนุนใจทุกคนให้เริ่มต้นใหม่กับชีวิตในแต่ละปี และตั้งเป้าหมายว่าเราจะทำอะไรบ้าง
เพื่อตัวเเอง ครอบครัว คนรอบข้างๆ อื่นๆ
และบอกลากับอดีตที่แสนจะเจ็บปวดสักเท่าใด เพราะอดีตมันก็คืออดีต มันได้ผ่านไปแล้ว
มีคนเคยบอกว่า อย่าเก็บอดีตมาทำร้ายเรา แต่จงให้อดีตนั้นเป็นบทเรียนเราต่อไปในอนาคต เพื่อเราที่จะไม่ทำผิดอีก และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด

หลายท่านอาจเคยฟังและได้ยินเรื่องพวกนี้มาเยอะในแต่ละปีๆ ที่ผ่านมา
ขอผมอยากจะท้าทายอีกอยากหนึ่งคือ
ทำในสิ่งที่ฝัน ในสิ่งที่รักชอบ หรือทำแล้วมีความสุข ให้ทำมันแบบสุดๆไปเลย
ชีวิตนี้เกิดมา ก่อนจะตายไป ให้เราได้ทำสุดๆ เพื่อความสุขสุดๆของเรานะครับ

ปีหน้า 2556 หรือ 2013 มาถึง สิ่งที่อยากจะเห็นมากที่สุดคือ
คนไทยทุกคนรักและสามัคคีกัน มีความปรองดอง น้ำใจต่อกัน ไม่เห็นแก่ตัว ช่วยเหลือแบ่งปัน
แต่สิ่งที่อยากเห็นนี้คงไม่ได้เห็นหาก เรายังไม่หาทางออกเดิมๆที่ติดอยู่
อย่างน้อยๆ ก็เห็นแก่ชาวไทยทุกคน พ่อแม่พี่น้องของท่านเอง รักกันมากๆครับ

สุดท้ายแล้ว อยากจะกล่าวคำว่า
สวัสดีปีใหม่ 2556 And Happy new year 2013



สวัสดี มีความสุขทุกคน
ทีมงาน ประเพณีไทย

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

งูกินหางเป็นการละเล่นพื้นเมืองเก่า เล่นกันทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบว่ามีการเล่นงูกินหางกันแล้วในงานตรุษสงกรานต์ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2475 คำว่า “งู” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “a snake” คำว่า “กิน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to eat” และคำว่า “หาง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “a tail” การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือ เลียนแบบลักษณะท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปี และงานรื่นเริงต่างๆ ในสมัยก่อน



วิธีการเล่น "งูกินหาง" มาลงไว้แทน  ถ้าหากผิดพลาดขออภัยด้วย
หรือช่วยทักท้วงด้วยนะครับ

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..









                                           
      พ่องู "แม่งูเอ๋ย  กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อโศกโยกไปโยกมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อหิน บินไปบินมา"
พ่องู "กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว"

การละเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์การเล่น

        หางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน 2 หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ 15 x 15 เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี 6 เมตร


วิธีการเล่น  แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายที่หนึ่งเป็นพ่องูหนึ่งคน  ฝายที่สองเป็นแม่งูหนึ่งคน และเป็นลูกงูไม่จำกัดจำนวนคนโดยลูกงูจะเกาะเอวแม่งูไว้และคนอื่นๆ
ก็เกาะเอวต่อๆ กันไปจนครบตัวผู้เล่น
เมื่อเริ่มเล่น  พ่องูจะถามว่า  "แม่งูเอ๋ย"  แม่งูจะตอบว่า "เอ๋ย"  พ่องูถามต่อว่า "กินน้ำบ่อไหน"  ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อโศก" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "โยกไปก็โยกมา"
พร้อมกับโยกตัวตามไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้าบ่อหิน" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "บินไปก็บินมา" พร้อมกับกางแขนออกทำท่าบินไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อ
ทราย" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "ย้ายไปก็ย้ายมา" พร้อมกับส่ายไปในลักษณะงูเลื้อย  เมื่อถึงตอนท้ายพ่องูจะถามว่า "กินหัวหรือกินหาง"  แม่งูจะตอบว่า "กินกลางตลอดตัว"
พ่องูก็จะไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายสุด  แม่งูก็พยายามกางแขนป้องกันลูกงูเอาไว้  ลูกงูก็จะพยายามวิ่งหนีพ่องู  เมื่อจับลูกงูได้แล้วลูกงูตัวนั้นก็ออกไปนั่งพัก  การเล่นก็จะ
ดำเนินต่อไป จนกว่าพ่องูจะจับลูกงูได้ครบหมดทุกตัว


ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..




วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การละเล่นเด็กไทย ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มาทำไม....

ตะล๊อกต๊อกแต๊ก
ตะล๊อกต๊อกแต๊ก

เด็กๆ ชั้นประถมต้นสมัยก่อน พอกินข้าวกลางวันเสร็จ ก็มักรวมกลุ่มกันเล่น รอเวลาเข้าเรียนตอนบ่าย มีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ตะล๊อกต๊อกแต๊ก” คนเล่นจะมีมากเท่าใดก็ได้
แต่ต้องไปยืนรวมกลุ่มกันบนพื้นดินที่ขีดเป็นรูปคล้ายขวด มีตัว “ผี” ทำทีมายืนรอตรงปากขวด แล้วเริ่มเคาะประตู (ทำเสียงเคาะ) “ตะล๊อกต๊อกแต๊ก” (คนในขวดถาม) “มาทำไม” (ผีตอบ) “มาซื้อดอกไม้” (คนในขวดถาม) “ดอกอะไร” (ผีตอบ) “ดอก ฯลฯ” ตอนนี้ก็จะโต้ตอบกันไปเรื่อยๆ โดยฝ่ายคนจะตอบว่าไม่มีดอกที่ถาม แต่ถ้าเกิดมีขึ้นมา (ตรงนี้ไม่แน่ชัดว่ากำหนดกันอย่างไร) ฝ่ายคนก็จะต้องไปเปิดประตู เมื่อต่างฝ่ายพบกันแล้ว ฝ่ายคนจะเริ่มตั้งข้อสงสัยทำนองว่า “ทำไมเล็บยาว, ทำไมแต่งชุดขาว, ทำไมผมยาว, ทำไมมีเขี้ยว” เป็นต้น ซึ่งผีจะตอบได้ทั้งสิ้น แต่ครั้นคำถามสุดท้ายถามว่า “ทำไมตาโบ๋” ผีจะตอบไม่ได้ และจะแสดงตัวทันทีโดยพูดด้วยน้ำเสียงเย็นๆ ว่า “เพราะฉัน..เ..ป็…น……ผี !”
ตอนนี้ฝ่ายคนจะแตกฮือออกจากพื้นที่รูปขวด โดยมีผีวิ่งไล่กวดไปติดๆ แต่ละคนต้องพยายามกลับเข้าทางรูปากขวดให้ได้ เมื่อกลับเข้าได้ครบก็เป็นอันจบรอบการเล่น แต่หากผีคว้าจับใครได้ คนนั้นก็จะต้องมาเล่นเป็นผีแทนในรอบหน้า โดยมาก ผีจะหมายตาไว้อยู่แล้วว่าจะจับคนที่วิ่งช้ากว่าเพื่อน ซึ่งคนคนนั้นก็ยังพอมีทางรอดได้ (แต่เอาเปรียบเพื่อนๆ หน่อย) คือเมื่อจวนตัว ก็ให้วิ่งชนเข้าไปที่ขวด (คือไม่เข้าทางรูปากขวด) ให้ขวดแตก เพื่อนๆ ที่เข้าไปรออยู่ในนั้นก็ต้องออกมาวิ่งหนีผีกันใหม่ และต้องพยายามเข้าไปทางรูปากขวดอีกครั้ง เรียกว่าใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจให้ผีไปเลือกจับคนอื่นๆ บ้างนั่นเอง

ตะล๊อกต๊อกแต๊กนี้ เล่นได้ทั้งเด็กชายเด็กหญิง และยังพบว่ามีเล่นกันตามโรงเรียนประถมในต่างจังหวัดอยู่
 (ชวิน ถวัลย์ภิยโย, ลูกหลานชาวพัทลุง, เมษายน ๒๕๔๘)

ตะลอกต๊อกแต๊ก  มาทำไม
                             มาซื้อดอกไม้
                             ดอกอะไร
                             ดอกจำปี    ไม่มี
                             ดอกจำปา  ไม่มา
ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มาทำไม.


การละเล่นเด็กไทย เล่นว่าว การแข่งว่าว เมื่อยามหนาวมาถึง


การเล่นอีกอย่างหนึ่งที่เด็กผู้ชายยุคไอ้จุกไอ้แกละนิยมกัน  โดยเฉพาะคนอยู่ต่างจังหวัด หรือถ้าอยู่ในเมืองหลวงแต่มีที่ว่างๆแถวบ้านให้เล่น ก็เล่นกันสนุกสนานตอนเย็นๆ
คือเล่นว่าว
เมื่อดิฉันยังเด็ก  ทางรถไฟช่องนนทรีหลังบ้านเป็นที่กว้าง ลมแรง  มีเด็กแถวบ้านเอาว่าวมาเล่นกัน    ถึงฤดูลมว่าว  มองจากหน้าต่างชั้นบน เห็นว่าวหลายตัวลอยลมอยู่บนฟ้า สีสันสดสวย  มีหางยาวไหวริกๆตามลม  
เดี๋ยวนี้อยู่ทาวเฮาส์ กับคอนโด กันมาก  ที่ว่างก็หายาก   เด็กผู้ชายยุคนี้คงไม่รู้จัก "ส่งว่าว" หรือ "ผ่อนสายป่าน" เมื่อว่าวถึงลมบน   กันแล้ว

ใครเคยทำ "ป่านคม" บ้าง?

การละเล่นเด็กไทย เล่นว่าว เมื่อยามหนาวมาถึง

วิธีการทำป่านให้คมตามกรรมวิธีของผม  เริ่มแรกต้องซื้อด้าย( ซึ่งต้องเป็นด้ายตราสมอด้วย) สองหลอดหรืออาจจะถึงสามหลอด (สำรองเผื่อแพ้ถูกเขาตัดขาด)
กาวหนังควายชิ้นใหญ่ๆ หนึ่งชิ้น  หลอดฟลูออเรสเซนต์หนึ่งหลอด  กระป๋องไมโลหนึ่งกระป๋อง  น้ำพอประมาณ ผ้าสะอาดหนึ่งชิ้น

ทุบหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ  ใส่ครกตำให้ป่นมากที่สุดจนเหมือนแป้ง
เอาน้ำใส่กระป๋องต้มบนเตาไฟให้เดือด ใส่กาวหนังควายลงไป  เคี่ยวจนกาวละลายเหนียว  ใส่ผงฟลูออเรสเซนต์ลงไป  กวนให้เข้ากันดี อย่าให้เหนียวมาก  และอย่าให้ใสเกินไป
อันนี้แล้วแต่เทคนิกของแต่ละคน
เอาไม่รวกสองอันมาปักเป็นหลักห่างกันพอประมาณ  จากนั้นนำหลอดด้ายใส่ลงไปในกระป๋องกาว  นำปลายด้ายมาผูกไว้ที่หลักใดหลักหนึ่ง  รอจนกาวคลายความร้อนพอที่มือเรา
จะทนได้   นำผ้าสะอาดชุบที่กาวรูดไปที่ด้ายเดินวนไปตามหลักที่ปักไว้  ระวังอย่าให้เป็นตุ่มปม  จนด้ายหมดหลอด  รอจนด้ายแห้งซึ่งตอนนี้เรียกว่าป่านแล้ว  ม้วนเก็บใส่แกนซึ่ง
อาจจะเป็นปล้องไม่ไผ่ หรือกระป๋องนม  ขั้นตอนนี้ต้องระวังมากเพราะป่านจะคมจนบาดนิ้วเราได้โดยแทบไม่รู้สึกตัว เป็นอันเสร็จกรรมวิธี

ต่อไปก็นำเอาป่านไปผูกกับคอซุงของว่าว  แล้วก็ชักขึ้นไปบนท้องฟ้า  คราวนี้ก็แล้วแต่ฝีมือละครับ  ใครดีใครอยู่
แต่ป่านของผมจะใช้มือเปล่าๆ เล่นไม่ได้โดยเด็ดขาด  รับรองว่าถ้าสาวผิดพลาดนิดเดียวเนื้อเหวอะแน่  อย่างน้อยต้องมีปลาสเตอร์พันรอบนิ้วชี้ขวา-
ซ้ายตลอดเวลา  เพราะต้องคอยกระตุกว่าวเป็นระยะๆ เพื่อกะจังหวะการโฉบ  จะต้องพยายามรักษาว่าวให้อยู่สูงกว่าคู่ต่อสู้เสมอ  เมื่อจังหวะดีเราก็
โฉบเข้าหา  แล้วผ่อนว่าวอย่างรวดเร็วทับป่านของคุ่ต่อสู้  แล้วผ่อนกระตุกเป็นจังหวะ  ได้จังหวะว่าวกินลมก็ผ่อนยาวไปเลย  รับรองรายไหนรายนั้น
ไม่มีเหลือ  แต่ถ้าคู่ต่อสู้ทันกัน  ผ่อนตาม  คราวนี้ก็เหลือแต่ว่าสายป่านของใครยาวกว่า  คนที่สายป่านยาวกว่ามักจะเป็นผู้ชนะในตอนท้ายเสมอ  แต่
ถ้าเราเป็นฝ่ายทาบบน  เราก็ยังมีโอกาสหนีได้ครับ  แต่ถ้าถูกเขาทาบและสายป่านเราสั้นกว่าก็ เอวัง ครับ

อาวุธของว่าวจุฬา คือ จำปา ติดไว้ที่ปลายสายป่านว่าว เป็นตะขอไว้สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า และลูกดิ่ง

ส่วนอาวุธของว่าวปักเป้า คือ เหนียง โดยทำเชือกห้อยไว้เพื่อสำหรับคล้องว่าวจุฬา

ว่าวจุฬา

ว่าว
ให้ดูอาวุธของว่าวปักป่าว เรียกว่า จำปา

ของโบราณทำด้วยหนามหวาย นำมามัดเข้าด้วยกัน ๑ มัดประมาณ ๑๐ หนามหวาย มีความคมมาก สามารถเกี่ยวสายป่านว่าวปักเป้า

ของปัจจุบันนิยมนำจากไม้ไผ่เหลา นำมามัดเข้าด้วยกัน

จำปา

ส่วนว่าวปักเป้า เวลาแข่งขันจะใส่หางให้ เพื่อให้ถ่วงบังคับได้ง่าย อาวุธของว่าวปักเป้าคือ เหนียง ซึ่งก็คือสายป่านที่ห้อยย้อยลงมา เพื่อให้คล้องหัวว่าวจุฬาได้

คำว่า "เหนียง" เราเลยมาใช้กับคนสูงอายุ ที่ถุงใต้คอห้อยยาน เรียกว่า เหนียงยาน

เหนียงยาน

เล่นว่าว

ก่อนอื่นคือ   ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม  ว่าวธรรมดาที่ไม่ได้ทำมาเพื่อใช้แข่ง ใช้ชักเล่นเพื่อสนุกสนาน เราจะไม่ไปข้องแวะกับเขา เพราะเขาไม่ได้ใช้ป่าน  ถ้าป่าน
ของเราไปถูกด้ายของเขานิดเดียวก็ขาดผล็อยแล้ว  ต่างกับป่านที่ผมได้อธิบายให้อาจารย์ทราบไปแล้วนั่นจะเหนียวและคม
การตัดกันจะมีหลายลักษณะ  ไม่จำเป็นต้องขวางเฉียงเสมอไป  จังหวะการทาบล่างทาบบนก็สำคัญ  แต่ถ้าเรามั่นใจว่าป่านเรายังใหม่และคม-เหนียว อย่างแน่นอน  เราก็
ท้าชนได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องนั้น  อาจจะโฉบพันเลยเพื่อตัดสินกันในคราวเดียว  เขาเรียกมวยหมัดหนัก ไม่ให้คู่ต่อสู้หนีเพราะป่านพันกันอยู่  ในกรณีนี้ป่านเราต้องใหม่จริงๆ
ไม่ใช่ใช้ตัดกันมาหลายครั้งแล้ว
ส่วนกระทบกันแล้วจะขาดเลยหรือไม่มันอยู่ที่จังหวะ  โดนสายซุง คอซุง ขาดทันที  ทำป่านไม่ดีมีตุ่ม มีปม ป่านติดตุ่มหรือปมก็ขาดเกือบจะทันที
ส่วนการถูสายป่านอย่างที่อาจารย์กล่าว  มันอยู่ที่จังหวะฝีมือและความคงทนของสายป่าน  ถ้าจังหวะที่เขาสาวแต่เราผ่อนก็แทบจะรู้ผลกันในตอนนั้นเลย คือการเสียดสีกันอย่าง
รุนแรงเกิดขึ้นในขณะนั้น
ส่วนการผ่อนสายป่านยาวจะเกิดขึ้นในกรณี หนีกันไม่ออก อันเกิดจากสายป่านพันกัน และป่านเหนียวคมพอกัน  เราจะต้องค่อยๆ ผ่อน ค่อยๆ ดึงเป็นจังหวะ  ปลายนิ้วเราจะต้อง
แตะสัมผัสกับสายป่านเพื่อรับความรู้สึกสั่นสะเทือนที่ผ่านมาตามสายป่านว่าอยู่ในลักษณะใด  กรณีนี้เกิดขึ้นยาก  แสดงถึงฝีมือที่ทัดเทียมกันจริงๆ  อาจารย์อาจจะไม่เชื่อถ้าผม
บอกว่าบางครั้งสู้กันจนมองเห็นว่าวตัวเล็กกว่านกกระจอกแล้วยังไม่แพ้ชนะกันเลย  แยกไม่ออกว่าว่าวใครเป็นว่าวใคร
และการผ่อนสายป่านอย่างรวดเร็วจะมีหลายกรณี  หากว่าวเราอยู่สูงแล้วเราโฉบเข้าหาคู่ต้อสู้ปักดิ่งเข้าไปหา  โดยปกติคู่ต่อสู้จะโฉบหนีเพราะอยู่ในสภาพเสียเปรียบ  แต่ถ้าเกิด
ความผิดพลาดว่าวไม่เป็นใจ หนีไม่ทันถูกเราทาบได้ แล้วเราผ่อนสายป่านยาวโดยทันที ก็เหมือนเราเอาใบเลื่อยไปตัดเขานั่นแหละครับ

สาระดีๆจากท่าน willyquiz ท่าน siamese รวมไปถึงเว็บของอาจารย์ เทาชมพู ด้วยจ้า....


ประเพณีไทย การละเล่นรีรีข้าวสาร - รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก...


เล่น รีรีข้าวสาร
การเล่นรีรีข้าวสาร เป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนประเภทหนึ่ง นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น แต่มีกติกาและวิธีการเล่นดังนี้
เวลาเล่นจะแบ่งเป็นสองพวก พวกแรกสองคนยืนจับมือกันสองข้างแล้วชูเหนือหัวคล้ายประตู
อีกพวกกี่คนก็ได้เดินจับตัวกันเป็นแถวแล้วลอดใต้โค้ง เดินวนอ้อมไปด้านหลังสองคนแรก แล้วลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ
ระหว่างเดินทุกคนก็จะร้อง "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"
จบเพลงสองคนที่จับมือเป็นโค้งประตูก็จะกระตุกมือลงอย่างรวดเร็ว กักเอาคนที่อยู่ตรงหน้าไว้
คนที่ถูกกักตัวได้ถือว่าออก ไปตบมือร้องเพลงรีรีข้าวสารเชียร์เพื่อนๆ ลุ้นว่าใครจะออกเป็นคนต่อไป
เล่นไปจนหมดตัวเล่น
รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร


รีรีข้าวสาร


ประโยชน์จากการเล่น

        เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
1. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
2. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้



Clip รีรีข้าวสาร

การละเล่นโพงพาง - โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง


   โพงพางเอย                   ปลาเข้าลอด
                                   (อ้าย) ปลาตาบอด            เข้าลอดโพงพาง

    และมีอีกหนึ่ง version ที่ร้องว่า
                                 
                                  โพงพางเอย                  นกกระยางเข้าลอด
                                   เสือปลาตาบอด               เข้าลอดโพงพาง

     แต่สำหรับกลุ่มของผมที่เล่นตอนเป็นเด็กจะร้องทั้งสอง version เลย

     การละเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
     วิธีการเล่นคือ  เสี่ยงทายหาผู้แพ้เพื่อที่จะมาเล่นเป็นปลาหนึ่งคน  จากนั้นนำผ้าผืนหนึ่งมาผูกตาปลาให้มิดชิด  จับปลาหมุน 3-4 รอบ  แล้วเด็กคนอื่นๆ ก็จับมือกัน
เดินวนรอบตัวปลาพร้อมกับร้องเพลงโพงพางไปด้วย  เมื่อเพลงจบเด็กทุกคนก็จะนั่งลงพร้อมกันยกเว้นปลา  แล้วถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย" ถ้าปลาตอบว่า "ปลาเป็น"
เด็กก็จะลุกขึ้นนั่งสลับที่กัน  แต่ถ้าปลาตอบว่า "ปลาตาย" เด็กทุกคนก็จะนั่งนิ่งๆ  ปลาก็จะเข้ามาคลำใบหน้าเด็กที่นั่งอยู่รอบๆ  เพื่อจะทายว่าเป็นใคร  ถ้าทายผิดปลาก็จะ
ต้องเป็นปลาต่อไป  ถ้าทายถูก คนที่ถูกจับได้ก็จะมาเป็นปลาแทน

การละเล่นโพงพาง - โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง


ตี่จับ ประเพณีไทย ที่เด็กไทยหลายคนชื่นชอบ


เล่น ตี่จับ
การเล่นแบ่งเป็น 2 ฝ่ายจำนวนเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวหรือ "เป้ายิงฉุบ" ว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน
ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยส่งพวกของตนเองหนึ่งคน เป็นคนเข้าไปตี่
คนตี่จะต้องกลั้นหายใจแล้วส่งเสียง "ตี่..." วิ่งเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม
ฝ่ายตรงข้ามต้องคอย จับยึด ดึงตัวคนตี่ไว้ ไม่ให้วิ่งกลับไปเข้าแดนตัวเองได้ จนกว่าคนร้องตี่กลั้นลมหายใจต่อไม่ไหว จะหมดเสียงตี่
คนนั้นต้องตกเป็นเชลย ของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าคนตี่สามารถหนีกลับเข้าแดนตนเองได้
โดยใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะที่เส้นเขตแดน (ส่วนใหญ่จะเป็นเท้า เพราะตัวจะถูกฉุดรัดอยู่)
คนที่กอดรัดดึงตัวคนตี่อยู่ จะกี่คนก็ได้ ต้องไปเป็นเชลยของฝ่ายตี่
ฝ่ายเชลยก็ต้องส่งคนมาช่วย โดยส่งคนมาตี่ เข้าไปช่วยเชลยกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้อง คอยกันไม่ให้แตะกันได้
ถ้าแตะกันได้เชลยก็จะได้กลับแดนของตน เล่นสลับกันไปเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นถูกจับเป็นเชลยหมด ถือว่าแพ้...

ตี่จับ ประเพณีไทย ที่เด็กไทยหลายคนชื่นชอบ

ตั้งเต การละเล่นของเด็กไทย ที่ควรบอกต่อ


เล่น ตั้งเต
ก่อนอื่นต้องมีเรียบๆ เช่นถนน ในบริเวณโรงเรียน พื้นกระดานหลังห้องเรียน ลฯ
อุปกรณ์คือ ชอล์ก จากกระดานดำหน้าห้องเรียนค่ะ
แล้วก็ขีดตารางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลายๆ ช่อง
บางช่างมีขีดคั่นตรงกลาง ด้านบนทำโค้งๆ เรียกว่า หัวกะโหลก
เวลาเล่น ผู้เล่นกระโดดขาเดียวเข้าไปยืนในช่องสี่เหลี่ยม
ถ้าช่องไหนมีเส้นขีดคั่นตรงกลาง แบ่งช่องสี่เหลี่ยมออกเป็นสองช่อง
ก็ยืนสองขาได้ โดยวางขาลงในช่องที่ถูกขีดคั่นทั้งสองช่อง
กระโดดไปเรื่อยๆ จนถึงหัวกระโหลก ให้กลับหลัง แล้วกระโดดกลับมาที่จุดเริ่มต้น
คนต่อไปก็กระโดดบ้าง...วนไปเรื่อยๆ เหนื่อยน่าดูเลยค่ะ...
ตั้งเต การละเล่นของเด็กไทย ที่ควรบอกต่อ