วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย


การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจแบ่งออกได้ 5 ช่วง ดังนี้ (ประไพ เอกอุ่น. 2542 : 75)

1. การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)

(1) การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921)

(2) การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

(3) การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 –

พ.ศ. 2411)

2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)

3. การศึกษาของไทยสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)

4. การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2534)

5. การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน)

การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาไทย ดังนี้

1.การศึกษาของไทยสมัยโบราณ ( พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)

การศึกษาสมัยนี้เป็นการศึกษาแบบสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่มีมากแต่เดิม จำเป็นที่คนไทยในสมัยนั้นต้องขวนขวายหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชนต่างๆ ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เช่น บ้านเป็นสถานที่อบรมกล่อมเกลาจิตใจของสมาชิกภายในบ้าน โดยมีพ่อและแม่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดอาชีพและอบรมลูกๆ วังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆ มาเป็นขุนนางรับใช้เบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะงานช่างศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างพระราชวังและประกอบพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ชายไทยมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและบวชเรียน ในสังคมไทยจึงนิยมให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่งงานทำให้มีคุณธรรมและจิตใจมั่นคงสามารถครองเรือนได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ผู้ที่มาบวชเรียนมาแสวงหาความรู้เรื่องธรรมะในวัดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ที่เคยได้อบรมจาก ครอบครัวมา จะเห็นได้ว่าสถาบันทั้งสามนี้ล้วนแต่มี บทบาทในการศึกษาอบรมสำหรับคนไทยในสมัยนั้น ในการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง นอกจากนี้ในชุมชนต่าง ๆ ก็มีภูมิปัญญามากมายซึ่งมีปราชญ์แต่ละสาขาวิชา เช่น ด้านการก่อสร้าง หัตถกรรม ศิลปกรรม ประติมากรรม และแพทย์แผนโบราณเป็นต้น ส่วนพระมหากษัตริย์ในสมัยนี้มีพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในสมัยนั้นและมีอิทธิพลต่อมา กล่าวคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระเจ้าลิไท) ซึ่งพระราชกรณียะกิจที่สำคัญ เช่น การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นครั้งแรก โดยทรงดัดแปลงมาจากตัวหนังสือขอมและมอญ อันเป็นรากฐานด้านอักษรศาสตร์จนนำมาสู่การพัฒนาปรับปรุงเป็นอักษรไทยในปัจจุบัน ศิลาจารึกหลักที่ 1 จึงเป็นศิลาจารึกที่จารึกเป็นอักษรไทยให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสุโขทัยในด้านประวัติศาสตร์ส่วนการบำรุงพุทธศาสนาในรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( พระเจ้าลิไท) ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์ทรงสละราชย์สมบัติออกบวชเป็นพระภิกษุชั่วระยะหนึ่ง นับเป็นแบบอย่างของการบวชเรียนในสมัยต่อมา การที่พระองค์ทรงจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์โดยกำหนดให้การปกครองสงฆ์ออกเป็นสองคณะ กล่าวคือ คณะอรัญวาสีและคณะคามวาสี และการที่พระองค์ทรงพระนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นการสอนศีลธรรมให้ราษฎรประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามละเว้นความชั่ว ผู้ประพฤติดีจะได้ขึ้นสวรรค์ผู้ประพฤติชั่วจะต้องตกนรก ซึ่งพระองค์ทรงบรรยายไว้อันน่าสะพรึงกลัวนับเป็น วรรณคดีร้อยแก้วที่มีความสำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัย โดยกล่าวถึงโลกมนุษย์ สวรรค์และนรกเป็นวรรณคดีที่ได้รับการกล่าวอ้างถึงในวรรณกรรมต่างๆ และเป็น วรรณคดีที่มีความสำคัญต่อคำสอนในพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบันนี้

1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1921) มีลักษณะการจัด ดังนี้

1. รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่าย

อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย กระบี่ กระบองและอาวุธต่างๆ ตลอดจนวิธีการบังคับม้า ช้าง ตำราพิชัยยุทธ์ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง และส่วนที่สอง พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ เวชกรรม ฯลฯ ส่วนพลเรือนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย กิริยามารยาท การทำอาหารการกินเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีต่อไป

ฝ่ายศาสนาจักร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย จึงเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ สมัยนี้พ่อขุนรามคำแหงได้นำช่างชาวจีนเข้ามาเผยแพร่การทำถ้วยชามสังคโลกให้แก่คนไทย และหลังจากที่ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยแล้วงานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น มีการสอนภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ หนังสือไตรภูมิพระร่วงและตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

2. สถานศึกษา สำหรับสถานศึกษาในสมัยนี้ ประกอบด้วย

(1) บ้าน เป็นสถาบันสังคมพื้นฐานที่ช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพตามบรรพบุรุษ การก่อสร้างบ้านเรือนศิลปการป้องกันตัวสำหรับลูกผู้ชายและการบ้านการเรือน เช่น การจีบพลู การทำอาหารและการทอผ้าสำหรับลูกผู้หญิง เป็นต้น

(2) สำนักสงฆ์ เป็นสถานศึกษาที่สำคัญของราษฎรทั่วไป เพื่อหน้าที่ขัดเกลาจิตใจ และแสวงหาธรรมะต่างๆ

(3) สำนักราชบัณฑิต เป็นบ้านของบุคคลที่ประชาชนยกย่องว่ามีความรู้สูง บางคนก็เป็นขุนนางมียศถาบรรดาศักดิ์ บางคนก็เคยบวชเรียนแล้วจึงมีความรู้ แตกฉานในแขนงต่างๆ

(4) พระราชสำนัก เป็นสถานศึกษาของพระราชวงศ์และบุตรหลานของขุนนางในราชสำนักมีพราหมณ์หรือราชบัณฑิตเป็นครูสอน

3. วิชาที่สอน ไม่ได้กำหนดตายตัว พอแบ่งออกได้ดังนี้

(1) วิชาความรู้สามัญ สันนิษฐานว่าในช่วงต้นสุโขทัยใช้ภาษาบาลี

และสันสกฤตในการศึกษา ต่อมาในสมัยหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 จึงมีการเรียนภาษาไทยกัน

(2) วิชาชีพ เรียนกันตามแบบอย่างบรรพบุรุษ ตระกูลใดมีความชำนาญด้านใดลูกหลานจะมีความถนัดและประกอบอาชีพตามแบบอย่างกันมา เช่น ตระกูลใดเป็นแพทย์ก็จะสอนบุตรหลานให้เป็นแพทย์

(3) วิชาจริยศึกษา สอนให้เคารพนับถือบรรพบุรุษ การรู้จักกตัญญูรู้คุณการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม และการรู้จักทำบุญให้ทาน ถือศีลในระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น

(4) วิชาศิลปะป้องกันตัว เป็นการสอนให้รู้จักการใช้อาวุธ การบังคับสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกศึกและตำราพิชัยยุทธ

1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี ซึ่งมีความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเกิดจากมีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากินในดินแดนไทย เช่น จีน มอญ ญวน เขมร อินเดียและอาหรับ และตั้งแต่รัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ชาติตะวันตกได้เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาเป็นชาติแรก และมีชนชาติอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น มีผลให้การศึกษาไทยมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ลักษณะการจัดการศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้

1. รูปแบบการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1) การศึกษาวิชาสามัญ เน้นการอ่าน เขียน เรียนเลข อันเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการประกอบสัมมาอาชีพของคนไทย พระโหราธิบดีได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย ชื่อ จินดามณี ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งใช้เป็นแบบเรียนสืบมาเป็นเวลานาน

(2) การศึกษาทางด้านศาสนา วัดยังมีบทบาทมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ทรงส่งเสริมพุทธศาสนาโดยทรงวางกฎเกณฑ์ไว้ว่าประชาชนคนใดไม่เคยบวชเรียนเขียนอ่านมาก่อน จะไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการและในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นต้นมา มีนักสอนศาสนาหรือมิชชันนารีได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและวิชาอื่น ๆ ขึ้นเรียกโรงเรียนมิชชันนารีนี้ว่า โรงเรียนสามเณร เพื่อชักจูงให้ชาวไทยหันไปนับถือศาสนาคริสต์

(3) การศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์และวรรณคดี ปรากฏว่ามีการสอนทั้งภาษาไทยบาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และภาษาจีน ในรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชมีวรรณคดีหลายเล่ม เช่น เสือโคคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำฉันท์ และกำสรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น

(4) การศึกษาของผู้หญิง มีการเรียนวิชาชีพ การเรือนการครัว ทอผ้า ตลอดจนกิริยามารยาท เพื่อป้องกันไม่ให้เขียนเพลงยาวโต้ตอบกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงที่อยู่ใน ราชตระกูลเริ่มเรียนภาษาไทยตลอดทั้งการประพันธ์ด้วย ในสมัยนี้โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่นำวิธีการทำขนมหวานที่ใช้ไข่มาเป็นส่วนผสม เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง มาเผยแพร่จนขนมเหล่านี้เป็นเอกลักษณ์ขนมหวานของไทยในปัจจุบัน

(5) การศึกษาวิชาการด้านทหาร มีการจัดระเบียบการปกครองในแผ่นดิน

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกัน หัวหน้าฝ่ายทหารเรียกว่า สมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนเรียกว่า สมุหนายก ในรัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงจัดวางระเบียบทางด้านการทหาร มีการทำบัญชี คือ การเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร ผู้ชายอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปถึง 60 ปี เรียกว่าไพร่หลวง เชื่อว่าต้องมีการศึกษาวิชาการทหาร เป็นการศึกษาด้านพลศึกษาสำหรับผู้ชาย ฝึกระเบียบวินัยเพื่อฝึกอบรมให้เป็นกำลังสำคัญของชาติ

2. สถานศึกษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ยังคงเหมือนกับสมัยสุโขทัยที่ต่างออกไป คือ มีโรงเรียนมิชชันนารี เป็นโรงเรียนที่ชาวตะวันตกได้เข้ามาสร้างเพื่อเผยแพร่ศาสนาและขณะ เดียวกันก็สอนวิชาสามัญด้วย

3. เนื้อหาวิชาที่สอน มีสอนทั้งวิชาชีพและวิชาสามัญ กล่าวคือ

(1) วิชาสามัญ มีการเรียนวิชาการอ่าน เขียน เลข ใช้แบบเรียนภาษาไทยจินดามณี

(2) วิชาชีพเรียนรู้กันในวงศ์ตระกูล สำหรับเด็กผู้ชายได้เรียนวิชาวาดเขียน แกะสลัก และช่างฝีมือต่าง ๆ ที่พระสงฆ์เป็นผู้สอนให้ ส่วนเด็กผู้หญิงเรียนรู้การบ้านการเรือนจากพ่อแม่สมัยต่อมาหลังชาติตะวันตกเข้ามาแล้วมีการเรียนวิชาชีพชั้นสูงด้วย เช่น ดาราศาสตร์ การทำน้ำประปา การทำปืน การพาณิชย์ แพทยศาสตร์ ตำรายา การก่อสร้าง ตำราอาหาร เป็นต้น

(3) ด้านอักษรศาสตร์ มีการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ มีวรรณคดีหลายเล่มที่เกิดขึ้น เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ และกำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น อีกทั้งมีการสอนภาษาไทย บาลี สันสกฤต ฝรั่งเศส เขมร พม่า มอญ และจีน

(4) วิชาจริยศึกษา เน้นการศึกษาด้านพระพุทธศาสนามากขึ้น เช่นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงกวดขันในเรื่องการศึกษาหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาก มีการกำหนดให้ผู้ชายที่เข้ารับราชการทุกคนจะต้องเคยบวชเรียนมาแล้ว เกิดประเพณีการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้เสรีภาพไม่กีดกันศาสนา ทรงอุปถัมภ์พวกสอนศาสนา เพราะทรงเห็นว่าศาสนาทุกศาสนาต่างสอนให้คนเป็นคนดี

(5) วิชาพลศึกษายังคงเหมือนสมัยสุโขทัย

1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2411)

การศึกษาในสมัยนี้เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา บ้านและวัดยังคงมีบทบาทเหมือนเดิม การจัดการศึกษาในช่วงนี้ มีดังนี้

(1) สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นระยะเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า เน้นการทำนุบำรุงตำราทางศาสนา ศิลปะและวรรณคดี

(2) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี มีการแต่งรามเกียรติได้เค้าโครงเรื่องมาจากอินเดียเรื่อง รามายณะ ศิลปะ กฎหมาย เช่น กฎหมายตรา3ดวง และหลักธรรมทางศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปิฎก

(3) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เริ่มมีชาวยุโรปเช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อทางการค้ากับไทยใหม่ หลังจากเลิกราไปเมื่อประมาณปลายสมัยอยุธยา และชาติอื่น ๆ ตามเข้ามาอีกมากมาย เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา เป็นต้น เนื่องจากยุโรปมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้มือมาใช้เครื่องจักร พลังงานจากไอน้ำสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นจึงต้องหาแหล่งระบายสินค้า ในสมัยนี้ได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ มีการตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ให้การศึกษา

(4) สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาเป็นพิเศษ มีการจารึกวิชาความรู้สามัญและวิชาชีพลงในแผ่นศิลาประดับไว้ตามระเบียงวัดพระเชตุพนจนมีผู้กล่าวว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย มีการใช้หนังสือไทยชื่อ ประถม ก กา และประถมมาลา นับเป็นแบบเรียนเล่มที่ 2 และ 3 ต่อจากจินดามณีของพระโหราธิบดี ต่อมานายแพทย์ ดี บี บรัดเลย์ได้นำกิจการแพทย์สมัยใหม่ เช่น การผ่าตัดเข้ามารักษาคนไข้และการตั้งโรงพิมพ์หนังสือไทยเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2379 โดยรับจ้างพิมพ์เอกสารทางราชการเรื่องห้ามสูบฝิ่น จำนวน 9,000 ฉบับ เมื่อปีพ.ศ. 2382

(5) สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ชาวยุโรป และอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและสอนศาสนา มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น และพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงทรงจ้างนางแอนนา เอช เลียวโนเวนส์ มาสอนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อ พ.ศ. 2405 จนรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ลักษณะการจัดการศึกษาเป็นแบบเดิมทั้งวัดและบ้าน ในส่วนวิชาชีพและวิชาสามัญ มีอักษรศาสตร์ ธรรมชาติวิทยาหรือวิทยาศาสตร์การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1780 - พ.ศ. 2411 ) ยังเน้นการจัดการศึกษาที่วัดและบ้าน โดยมีหลักสูตรเกี่ยวกับการอ่านและเขียนภาษาไทยทั้งในด้านโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน โหราศาสตร์ และไสยศาสตร์จากอาศัยคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา มาจนกระทั่งในสมัยพระนารายณ์มหาราชเริ่มใช้หนังสือจินดามณีเล่มแรก ต่อมามีประถม ก กา และประถมมาลา ส่วนครูผู้สอนได้แก่ พระภิกษุ นักปราชญ์ราชบัณฑิต พ่อแม่ ช่างวิชาชีพต่างๆ สำหรับการวัดผลไม่มีแบบแผนแต่มักจะเน้นความจำและความสามารถในการประกอบอาชีพจึงจะได้รับการยกย่องและได้รับราชการ

2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475) มุ่งให้คนเข้ารับราชการและมีความรู้ทัดเทียมฝรั่งแต่ไม่ใช่ฝรั่ง (คณะอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา. 2532 : 7) แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

2.1 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงปรับปรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านการปกครอง การศาล การคมนาคมและสาธารณสุข เป็นต้น โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นพระองค์ได้ทรงตระหนัก เพื่อปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะช่วยให้ ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่าสรรเสริญมาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่งผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา ตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่าง… (ประไพ เอกอุ่น. 2542 : 83 - 84) การที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education) มีโครงการศึกษาชาติ มีโรงเรียนเกิดขึ้นในวังและในวัด มีการกำหนดวิชาทีเรียน มีการเรียนการสอบไล่ และมีทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้มีหลายปัจจัย เช่น

(1) แนวคิดและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตก ซึ่งคณะมิชชันมารีได้นำวิทยาการเข้ามาเผยแพร่ในด้านการแพทย์ การพิมพ์หนังสือและระบบโรงเรียนของพวกสอนศาสนา ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบเนื่องมาถึงในสมัยนี้ เป็นเหตุให้ไทยต้องรับและปรับปรุงแนวคิดในการจัดการศึกษาขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ

(2) ภัยจากการคุมคามของประเทศมหาอำนาจในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ลัทธิจักรพรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียซึ่งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ญวน เขมรและมลายูเป็นต้น ต่างตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศมหาอำนาจ ส่วนประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งในเรื่องความล้าหลัง ระบบการปกครองและการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจนพระองค์จึงทรงห่วงใยบ้านเมือง จึงดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบประณีประนอมและเร่งปรับปรุงประเทศ โดยเน้นการ ศึกษาของชาติ

(3) ความต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เข้ามารับราชการเนื่องจากพระองค์ทรงปรับปรุงและขยายงานในส่วนราชการต่างๆ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนคนให้เข้ามารับราชการ

(4) โครงสร้างของสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการเลิกทาสและมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น วัฒนธรรมแบบอย่างตะวันตกได้แพร่หลายจึงจำเป็นต้องการปรับปรุงการศึกษา เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น

(5) การที่พระองค์ได้เสด็จต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป ทำให้ได้แนวความคิดเพื่อนำมาปฏิรูปการศึกษาและใช้เป็นแนวทางพัฒนาบ้านเมือง

1. การจัดตั้งสถานศึกษาปี พ.ศ. 2414 จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) ในขณะนั้นเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีการสอนหนังสือไทย การคิดเลข และขนบธรรมเนียมราชการ นอกจากมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองที่ส่งผลให้ไทยต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้เจรจากับมหาอำนาจตะวันตก และมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษปี พ.ศ. 2423 จัดตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยในพระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนสตรี

ปี พ.ศ. 2424 ปรับปรุงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบให้เป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้กลายเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในปี พ.ศ. 2453 และปี พ.ศ. 2459 ได้ตั้งเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปี พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนแผนที่และในปี พ.ศ.2427 จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง และแห่งแรก คือ โรงเรียนมหรรณพาราม ปี พ.ศ. 2432 ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำหน้าโรงพยาบาลศิริราช ใช้เป็นที่สอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2435 จัดตั้งโรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โดยประสงค์จะขยายการศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยให้แพร่หลายเป็นแบบแผนยิ่งขึ้น และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นแห่งแรกที่ตำบลโรงเลี้ยงเด็ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส ปี พ.ศ. 2437 นักเรียนฝึกหัดครูชุดแรก 3 คนสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ปี พ.ศ. 2449 ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครู ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดเทพศิริทราวาส ไป รวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก (บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ปรับปรุงหลักสูตรให้สูงขึ้นเป็น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สอนหลักสูตร 2 ปี รับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษา ปี พ.ศ. 2456 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย

2. การบริหารการศึกษาเมื่อจำนวนโรงเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น ปี พ.ศ. 2430 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งกรมศึกษาธิการโดนโอนโรงเรียนที่สังกัดกรมทหารมหาดเล็กมาทั้งหมด ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเป็นผู้บัญชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2432 รวมกรมศึกษาธิการเข้าไปอยู่ในบังคับบัญชาของกรมธรรมการ และ ปีพ.ศ. 2435 ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการ มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดี มีหน้าที่ในการจัดการศึกษา การพยาบาล พิพิธภัณฑ์และศาสนา

3. การจัดแบบเรียนหลักสูตรและการสอบไล่ปี พ.ศ. 2414 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจาริยางกูร) เรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น 1 เล่ม ชุดมูลบรรพกิจ เพื่อใช้เป็นบทหลักสูตรวิชาชั้นต้นปี พ.ศ. 2427 กำหนดหลักสูตรชั้นประโยคหนึ่ง โดยอนุโลมตามแบบเรียนหลวงหกเล่ม นับเป็นปีแรกที่จัดให้มีการสอบไล่วิชาสามัญ และมีการกำหนดหลักสูตรชั้นประโยคสอง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาสามัญศึกษา หมายถึง ความรู้ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สำหรับเสมียนในราชการพลเรือนตามกระทรวงต่าง ๆปี พ.ศ. 2431 กรมศึกษาธิการ จัดทำแบบเรียนเร็วใช้แทนแบบเรียนหลวงชุดเดิม ผู้แต่งคือ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) 1 ชุด มี 3 เล่มปี พ.ศ. 2433 ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชา พ.ศ. 2433 มีผลทำให้หลักสูตรภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ประโยค หลักสูตรภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 6 ชั้น ปี พ.ศ. 2434 ได้แก้ไขการสอบไล่จากเดิมปีละครั้งเป็นปีละ 2 ครั้งเพื่อไม่ให้นักเรียนเสียเวลานานเกินไป

2.2 การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1) พระบรมราชโชบายในการปกครองประเทศ เพื่อให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยการส่งทหารไปร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้พระองค์ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชาชนชาวไทยโดยมีสาระสำคัญของอุดมการณ์ชาตินิยม คือ ความรักชาติ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และความยึดมั่นในพุทธศาสนา

(2) พระองค์ทรงศึกษาวิชาการจากต่างประเทศ และเมื่อเสด็จกลับมาแล้วพระองค์ได้ทรงนำเอาแบบอย่างและวิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา เช่น ทรงนำเอาแบบอย่างและวิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา เช่น ทรงนำเอาวิชาลูกเสือจากประเทศอังกฤษเข้ามาจัดตั้งกองเสือป่า พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์โดย ทรงแปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทยและทรงนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง

(3) ผลอันเนื่องจากการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคนส่วนมากที่ได้รับการศึกษา มีความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา จึงมีความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และปัญหาอันเกิดจากคนล้นงานและคนละทิ้งอาชีพและถิ่นฐานเดิม มุ่งที่จะหันเข้าสู่อาชีพราชการมากเกินไป

2. วิวัฒนาการในการจัดการศึกษา มีดังนี้

ปี พ.ศ. 2453 ประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกคนเข้ารับราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และต่อมาปี พ.ศ. 2459 ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนี้ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยปี พ.ศ. 2454 ตั้งกองลูกเสือหรือเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรกโครงการศึกษา พ.ศ. 2456 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2458 โดยมุ่งให้ประชาชนมีความรู้ทางด้านการทำมาหาเลี้ยงชีพตามอัตภาพของตน พยายามที่จะเปลี่ยนค่านิยมของประชาชนไม่ให้มุ่งที่จะเข้ารับราชการอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2459 จัดตั้งกองลูกเสือหญิงและอนุกาชาดโรงเรียนกุลสตรีวังหลังและได้จัดตั้งกองลูกเสือหญิงขึ้น เรียกว่า เนตรนารี ปี พ.ศ. 2461 มีการปรับปรุงและขยายฝึกหัดครูขึ้นโดยโอนกลับมาขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเดิมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ. 2461 ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ และ ปี พ.ศ. 2464 ปรับปรุงโครงการศึกษาชาติ โดยวางโครงการศึกษาขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมให้ทำมาหาเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากทำราชการ ปี พ.ศ. 2464 ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 8 ให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนถึงอายุ 14 ปีบริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 15 โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และมีการเรียกเก็บเงินศึกษาพลีจากประชาชนคนละ 1- 3 บาทเพื่อนำไปใช้จ่ายในการจัดดำเนินการประถมศึกษา

2.3 การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในสมัยนี้มีดังนี้

(1) ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นภายในประเทศ มีกลุ่มผู้ตื่นตัวทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

(2) ปัญหาสืบเนื่องจากอิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน ๆ

(3) ปัญหาสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในระหว่าง พ.ศ.2463 - พ.ศ. 2474 เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายลง มีการยุบหน่วยงานและปลดข้าราชการออก สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(4) ปัญหาสืบเนื่องจากการประกาศใช้กฎหมายการศึกษา คือพระราชบัญญัติประถมศึกษา ทำให้การศึกษาแพร่หลายออกไป แต่ขาดความพร้อมทางด้านงบประมาณการศึกษา

2. วิวัฒนาการการจัดการศึกษาในสมัยนี้ มีดังนี้

(1) ปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการอย่างเดิม

(2) ปี พ.ศ. 2473 ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีคนละ 1 - 3บาท จากผู้ชายทุกคนที่มีอายุระหว่าง 16 - 60 ปี โดยใช้เงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอุดหนุนการศึกษาแทน

(3) ปี พ.ศ. 2474 ปรับปรุงกระทรวงธรรมการเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ โดยยุบกรมสามัญศึกษาในตอนนั้น กระทรวงธรรมการจึงมีหน่วยงานเพียง 3 หน่วยคือ กองบัญชาการ กองตรวจการศึกษากรุงเทพ ฯ และกองสุขาภิบาลโรงเรียน

(4) ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการควบคุมแบบเรียน

3. การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 ปัจจุบัน)

1. ปัจจัย ของไทยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา

(1) นโยบายการจัดการศึกษาของคณะราษฎร์ ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้วางเป้าหมายสำคัญหรืออุดมการณ์ของคณะราษฎร์ มีปรากฏอยู่ในหลัก 6 ประการ ข้อที่ 6 จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร เพราะคณะราษฎร์มีความเห็นว่าการที่จะให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง เมื่อประชาชนมีการศึกษาดีย่อมจะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้นด้วย ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พ.ศ. 2475 กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาเพื่อจะให้พลเมืองได้มีการศึกษาโดยแพร่หลาย ก็จะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้เข้าลักษณะเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ หลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องขยายให้สูงขึ้นเท่าเทียมอารยประเทศ ในการนี้จะต้องเทียบหลักสูตรของนานาประเทศ หลักสูตรใดสูงถือตามหลักสูตรนั้น” รัฐบาลชุดต่อๆ มาก็ได้พยายามที่จะได้จัดการศึกษาให้ทั่วถึงในหมู่ประชาชนทั่วไป ถ้าวิเคราะห์ดูจากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพบว่า ได้ตั้งความหวังเรื่องการศึกษาไว้สูงเกินไปจะให้เท่าเทียมอารยประเทศ ซึ่งสภาวการณ์ในประเทศขณะนั้นยังไม่มีความพร้อม โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในขณะนั้น เป็นผลให้เกิดปัญหาในการจัดการศึกษานับแต่นั้นเป็นต้นมา

(2) การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2488 ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยอย่างรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้รับความเสียหาย อันสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตลอดจนแนวคิดใหม่ ๆมาใช้ในการพัฒนาประเทศ ทำให้แนวคิดทางการศึกษาของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก

2. วิวัฒนาการการจัดการศึกษา มีดังนี้

(1) มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว โดยจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ๆ ให้ตั้งสภาการศึกษา พ.ศ. 2475 ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ ต่อมามีการปรับปรุงการจัดการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เหลือ 4 ปี และประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479

(2) การมอบให้ท้องถิ่นจัดการศึกษา พ.ศ. 2476 และยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตราพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น และเทศบาลได้จัดการศึกษาอย่างแท้จริงใน พ.ศ. 2478

(3) การปรับปรุงหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและเหตุการณ์สำคัญทางการศึกษา ดังเช่น ปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงธรรมการและประกาศตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ปี พ.ศ. 2477 โอนคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสมทบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ปี พ.ศ. 2478 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาทั่วประเทศ ปี พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488 ปี พ.ศ. 2494 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ปีพ.ศ.2503 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่2 ปีพ.ศ.2520 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่3 และปัจจุบันกำลังใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 4 และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การปฏิวัติเมื่อเดือนตุลาคม 2501 ได้มีการจัดทำและนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาใช้ ซึ่งต่อมาได้ยุบเลิกและจัดตั้งสภาการศึกษาขึ้นมาแทน สภานี้ได้พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ขึ้นมา เป็นผลให้การศึกษาในระยะหลังได้เปลี่ยนไปอย่างมาก การศึกษาได้ขยายตัวขึ้นทุกระดับ เพราะประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา จึงจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพสามารถเพิ่มรายได้ของตน และช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้ให้สภาพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2514) ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2519 ) ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524) ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534) ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539) ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544) และฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2549) ซึ่งการจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มุ่งยึดแนวนโยบายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545- พ.ศ. 2549) ได้จัดแผนการศึกษาระยะ เวลา 15 ปีเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาการอย่างบูรณาการคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านและสอดรับกับวิสัยทัศน์ แนวนโยบาย มาตรการและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมไทย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 ข : คำนำ) ส่วนการจัดการศึกษาของประเทศไทยในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญมีการขยายสถานศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วน ภูมิภาค เช่น ปี พ.ศ. 2503 เริ่มก่อสร้างและจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรับนิสิตในปี พ.ศ. 2507 ปี พ.ศ. 2509 เริ่มก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในภาคใต้ เป็นต้น เนื่องจากมีผู้สนใจศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้นในปี พ.ศ. 2514 มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกและปี พ.ศ. 2521 ตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่สอง ความเคลื่อนไหวในทางการศึกษาได้นำไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาให้สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคลในชาติตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลทำให้โครงสร้างการบริหารงานและการจัดการศึกษาได้ปรับเปลี่ยน ทั้งการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเปิดสอน ในสาขาวิชาการและวิชาชีพมุ่งพัฒนาให้ผู้รอบรู้เป็นคนเก่ง คนดีและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข การปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการใหม่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ สภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กลุ่มครูเทคโน.2551 : Online)

*เมื่อกล่าวถึงการศึกษา คงไม่สามารถที่จะพูดถึงเฉพาะเรื่องของการศึกษาเท่านั้น เพราะประชากร สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับการศึกษาอย่างแยกไม่ออก ดังเช่นเมื่อพิจารณาระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยบางยุคบางสมัย การศึกษาเป็นผลมาจากทางด้านการเมืองการปกครองบางสมัย การจัดการศึกษาก็เพื่อส่งผลไปสูด้านเศรษฐกิจหรือสังคม เพื่อทำความเขาใจในเรื่องการศึกษาไทยมากยิ่งขึ้น ควรได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้นจากอดีตจวบจนปัจจุบัน

ไทยเรามีประวัติการศึกษาควบคู่กับประวัติศาสตร์ เช่น ชาติอื่น ๆ คือ ตั้งแต่สมัยล้านนา นโยบายการจัดการศึกษาต้องการให้คนไทยรู้จักตัวหนังสือให้สามารถอ่านเขียนหนังสือได้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาพระไตรปิฏก นอกจากนี้ยังมีความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การต่อสู่ป้องกันตัว การเรียนการสอนใช้วัดเป็นส่วนใหญ่ (วณิช บรรจง. 2517 : 2) ตัวอักษรที่ใช้ในสมัยนั้นเป็นตัวอักษรไทยพวน หนังสือขอมและหนังสือฝักขาม เข้าสู่ยุคไทยมีอักษรใช้คือสมัยสุโขทัย จุดมุ่งหมายของการศึกษาก็เพื่อที่จะศึกษาพระไตรปิฏก เพราะเชื่อกันว่าพระไตรปิฏกคือประมวลวิชาการที่ไม่ได้มีความรู้อย่างเดียว แต่ยังสร้างวิทยาคุณแก่ผู้เรียนและผู้ปฏิบัติตามด้วย ผู้ศึกษาจบพระไตรปิฏก จะได้รับการยกย่องนับถือเหมือนผู้ศึกษาจบไตรเวทศาสนาพราหมณ์ และถือเป็นผู้บริสุทธิ์เป็นมงคลบุคคล (เจริญ ไวรวัจนกุล. 2522 : 15 ) เมื่อถึงสมัยอยุธยา ลักษณะการปกครองของไทย ได้เปลี่ยนแปลงไปจากพ่อปกครองลูกเข้าสู่ระบบศักดินา การศึกษาจึงถูกจัดให้เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานอำนาจ หรือรักษาอำนาจของตน ดังจะเห็นได้จากวรรณคดีที่แต่งในยุคนี้จะเทิดทูนฐานันดรศักดิ์ และความมีอำนาจเหนือมนุษย์ของตัวพระตัวนางในบทวรรณกรรม และใช้สาระทางบาปบุญ นรก สวรรค์ เป็นแนวทางการ สั่งสอนให้มนุษย์เกรงกลัวต่อบาป ไม่ละเมิดระบบศักดินาของชนชั้นดังเช่นเรื่อง สมุทโฆษคำฉันท์ นันโทปนันทสูตร เป็นต้น (เจริญ ไวรวัจนกุล 2522 : 18) ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ จึงได้รับวิทยาการใหม่ ๆ ของชาวตะวันตกเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการเปิดสำนักสอนวิชาเฉพาะขึ้นอย่างกว้างขวาง กำหนดคุณสมบัติของผู้จะเข้ารับราชการ นำการสอนแบบ 3RS มาใช้ในไทย โดยเฉพาะสมัยแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช นับเป็นยุคทองของไทยได้เปิดโรงเรียนสามเณร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่บาทหลวงฝรั่งเศสตั้งขึ้นเริ่มการสอนภาษาต่างประเทศจนเกิดการเกร่งกลัวต่อวัฒนธรรมตะวันตก นักปราชญ์ของไทยจึงได้แต่งแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกชื่อว่า จินดามณีขึ้นมา (สุภางค์ จันทวานิช 2529 : 3) เข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้น การศึกษามิได้แตกต่างไปจากยุคก่อนมากนักมีการจัดตั้งโรงทานในรัชกาลที่ 2 เพื่อเลี้ยงอาหารและสอนวิชาการ

จะเห็นได้ว่าการศึกษาของไทยเราเท่าที่ผ่านมา มองการศึกษาว่าเป็นเครื่องมือที่จะพาให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ความดับชั่วนิรันดรคือนิพาน เชื่อในผลบุญในชาติปางก่อนที่ส่งผลมาสู่ชาติภพนี้ และบุญกรรมชาตินี้จะส่งผลสู่ภพหน้า การที่เรายากไร้ลำบากในชาตินี้ก็เพราะบุญกรรมที่ทำแต่ชาติปางก่อน ไม่มีทางที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นในชาตินี้ควรที่จะประกอบผลบุญให้มากไว้ เพื่อชาติหน้าจะได้สบาย อิทธิพลความคิดความเชื่อทัศนคติเช่นนี้ยังติดตัวคนไทยมาจนถึงยุคปัจจุบัน

สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาอย่างมากมาย เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองเห็นได้จากนโยบายการจัดการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีว่า

1. จัดการศึกษาเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการ

2. จัดการศึกษาเพื่อผลิตคนให้มีความรู้ความสามารถแบบตะวันตก

3. เพื่อเปลี่ยนแปลงฐานของคนไทย (สมัย ชื่นสุข. 2520 : 91-92)

การที่พระองค์ทรงมีนโยบายจัดการศึกษา พัฒนาคนไทยให้มีความรู้แบบคนตะวันตก เพื่อเข้ารับราชการ ก็เพื่อไม่ให้ชาวตะวันตกดูแคลนคนไทยและประเทศไทย อีกทั้งสะดวกในการติดต่อกับชาวตะวันตก สามารถที่จะรู้ความคิดความอ่าน และรู้เท่าทันชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของไทยโดยส่วนรวม มิให้เหมือนกับนานาประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกสมัยนี้มีการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนอย่างจริงจังได้ตั้งกระทรวงธรรมการเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษามีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติในรูปแบบโครงการการศึกษาปี พ.ศ. 2441, 2445, และ 2456

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2503 ซึ่งแผนการศึกษาดังกล่าวระบุแนวทางการจัดการศึกษา ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษาแต่ละระดับโดยส่วนรวม กำหนดโครงสร้างของการศึกษา คือ กำหนดระดับการศึกษา กำหนดรายอายุผู้ที่จะเข้าเรียนในระดับต่างๆ กำหนดชั้นเรียนและกำหนดความเกี่ยวเนื่องระหว่างระดับการศึกษา (เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. 2529 : 49) โดยทั่วๆ ไปมีระดับการศึกษาภาคบังคับหรือระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือที่เรียกว่าระดับ 2 และระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาระดับที่ 3 หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีที่ใช้ในการเรียนการสอนของไทยยังนำเอาความรู้วิชาการ การจัดการเรียนการสอนตลอดถึงรูปแบบของการจัดการศึกษามาจากประเทศตะวันตกจวบจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการปรับปรุงหลักสูตรกี่ครั้งก็ตาม

สภาพการศึกษาไทย

สภาพการจัดการศึกษาไทย มีระบบการบริหารเป็นระบบราชการที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็นการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ

1. บริหารส่วนกลาง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่

1 สำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ

2 ทบวงมหาวิทยาลัย กำลับดูแลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั่งของรัฐและของเอกชน

3 กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกหัดครู นอกจากนั้นยังรับผิดชอบงานด้านพลศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีหน่วยงานระดับกรม 14 หน่วยงาน และมีเขตการศึกษา 12 เขต

4 กระทรวงมหาไทย มีองค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ได้แก่ เทศบาลเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

5. กระทรวงอื่น ๆ จัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยจัดการศึกษาใน 2 รูปแบบ ดังนี้

5.1. จัดการศึกษาเฉพาะกิจเพื่อเตรียมบุคคลเข้ารับราชการในหน่วยงานของตน เช่น กระทรวงกลาโหม มีโรงเรียนนายทหารทุกเหล่าทัพ วิทยาลัยพยาบาล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงเรียนดุริยางค์ โรงเรียนช่างฝีมือ โรงเรียนนายสิบ เป็นต้น กระทรวงสาธารณสุข มีวิทยาลัยพยาบาล โรงเรียนอนามัย กระทรวงคมนาคม มีโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ โรงเรียนไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น กระทรวงการคลัง มีโรงเรียนศุลการักษ์ และกระทรวงเกษตร มีโรงเรียนชลประทาน โรงเรียนป่าไม้ เป็นต้น

5.2 การจัดการศึกษาเพื่อสนองภารกิจของหน่วยงานของตน เช่น กรมพัฒนาชุมชน กรมอนามัย กรมการแพทย์ กรมแรงงาน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมการปกครอง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอิสระอื่น ๆ เช่น สภาการชาดไทย เป็นต้น

2. การบริหารส่วนภูมิภาค มีเขตจังหวัดเป็นเขตจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษาในเขตจังหวัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 หน่วยงานส่วนจังหวัด ได้แก่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ และหน่วยงานที่เจ้าสังกัดในส่วนกลางมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจัดหวัดดูแลรับผิดชอบ

2.2 หน่วยงานส่วนกลาง เป็นหน่วยงานส่วนงานที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดแต่ขึ้นตรงกับส่วนกลาง เช่น สำนักงานศึกษาธิการเขต มหาวิทยา วิทยาลัยนาฏศิลป์ วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาเขตต่าง ๆ ของสถาบันเทคโนโลยีราบมงคล

3. การบริหารส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่

3.1 สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบการศึกษา 2 หน่วย ดังนี้

3.1.1 เทศบาล จัดการศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตเทศบาล

3.1.2 เมืองพัทยา จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาในเขตเมืองพัทยา

3.2 สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร รับผิดชอบในการจัดการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (วิโรจน์ สารรัตนะ. 2539:72-73)



การศึกษาในระดับอุดมศึกษา

เมื่อพิจารณาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาระดับที่สาม ต่อจากระดับที่สอง คือ มัธยมศึกษา การจัดอุดมศึกษาของไทย มีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อนุปริญญาถึงระดังปริญญาตรี โท และเอก การศึกษาระดับนี้ปัจจุบันเป็นทั้งของรัฐและเอกชน

ปรัชญาการอุดมศึกษานั้นในอดีตจะมุ่งเฉพาะด้านปัญญาและการปลูกฝังคุณธรรมเป็นแหล่งชุมนุมของผู้อยากรู้อยากเห็นต้องการหาความจริงที่เป็นสากลและนิรันดร (วิจิตร ศรีสะอ้าน. 2518 :7) โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับสังคม การเมือง หรือผลิตกำลังคนเพื่อการประกอบอาชีพแต่อย่างใด ต่อมาสมัยกลางยุโรป ปรัชญาของการอุดมศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป คือมุ่งผลิตกำลังคนสนองความต้องการของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ อีกทั้งวัฒนธรรมแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เริ่มตั้งแต่ยุคกลางของยุโรป การอุดมศึกษาจะมุ่งผลิตกำลังคนเพื่อรับราชการ ดังเช่นมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดของอังกฤษ (สุลักษณ์ ศิวรักษ์. 2530 : 33) ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยของไทยที่ได้แบบอย่างมาจากตะวันตก เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่างก็สอนวิชาชีพชั้นสูง เพื่อที่ให้ผู้ที่จบออกไปรับราชการไม่ว่าจะเป็นยุคแรกที่มีความจำเป็นทางด้านการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว หรือยุคหลังโดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐต้องการกำลังคนอย่างมากเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ สถาบันอุดมศึกษาได้จัดตั้งเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างมากมาย เพื่อผลิตกำลังคนให้กับส่วนราชการ เอกชน ตามสาขาหลัง คือ แพทย์ เกษตร วิศวกร ทั้งนี้เพราะถือว่า สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งผลิตกำลังคนระดับสูงตามความต้องการของรัฐเพื่อพัฒนาประเทศ (วิจิตร ศรีสะอ้าน. 2518:31) ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยจึงมีหน้าที่ที่จะถ่ายทอดความรู้วิชาการที่ได้รับจากประเทศที่เจริญแล้วมาแจกจ่ายให้นิสิตนักศึกษาโดยมิได้มีการสอบทาน หรือประยุกต์ให้เป็นความรู้ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพียงทำหน้าที่คนกลางรับสิ่งที่โลกตะวันตกค้นพบและนำมาจ่ายเพื่อผู้เรียนจะได้นำความรู้วิชาการตลอดถึงเทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาประเทศให้เหมือนกับประเทศทางตะวันตกที่เจริญแล้วเท่านั้นเอง (วิทย์ วิศทเวทย์. 2530:11) เมื่อเป็นเช่นนี้ สถาบันอุดมศึกษาของไทยย่อมมิได้ทำหน้าที่ให้ครบถ้วนตามปรัชญา โดยเฉพาะด้านการวิจัยค้นคว้าเพื่อความก้าวหน้า และความเป็นเลิศทางวิชาการที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อความเจริญของมนุษยชาติ (วิจิตร ศรีสะอ้าน. 2518:11) เพราะมุ่งเพียงการถ่ายทอดความรู้จากประเทศที่เจริญแล้วให้นิสิตนักศึกษา เมื่อนักศึกษาจบออกไปสู่สังคมก็จะตกเป็นทาสทางวิชาการและเทคโนโลยีตะวันตก อีกทั้งไม่สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้กับชีวิตประจำวัน หรืออาชีพที่มีอยู่ในชนบท ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของไทยโดยเฉพาะการเกษตรนอกจากนี้ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชนบทอีกด้วย มองเห็นชนบทนั้นล้าหลัง ขาดความเจริญ ไม่มีความสะดวกสบายเท่าในตัวเมืองเห็นว่าอาชีพด้านการเกษตรเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย ไม่สามารถที่จะนำตนเจริญก้าวหน้าหรือช่วยยกระดับตัวเองได้ในอนาคต ตลอดถึงมองเห็นข้อแตกต่างความได้เปรียบเสียเปรียบของอาชีพและสังคมทำให้ผู้ที่จบอุดมศึกษาไม่ยอมประกอบอาชีพหรืออยู่ในสังคมที่มีความเสียเปรียบมาก ดังนั้นจึงมุ่งแต่จะรับราชการ เพราะเป็นหนทางเดียวที่สามารถยกระดับฐานะทางสังคมและความเป็นอยู่ของตนให้สูงขึ้น จึงไม่ยอมกลับไปสู่อาชีพเดิมของบิดามารดาไม่คิดที่จะแก้ไขปรับปรุงอาชีพเดิมให้ดีขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้เกษตรกรและสังคมในชนบทแต่เดิมเคยเสียเปรียบหรือมีความเป็นอยู่เช่นไรก็ยังเป็นอยู่เช่นนั้น จะเปลี่ยนแปลงบ้างก็ในด้านวัตถุ คือ มีสภาพที่เรียกว่า เจริญแต่ไม่พัฒนา สภาพเช่นนี้จะพบเห็นได้อย่างมากมายตามชนบทของไทย (สุพล วุฒิเสน. 2532 : 22)

ความเป็นมาและความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาประเทศ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างก็ประสบความเสียหายจากภัยของสงคราม ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับความเสียหายจากภัยสงครามน้อยที่สุด สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะประเทศในยุโรป นอกจากนี้อุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็มองเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่ามีสองค่ายใหญ่ ๆ คือค่ายที่ยึดมั่นในอุดมการณ์เศรษฐกิจการปกครองแบบทุนนิยม ค่ายนี้มีประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสเป็นผู้นำ และค่ายที่ยึดมั่นอุดมการณ์การปกครองเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีโซเวียต รัสเซีย และจีนในแผ่นดินใหญ่เป็นผู้นำ (ณัฐพล ขันธไชย. 2527 : 1) ซึ่งทั้งสองค่ายนี้ ต่างก็พยายามนำความเชื่อและอุดมการณ์ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจมาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศในระยะหลังสงคราม

ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ได้ใช้อุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาพัฒนาประเทศ โดยเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจนประสบผลสำเร็จ สามารถฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านี้มีฐานความเจริญมาก่อนทั้งทางด้านอุตสาหกรรมอีกทั้งประชาชนได้รับการศึกษามาแล้วเป็นอย่างดีและมีคุณภาพจากการที่ประเทศในทวีปยุโรปสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วโดยเน้นการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจทำให้เกิดความเชื่อว่า “ถ้าจะพัฒนาประเทศแล้ว ต้องพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ” (ก่อ สวัสดิพานิช. 2529 : 3) ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา เมื่อมีการกล่าวถึงการพัฒนาประเทศ ก็เป็นที่เข้าใจว่า หมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องเร่งรัดให้มีการเพิ่มผลผลิตรวมของประเทศ เพื่อเป็นผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศสูงขึ้นทั้งนี้เพราะเชื่อว่าถ้าประชาชนในประเทศมีรายได้สูงขึ้นแล้วภาวะความยากจนของประเทศก็จะหมดไป

แต่ความเข้าใจดังกล่าวนี้ยังไม่ถูกต้องนัก เพราะถึงแม้ผลผลิตรวมของประเทศสูงขึ้นและรายได้ของบุคคลภายในประเทศมีระดับสูง แต่การกระจายรายได้ยังไม่มีความเป็นธรรม คือ มีความเหลื่อมล้ำในทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชน ที่มีอาชีพด้านสาขาการเกษตร และประชาชนที่มีอาชีพนอกสาขาการเกษตรอยู่มากดังจะเห็นได้จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ระบุว่าประเทศไทยผลิตภัณฑ์ประชาชาติตั้งแต่ปี 2523 ถึงปี 2528 ของสาขาเกษตรกรรมได้เพียง 72,785.3 77,701.7 78,501.1 81,499.8 85,901.5 87,895.7 ตามลำดับ แต่อยู่นอกสาขาการเกษตรได้ถึง 220,111.2 233,569.8 245,532.2 261.495.1 278.305.2 และ 290,865.4 ตามลำดับ (หน่วยเป็นล้านบาท) เห็นได้อย่างชัดเจนว่าประชาชนในอาชีพการเกษตรยังมีรายได้น้อยกว่าสาขาวิชาชีพ อื่นอยู่มาก แม้จะสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 แล้ว การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ นอกจากความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจแล้วประชาชนที่อยู่ในชนบทและอยู่ในเมืองยังมีความแตกต่างกันทางสังคมอีกด้วย ดังนั้นถึงแม้ว่าผลผลิตรวมของประเทศจะเพิ่มขึ้น รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในประเทศสูงขึ้น แต่ประชาชนบางกลุ่มบางอาชีพยังไม่สามารถที่จะได้รับผลจากความเจริญเหล่านั้น

เมื่อครั้งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้สำรวจประชากรโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง พบว่า ประชากรที่ไม่รู้หนังสือมีอยู่ประมาณ 2,000 ล้านคน ซึ่งประชากรเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกาและเอเชีย การที่ประชากรไม่รู้หนังสือนี้ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะผู้ไม่รู้หนังสือเหล่านี้ไม่สามารถที่จะพัฒนาอาชีพและเพิ่มผลผลิตได้มากเนื่องจากความไม่รู้ ซึ่งจะส่งผลไปถึงความยากจน ขาดอาหารอีกทั้งมีโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย ถ้าประเทศใดมีประชากรดังกล่าวเช่นนี้มากนับว่าประเทศนั้นยังด้อยพัฒนาอยู่ เพราะไม่สามารถพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจได้เต็มที่ (บุญทัน ฉลวยศรี. 2526 : 52) ดังนั้นประเทศที่เป็นผู้นำทั้งสองค่ายต่างก็พยายามให้ความช่วยเหลือประเทศที่มีความล้าหลังและด้อยพัฒนาในกลุ่มของตน ตามความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ประเทศที่ด้อยพัฒนาเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในแถบแอฟริกาและเอเชียหรือประเทศที่เคยเป็นอานานิคมของจักวรรดินิยมตะวันตกมาก่อน ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนานี้ด้วย (ณัฐพล ขันธไชย. 2527 : 1)

ประเทศไทยมีประชากรประมาณร้อยละ 81.8 ที่อาศัยอยู่ในชนบท (สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2526 : 7) และประมาณร้อยละ 90 มีอาชีพทางการเกษตร (สุเทพ เชาวลิต. 2526 : 6) ประชากรเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่ยากจนขาดแคลนอาหาร เจ็บป่วย ด้อยการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างก็ทราบดี และทุกรัฐบาลต่างก็พยายามที่จะพัฒนาชนบทเพื่อแก้ปัญหาที่ประชาชนในชนบทประสบอยู่ตลอดเวลา

ที่มา ครูบ้านนอก

500 คำศัพท์ที่มีการใช้มากที่สุดในภาษาอังกฤษ

ในจำนวนคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมดที่มีนับแสนคำนั้น มีหลายหมื่นคำที่เป็นศัพท์เฉพาะทาง ศัพท์วิชาการ ศัพท์ที่ใช้ในวรรณกรรม หรือศัพท์อื่นๆ ที่พบไม่ได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ที่เหลือจึงไม่ได้มีจำนวนมากมายจนทำให้เราต้องท้อใจ โดยเฉพาะเมื่อได้มีการรวบรวมและจัดอันดับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด 1,000 อันดับแรก ก็ยิ่งเป็นการง่ายสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของตน เพราะเหมือนเราได้มีไกด์นำทางให้สามารถเลือกจดจำเฉพาะคำศัพท์ที่จำเป็นสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเสียก่อนที่จะไปจำคำศัพท์สะเปะสะปะแล้วแทบไม่ได้นำมาใช้จริงเลย

ตารางด้านล่างนี้เป็นการเรียงอันดับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุดตั้งแต่อันดับที่ 1 - 500 (อันดับที่ 501 - 1,000 อยู่หน้าถัดไป) พร้อมคำแปลของศัพท์แต่ละคำ ถ้าสามารถจดจำทั้ง 1,000 คำนี้ได้อย่างขึ้นใจแล้ว ก็เพียงพอที่จะสามารถเอาตัวรอดสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้เลยทีเดียว



1
the
ที่พูดถึงแล้ว, ที่รู้จักกันแล้ว
2
of
แห่ง, ของ, จาก
3
to
ไปสู่, ไปถึง, ให้แก่

4
and
และ
5
a
อันหนึ่ง, ตัวหนึ่ง, คนหนึ่ง
6
in
ใน, ข้างใน

7
is
เป็น, อยู่, คือ
8
it
มัน
9
you
คุณ, เธอ, ท่าน

10
that
นั่น, ที่, ซึ่ง, อัน
11
he
เขา (ผู้ชาย)
12
was
เป็น, อยู่, คือ

13
for
แทน, เป็น, สำหรับ, ให้
14
on
บน, ในขณะ, ในที่
15
are
เป็น, อยู่, คือ

16
with
กับ, ต่อ, ในส่วน, พร้อมกับ
17
as
ดังที่, ตามที่, ราวกับ, เหมือน
18
I
ฉัน

19
his
ของเขา (ผู้ชาย)
20
they
พวกเขา
21
be
เป็น, อยู่, คือ

22
at
ที่, ในการ, ถึง, โดย
23
one
หนึ่ง, เลขหนึ่ง
24
have
มี, เป็น, ได้รับ

25
this
นี่, เช่นนี้, อย่างนี้
26
from
ตั้งแต่, จาก, เนื่องจาก
27
or
หรือ

28
had
มี, เป็น, ได้รับ
29
by
โดย, ด้วย, ตาม
30
hot
ร้อน

31
word
คำ, คำศัพท์
32
but
แต่
33
what
อะไร

34
some
บางคน, บางสิ่ง, จำนวนหนึ่ง
35
we
เรา, พวกเรา
36
can
สามารถ

37
out
ข้างนอก, ออกไป, หมดสิ้น
38
other
อื่นๆ, อีกสิ่ง, อีกคน
39
were
เป็น, อยู่, คือ

40
all
ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ล้วน
41
there
ที่นั่น, ตรงนั้น
42
when
เมื่อ, เมื่อใด, ขณะที่

43
up
เพิ่ม, ขึ้น, ขาขึ้น, ลุก
44
use
ใช้, การใช้
45
your
ของคุณ

46
how
อย่างไร, แค่ไหน, วิธีใด
47
said
พูด, กล่าว, บอก
48
an
อันหนึ่ง, ตัวหนึ่ง, คนหนึ่ง

49
each
คนละ, อันละ, หนึ่งต่อหนึ่ง
50
she
เขา (ผู้หญิง)
51
which
อันที่, อันซึ่ง, ซึ่ง, ไหน

52
do
ทำ, ปฏิบัติ
53
their
ของพวกเขา
54
time
เวลา

55
if
ถ้า, หาก, แม้ว่า
56
will
จะ, ย่อมจะ, ตั้งใจ
57
way
ทาง, หนทาง, วิธีการ, แผน

58
about
รอบ, อ้อม, ราวๆ, เกี่ยวกับ
59
many
มาก, หลาย
60
then
เวลานั้น, ตอนนั้น, ครั้นแล้ว, ดังนั้น

61
them
พวกเขา
62
write
เขียน
63
would
จะ, คงจะ, น่าจะ

64
like
เหมือน, เช่นเดียวกัน, ชอบ, ต้องการ
65
so
เช่นนั้น, ดังนั้น, เท่าที่, จนกระทั่ง
66
these
เหล่านี้, พวกนี้

67
her
เขา, ของเขา (ผู้หญิง)
68
long
ยาว
69
make
ทำ, สร้าง, ประกอบขึ้น

70
thing
ของ, สิ่ง
71
see
เห็น, มอง, ดู, ตรวจดู
72
him
เขา (ผู้ชาย)

73
two
สอง, เลขสอง
74
has
มี, เป็น, ได้รับ
75
look
ดู, มอง, รูปร่าง, ท่าทาง

76
more
มากกว่า, นอกเหนือ, อีก
77
day
วัน
78
could
สามารถ

79
go
ไป, กลายเป็น, เดิน, ดำเนิน
80
come
มา, เข้ามา, กลายเป็น
81
did
ทำ, ปฏิบัติ

82
number
จำนวน, ตัวเลข
83
sound
เสียง
84
no
ไม่, เปล่า

85
most
มากที่สุด, ส่วนมาก, ที่สุด
86
people
คน, ชาว, ประชาชน
87
my
ของฉัน

88
over
บน, เหนือ, ทั่ว, เกิน
89
know
รู้, รู้จัก, ความรู้
90
water
น้ำ, ของเหลว

91
than
กว่า
92
call
เรียก, ร้องขอ, ร้องเรียก, เรียกว่า
93
first
อันดับหนึ่ง, สิ่งแรก

94
who
ใคร, คนไหน, ผู้ใด, ผู้ซึ่ง, ผู้ที่
95
may
อาจ, อาจจะ, สามารถจะ, คงจะ
96
down
ลง, ลงมา, ตก, หล่น

97
side
ด้าน, ข้าง, ฝ่าย
98
been
เป็น, อยู่, คือ
99
now
เดี๋ยวนี้, ขณะนี้
ีี

100
find
ค้น, หา, พิสูจน์
101
any
อื่นใด
102
new
ใหม่

103
work
ทำ, งาน, ใช้การได้
104
part
ส่วน, บท, แบ่งแยก
105
take
เอามา, หยิบ, จับ, ได้รับ

106
get
ไปเอามา, ได้รับ, มี
107
place
สถานที่, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, ฐานะ
108
made
ทำ, สร้าง, ประกอบขึ้น

109
live
มีชีวิตุ, อยู่ได้, ดำรงชีพ
110
where
ที่ไหน, สถานที่
111
after
หลัง, ทีหลัง, ภายหลัง

112
back
หลัง, ข้างหลัง, กลับ, คืน, ถอย
113
little
เล็ก, น้อย
114
only
เดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เท่านั้น

115
round
กลม, วง, รอบ, วกกลับ, หมุนรอบ
116
man
ผู้ชาย, คน
117
year
ปี

118
came
มา, เข้ามา, กลายเป็น
119
show
แสดง, ให้ดู, ปรากฏ, ชี้, บอก
120
every
ทุก, ทุกประการ, ทั้งหมด

121
good
ดี, งาม, เจริญ, มีค่า, เก่ง
122
me
ฉัน
123
give
ให้, แจก, มอบ, ปล่อย

124
our
ของเรา
125
under
ใต้, ข้างล่าง, ต่ำกว่า, ภายใน
126
name
ชื่อ, ชื่อเสียง

127
very
แท้จริง, จริงๆ, มาก
128
through
ตลอด, ทะลุ, ผ่าน, เสร็จ
129
just
พึ่ง, เดี๋ยวนี้, พอดี, เพียง

130
form
รูปร่าง, ระเบียบ, ลักษณะ, ชนิด
131
sentence
ประโยค, คำพิพากษา
132
great
ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มหาราช, เลิศ

133
think
คิด, พิจารณา, เห็นว่า
134
say
พูด, กล่าว, บอก
135
help
ช่วย, สงเคราะห์, สนับสนุน

136
low
ต่ำ, เตี้ย, หย่อน, พร่อง, เบา, ค่อย
137
line
เส้น, เส้นทาง, แถว, แนว, เชือก
138
differ
ผิดกัน, ต่างกัน

139
turn
หมุน, หัน, เลี้ยว, พลิก, คราว, รอบ
140
cause
เหตุ, สาเหตุ
141
much
มากกว่า, นอกเหนือ, อีก

142
mean
สายกลาง, เฉลี่ย, ระหว่าง, มุ่งหมาย, ตั้งใจ
143
before
ข้างหน้า, ก่อน, มาก่อน
144
move
เคลื่อน, ย้าย, เดิน, ดำเนินการ

145
right
ถูกต้อง, เป็นธรรม, ทางขวามือ, ขวา
146
boy
เด็กผู้ชาย
147
old
เก่า, แก่

148
too
เกินไป, เหลือเกิน, ด้วย, เหมือนกัน
149
same
คนเดียวกัน, สิ่งเดียวกัน, เหมือนกัน
150
tell
เล่า, บอก

151
does
ทำ, ปฏิบัติ
152
set
วาง, ตั้ง, ก่อ, เรียง, จัดการ
153
three
สาม, เลขสาม

154
want
ต้องการ, อยาก
155
air
อากาศ, กลางแจ้ง
156
well
ดี, สบาย, เรียบร้อย

157
also
ด้วย, อีกด้วย, เหมือนกัน
158
play
เล่น, แสดง, บรรเลง
159
small
เล็ก, น้อย

160
end
ท้าย, สุด, จบ, หมด, ทำลาย
161
put
วาง, ใส่, บรรจุ, ตั้ง, จัด, เสนอ, ยื่น
162
home
บ้าน, ที่อยู่อาศัย

163
read
อ่าน
164
hand
มือ
165
port
ประตูใหญ่, ประตูเมือง, ช่องทาง

166
large
ใหญ่, โต, มาก
167
spell
สะกดหนังสือ, ตัวสะกด
168
add
บวก, เพิ่ม, เติม

169
even
แม้, แม้แต่
170
land
ประเทศ, ภูมิประเทศ, แผ่นดิน, ที่ดิน
171
here
นี้, ตรงนี้, ที่นี่

172
must
ต้อง, จำต้อง, สิ่งจำเป็น
173
big
ใหญ่, โต
174
high
สูง, สูงส่ง, รุนแรง

175
such
เช่น, เช่นนี้, เช่นนั้น, ดังนั้น, จริงๆ
176
follow
ตาม, ติดตาม, ทำตาม, เชื่อฟัง
177
act
แสดง, กระทำ, ลงมือทำ

178
why
ทำไม, เพราะอะไร
179
ask
ถาม, ขอร้อง, เชิญ
180
men
ผู้่ชาย, คน

181
change
เปลี่ยน, เปลียนแปลง, ผลัด, แลก, แก้ไข
182
went
ไป, กลายเป็น, เดิน, ดำเนิน
183
light
ไฟ, แสง, ตะเกียง, ,สว่าง, สีอ่อน

184
kind
จำพวก, ชนิด, ประเภท
185
off
ไปเสีย, พ้นไป, หมดเกลี้ยง, ห่างจาก
186
need
ความจำเป็น, ของจำเป็น, ต้องการมาก

187
house
บ้าน, เรือน, ที่อาศัย
188
picture
ภาพ, ภาพวาด
189
try
ลอง, ทดลอง, พิสูจน์, พยายาม

190
us
เรา
191
again
อีก, อีกที, อีกครั้ง
192
animal
สัตว์

193
point
จุด, ใจความสำคัญ, หัวข้อ, ชี้, เล็ง
194
mother
แม่, บ่อเกิด
195
world
โลก

196
near
ใกล้, ใกล้เคียง, จวน, ชิด
197
build
รูปร่าง, โครง, สร้างตึก, ก่อ
198
self
ตนเอง

199
earth
ผืนดิน, โลก
200
father
พ่อ, บ่อเกิด, บาทหลวง
201
head
หัว, สมอง, หัวหน้า, ผู้นำ

202
stand
ยืน, ทรงตัว, ตั้ง, เข้าประจำที่
203
own
ของฉันเอง, เป็นเจ้าของ, ด้วยตัวเอง
204
page
หน้าหนังสือ, เลขหน้า

205
should
จะ
206
country
ประเทศ, ชนบท
207
found
ก่อ, สร้าง, ตั้ง, วางรากฐา่น

208
answer
ตอบ, คำตอบ
209
school
โรงเรียน
210
grow
ปลูก, งอกงาม, ผุดขึ้น

211
study
ศึกษา, เรียน, พิจารณา
212
still
นิ่ง, สงบ, ยังคง
213
learn
เรียน, เรียนรู้, หาความรู้

214
plant
ปลูก, เพาะ, ต้นไม้
215
cover
ปก, ครอบ, คลุม, ซ่อน, ผ้าห่ม, หลังคา
216
food
อาหาร

217
sun
พระอาทิตย์, แสงแดด
218
four
สี่, เลขสี่
219
between
ระหว่าง, ในระหว่าง, คั่นกลาง

220
state
สภาพ, ภาวะ, ฐานะ, พิธี, รัฐ, บ้านเมือง
221
keep
เก็บ, สงวน, ปกปิด, รักษา, คงอยู่
222
eye
ตา, สายตา

223
never
ไม่เคย, ไม่เลย, ไม่มีอีก
224
last
หลังสุด, สุดท้าย, ปลาย
225
let
ปล่อยให้, อนุญาต, เปิดเผย, ยกโทษให้

226
thought
คิด, พิจารณา, เห็นว่า
227
city
เมืองใหญ่, นคร, กรุง
228
tree
ต้นไม้, ไม้ยืนต้น, แผนที่แสดงกิ่งก้านสาขา

229
cross
กา, ขีด, กากบาท, ไม้กางเขน, ไขว้
230
farm
นา, ไร่, ที่เพาะปลูก
231
hard
แน่น, แข็ง, รุนแรง, ทรหด, ยากเย็น

232
start
ออก, เริ่ม, ตั้งต้น, เดินเครื่อง
233
might
อาจ, อาจจะ, สามารถจะ, คงจะ
234
story
เรื่อง, เรื่องราว, ถ้อยคำ, นิทาน, ประวัติ

235
saw
เห็น, มอง, ดู, ตรวจดู
236
far
ไกล, ห่าง, นาน, ต่อไป, อีก
237
sea
ทะเล, น้ำทะเล

238
draw
เคลื่อน, ดึง, ลาก, วาด, เขียน
239
left
ซ้าย, ซ้ายมือ, ทิ้ง, ละ, ปล่อย, ออก, จากไป
240
late
ช้า, มาสาย, ไม่ทันเวลา, ภายหลัง, ทีหลัง

241
run
วิ่ง, หนี, รีบ, หมุน, ดำเนินการ
242
don't
ไม่, อย่า, ไม่ทำ, มิได้
243
while
เดี๋ยว, ชั่วครู่, เวลา, ขณะ, ระหว่าง

244
press
รีบร้อน, กดดัน, บีบ, กด, รุกเร้า, เร่งด่วน
245
close
ใกล้, ใกล้เคียง, ติดกัน, ปิด, ยุติ, เลิก
246
night
คืน, กลางคืน, ความมืด

247
real
จริง, แท้, ของจริง
248
life
ชีวิต, การดำรงชีวิต, สิ่งมีชีิวิต
249
few
น้อย, เล็กน้อย, จำนวนน้อย

250
north
เหนือ, ทิศเหนือ, ภาคเหนือ
251
open
เปิด, กาง, โปร่ง, โล่ง
252
seem
แสดงท่าทาง, ดูราวกับ, ดูเหมือน

253
together
ด้วยกัน, เข้าด้วยกัน, พร้อมกัน
254
next
ติดกัน, ถัดไป, ต่อจากนั้น, ข้างหน้า
255
white
ขาว, สีขาว, ซีด, บริสุทธิ์

256
children
เด็ก, บุตรหลาน, ทารก
257
begin
เริ่ม, เริ่มต้น, ตั้งแต่แรก
258
got
ไปเอามา, ได้รับ, มี

259
walk
เดิน
260
example
ตัวอย่าง, แบบอย่าง, แบบฝึกหัด
261
ease
ความสะดวก, ความง่้าย, ความสบาย

262
paper
กระดาษ, เอกสาร, รายงาน
263
group
พวก, เหล่า, หมู่, ฝูง
264
always
เสมอ, ทุกเวลา, ทุกครั้ง

265
music
ดนตรี, เพลง, ทำนอง
266
those
เหล่าโน้น, พวกโน้น, พวกที่
267
both
ทั้งคู่, ทั้งสอง

268
mark
เครื่องหมาย, จุด, แต้ม, รอย, เป้า, วัตถุประสงค์
269
often
บ่อยๆ, หลายครั้ง, มัก
270
letter
อักษร, ตัวหนังสือ, หนังสือ, เอกสาร, จดหมาย

271
until
จนกระทั่ง
272
mile
ไมล์
273
river
แม่น้ำ

274
car
รถยนต์
275
feet
เท้า, ปลาย, ตีน, ฟุต (หน่วยวัดระยะ)
276
care
วิตก, กังวล, ระวัง, เอาใจใส่, ดูแลรักษา

277
second
ที่สอง, อันดับสอง, วินาที
278
book
หนังสือ, ตำรา, เล่ม, บัญชี, จอง
279
carry
ถือ, หิ้ว, แบก, สะพาย, บรรทุก

280
took
เอามา, หยิบ, จับ, ได้รับ
281
science
วิทยาศาสตร์, ศาสตร์, วิชา
282
eat
กิน, รับประทาน

283
room
ห้อง, ช่อง, ที่ว่าง
284
friend
เพื่อน, มิตร, สหาย, พวกพ้อง
285
began
เริ่ม, เริ่มต้น, ตั้งแต่แรก

286
idea
ความคิด, ความเห็น, ความมุ่งหมาย
287
fish
ปลา
288
mountain
ภูเขา

289
stop
หยุด, งด, เลิก, ห้าม, จอด
290
once
ครั้งเดียว, หนเดียว
291
base
ฐาน, ราก, หลัก, ฐานทัพ, สีพื้น, ยึดเป็นหลัก, ต่ำช้า, ชั่ว

292
hear
ได้ยิน, ฟัง, ทราบ
293
horse
ม้า, ม้าไม้
294
cut
ตัด, ฟัน, เฉือน, ชำแหละ, สกัด

295
sure
วางใจ, แน่ใจ, แน่นอน
296
watch
รอ, คอย, เฝ้าระวัง, ยาม, นาฬิกา
297
color
สี, ระบายสี, สดใส, สีสัน

298
face
หน้า, ใบหน้า, สีหน้า
299
wood
ป่า, ต้นไม้, เนื้อไม้
300
main
ส่วนใหญ่ ,สำคัญ, หลัก

301
enough
พอต้องการ, พอเพียง
302
plain
ง่ายๆ, เรียบ, ขาว, กระจ่่าง, ธรรมดา, ปกติ
303
girl
เด็กผู้หญิง, ผู้หญิง

304
usual
เป็นธรรมเนียม, โดยปกติ, มักจะ, อย่างเคย
305
young
เด็ก, หนุ่มสาว, เยาว์, อ่อนหัด
306
ready
เสร็จ, พร้อม, พร้อมสรรพ, โดยทันที

307
above
สูงกว่า, เบื้องบน, เหนือ, เหลือ, พ้น, กว่า
308
ever
ตลอดไป, เรื่อยมา, ชั่วนิรันด์, เคย
309
red
แดง, สีแดง

310
list
บัญชีรายชื่อ, ลำดับรายการ
311
though
แม้ว่า, มาตรว่า
312
feel
สัมผัส, รู้สึก สำนึก

313
talk
พูด, เจรจา
314
bird
นก, สัตว์ปีก
315
soon
เร็ว, ไม่ช้าไม่นาน

316
body
ร่างกาย, ลำตัว, ตัวถัง
317
dog
สุนัข
318
family
ครอบครัว

319
direct
ทิศทาง, วิธี, มุ่ง, เล็ง, คำแนะนำ, คำสั่ง, โดยตรง, ตรงไป
320
pose
แจ้ง, กำหนด, ตั้ง, วางท่าทาง
321
leave
ทิ้ง, ละ, ปล่อย, ออก, จากไป

322
song
เพลง
323
measure
เครื่องตวง, เครื่องวัด, ขนาด, กะประมาณ
324
door
ประตู

325
product
ผล, ผลิตภัณฑ์, สินค้า
326
black
ดำ, สีดำ, มืด
327
short
สั้น, ใกล้, ลัด

328
numeral
ตัวเลข
329
class
ชั้น, ระดับ, ประเภท, ชนิด, จำพวก, ชั้นเรียน
330
wind
ลม, พายุ

331
question
คำถาม, ไต่ถาม, กระทู้, สงสัย
332
happen
เกิดขึ้น, อุบัติขึ้น, บังเอิญ
333
complete
ทำเสร็จ, เสร็จสิ้น, จบ, ครบ, สมบูรณ์

334
ship
เรือ, ขนส่งทางเรือ
335
area
พื้นที่, เนื้อที่, ขอบเขต
336
half
ครึ่ง, ครึ่งหนึ่ง, แบ่งครึ่ง, ส่วนแบ่ง

337
rock
หิน, แข็ง, เขย่า, โยก, ดนตรีร็อค
338
order
ชั้น, ลำดับ, ชนิด, แบบแผน, ระเบียบ, คำสั่ง
339
fire
ไฟ, ไฟไหม้, ยิงปืน, ไล่ออก

340
south
ใต้, ทิศใต้
341
problem
ปัญหา, เรื่องไม่เข้าใจ
342
piece
ชิ้น, แท่ง, อัีน, ก้อน, แปลง, ผืน, ม้วน, ผับ

343
told
เล่า, บอก
344
knew
รู้, รู้จัก, ความร
345
pass
ผ่าน, พ้น, ล่วงลับ, สอบผ่าน, เดินผ่าน

346
since
ตั้งแต่, ตั้งแต่นั้นมา, เมื่อ, โดยเหตุที่
347
top
ยอด, บนสุด, หลังคา
348
whole
ทั้งหมด, ทั้งอัน, ทั้งสิ้น, ทั่วไป, เต็ม

349
king
กษัตริย์, พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้า, ผู้เป็นใหญ่
350
space
อวกาศ, ช่องว่าง, ระยะทาง, เนื้อที่, เว้นระยะ
351
heard
ได้ยิน, ฟัง, ทราบ

352
best
ดีที่สุด, สบายที่สุด, สุดยอด
353
hour
ชั่วโมง, เวลา
354
better
ดีกว่า, สบายกว่า

355
true
จริง, ความจริง, ซื่อสัตย์
356
during
ในระหว่าง, ตลอดเวลา
357
hundred
ร้อย, จำนวนร้่อย

358
five
ห้า, เลขห้า
359
remember
จำได้, ระลึกถึง, ความทรงจำ
360
step
ก้าวขา, เหยียบย่าง, ขั้น, จังหวะ

361
early
เร็วกว่ากำหนด, มาก่อน, ภายในเร็ววัน
362
hold
ถือ, จับ, ยึด, เกาะ, มัด, รักษา
363
west
ตะวันตก, ทิศตะวันตก

364
ground
ดิน, พื้นดิน, สนาม, รากฐาน
365
interest
ผลประโยชน์, ดอกเบี้ย, น่าสนใจ
366
reach
ยื่น, เอื้อม, แผ่

367
fast
รวดเร็ว, ด่วน, ทำให้แน่น, ผูก
368
verb
คำกริยา
369
sing
ร้องเพลง

370
listen
ฟัง
371
six
หก, เลขหก
372
table
โต๊ะ, ตาราง

373
travel
ท่องเที่ยว
374
less
เล็ก, น้อย
375
morning
เช้า, เวลาตั้งแต่เที่ยงคืนจนเที่ยงวัน

376
ten
สิบ, เลขสิบ, จำนวนสิบ, ที่สิบ
377
simple
ง่าย, เรียบง่าย, ไม่หรูหรา, เฉยๆ
378
several
หลายครั้ง, หลายคน

379
vowel
สระ (ตัวอักษร)
380
toward
ไปทาง, ไปสู่, ไปถึง
381
war
สงคราม, การต่อสู้

382
lay
วาง, พาด, แผ่, คลี่, ปู
383
against
ทวน, ย้อน, ฝืน, ขัดขืน, ต่อสู้
384
pattern
แบบ, แผน, รูปแบบ, หุ่น, ลวดลาย

385
slow
ช้า, ค่อยๆ, ไม่เร่งรีบ
386
center
ตรงกลาง, ใจกลาง, จุดศูนย์กลาง
387
love
รัก, ชอบ, คู่รัก

388
person
บุคคล, คน
389
money
เงิน, การเงิน
390
serve
รับใช้, บริการ, ส่งเสริม, รับราชการ

391
appear
ปรากฏขึ้น, แสดงตัว, แจ้ง, ประจักษ์
392
road
ถนน, ทาง
393
map
แผนที่

394
rain
ฝน, ฝนตก, ฤดูฝน
395
rule
กฎ, หลัก, ระเบียบ
396
govern
ดูแล, ครอบงำ, บังคับ, ปกครอง, รัฐบาล

397
pull
ดึง, กระชาก, ฉุด, ลาก
398
cold
เย็น, หนาว, หวัด
399
notice
ประกาศ, แจ้งล่วงหน้า, แจ้งความ, ข้อสังเกต

400
voice
เสียง, เสียงพูด, เสียงร้อง
401
unit
หน่วย
402
power
กำลัง, แรง, แข็งแรง, อำนาจ

403
town
เมือง, นคร
404
fine
ดี, วิเศษ, เลิศ, ประณีต
405
certain
แน่ใจ, แน่นอน, แน่ๆ

406
fly
บิน, เหาะ, พุ่ง
407
fall
ตก, หล่น, ร่วง, ล้ม, พังทลาย
408
lead
จูง, ชักจูง, ชวน, นำหน้า, เป็นหัวหน้า

409
cry
ร้อง, ป่าวร้อง, ส่งเสียง, ร้องไห้
410
dark
มืด, มืดค่ำ, ลึกลับ, มืดมน
411
machine
จักร, เครื่อง, เครื่องจักร, เครื่องยนต์

412
note
ชื่อเสียง, เครื่องหมาย, หนังสือ, ธนบัตร
413
wait
คอย, รอ, รับใช้่
414
plan
แผนผัง, แผนการ, วิธี, อุบาย

415
figure
ตัวเลข, สถิติ, จำนวนเงิน, รูปร่าง, ทรวดทรง
416
star
ดวงดาว, วัตถุที่มีแฉกเหมือนดาว, ดารา, บุคคลโดดเด่น
417
box
กล่อง, หีบ, คอก

418
noun
คำนาม
419
field
ทุ่ง, สนาม, สนามรบ, กลางแจ้ง, ขอบเขต
420
rest
พัก, พักผ่อน, สงบสุข, คงอยู่

421
correct
ถูกต้อง, เหมาะ, สมควร
422
able
สามาร, หลักแหลม, เก่ง
423
pound
หน่วยเงินอังกฤษ, หน่วยน้ำหนัก

424
done
ทำ, ปฏิบัติ
425
beauty
สวย, งาม
426
drive
ขับ, ขับไล่, ผลักไส, ดัน, บังคับ, ขับรถ

427
stood
ยืน, ทรงตัว, ตั้ง, เข้าประจำที่
428
contain
จุ, บรรจุ, ความจุ
429
front
ด้านหน้่า, แถวหน้า, เผชิญหน้า

430
teach
สอน, สอนหนังสือ
431
week
สัปดาห์, เจ็ดวัน
432
final
สุดท้าย, สิ้นสุด, ในที่สุด

433
gave
ให้, แจก, มอบ, ปล่อย
434
green
เขียว, สีเขียว, เขียวชอุ่ม, สนาม
435
oh
โอ้ (คำอุทาน)

436
quick
รวดเร็ว, ฉับไว, ทันที
437
develop
เป็นรูปร่างขึ้น, เจริญ, พัฒนา
438
ocean
มหาสมุทร

439
warm
อบอุ่น, อุ่น, ร้อนขึ้น
440
free
อิสระ, เสรีภาพ, ว่าง, ไม่เสียค่าใช้จ่าย
441
minute
นาที

442
strong
แข็ง, แข็งแรง, มั่นคง, มีอำนาจ, รุนแรง
443
special
พิเศษ
444
mind
จิตใจ, ความเห็น, ความคิด, ความทรงจำ

445
behind
หลัง, ข้างหลัง, ล้าหลัง
446
clear
ใส, แจ่มใส, กระจ่าง, บริสุทธิ์, ล้าง, ชำระ, ผ่านพ้น
447
tail
หาง, ปลาย, ท้าย

448
produce
ผล, พืชผล, ผลผลิต, เป็นประโยชน์
449
fact
ความจริง, เรื่องจริง, ข้อเท็จจริง
450
street
ถนน

451
inch
นิ้ว (หน่วยความยาว)
452
multiply
คูณ, ทวีคูณ
453
nothing
ไม่มี, ศูนย์เปล่า, ไม่เลย

454
course
เส้นทาง, แนวทาง, วิธี, หลักสูตร
455
stay
คงอยู่, พัก, ระงับ, ค้ำ
456
wheel
ล้อรถ, กงจักร, กังหัน, วกเวียน

457
full
เต็ม, เต็มที่, บรรจุจนเต็ม, แน่น
458
force
แรง, กำลัง, อำนาจ, บังคับ
459
blue
ฟ้า, น้ำเงิน, สีฟ้า, สีน้ำเงิน

460
object
วัตถุ, ที่หมาย, จุดประสงค์, วัตถุประสงค์
461
decide
ตัดสิน, ตกลงใจ
462
surface
ด้าน, หน้า, พื้นผิว, ฉาบหน้า

463
deep
ลึก, จมลึก, เหว, ถลำลึก
464
moon
พระจันทร์
465
island
เกาะกลางทะเล

466
foot
เท้า, ปลาย, ตีน, ฟุต (หน่วยวัดระยะ)
467
system
ระบอบ, ระเบียบ, หลัก, วิธี, ประมวล
468
busy
มีงานยุ่ง, วุ่นวาย, ไม่ว่าง, พลุกพล่าน

469
test
พิสูจน์, ทดลอง
470
record
บันทึก, สถิติ, อัดเสียง
471
boat
เรือ

472
common
ร่วมกัน, กองกลาง, สาธารณะ, สามัญ, ธรรมดา
473
gold
ทองคำ, สีทอง
474
possible
อาจเป็นไปได้, พอจะเป็นไปได้, บางที, อาจจะ

475
plane
พื้นราบ, แนวราบ, แบน, เครื่องบิน
476
stead
แทน, ตัวแทน
477
dry
แห้ง, ผึ่ง, ตาก, ปราศจากน้ำ

478
wonder
ประหลาดใจ, พิศวง, สงสัย
479
laugh
ยิ้ม, หัวเราะ
480
thousand
พัน, เลขพัน

481
ago
นานมาแล้ว, ผ่านมาแล้ว
482
ran
วิ่ง, หนี, รีบ, หมุน, ดำเนินการ
483
check
ตรวจสอบ, ทำเครื่องหมาย, ระงับ, รั้ง, ต้านทาน

484
game
เกมส์, การเล่น, เครื่องสนุกสนาน
485
shape
รูปร่าง, ทรวดทรง, ท่าทาง
486
equate
ทำให้เท่าเทียม, เสมอภาึค, สมดุล

487
hot
ร้อน, อบอ้าว, สดๆ ร้อนๆ, ฉุนเฉียว
488
miss
พลาด, ผิด, ปล่อย, หายไป, คิดถึง, นางสาว
489
brought
เอามาให้, นำมาซึ่ง, นำไปสู่, ยกมาอ้าง

490
heat
ร้อน, อบอ้าว, สดๆ ร้อนๆ, ฉุนเฉียว
491
snow
หิมะ, ผมขาว
492
tire
เหนื่อย, เมื่อย, เบื่อ

493
bring
เอามาให้, นำมาซึ่ง, นำไปสู่, ยกมาอ้าง
494
yes
ใช่, ถูกต้อง
495
distant
ระยะทาง, หนทางไกล, นานมาแล้ว

496
fill
เต็ม, เต็มที่, บรรจุจนเต็ม, แน่น
497
east
ตะวันออก, ทิศตะวันออก
498
paint
สี, ทาสี, วาดรูป

499
language
ภาษา
500
among
ในหมู่, ในจำนวน, ในพวก, ในระหว่าง
.
.
.





ที่มาข้อมูล : http://esl.about.com/

ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com

ความสำคัญของภาษาไทย


ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีน มีหลายคำที่ขอยืมมาจากภาษาจีน

พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต

คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"

ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ

คนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า

"ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "

ที่มา 27wutani1.multiply.com/journal/item/5

ทรงผมสั้น เก๋ ๆ พร้อมเคล็ดลับการตัดผมสั้นให้เข้ากับรูปหน้า

ทรงผมสั้นไปงานทรงผมสั้นไปงาน

รูป ผมสั้นไปงาน จัดไป สั้นๆ ก็สวยได้  (1/18)

รูป ผมสั้นไปงาน จัดไป สั้นๆ ก็สวยได้  (14/18)

ทรงผมสั้น

รูป ทรงผมสั้น เทรนด์ Hot รับ 2013  (6/10)

รูป ทรงผมสั้น เทรนด์ Hot รับ 2013  (9/10)

แบบผมสั้น



ทรงผมยาวประบ่าสไตล์เกาหลี ด้านหน้า
 ทรงผมยาวประบ่าสไตล์เกาหลี ด้านหลัง
 ทรงผมยาวประบ่าสไตล์เกาหลี ด้านข้าง
   ทรงผมยาวประบ่าสไตล์เกาหลี

ทรงผมวัยรุ่นเกาหลี ด้านหลัง
 ทรงผมวัยรุ่นเกาหลี ด้านข้าง
ผมทรงปลาหมึก
ผมหน้าม้าปัด ด้านหน้า
ทรงผมเทรนด์เกาหลีหญิง ด้านหน้า
ทรงผมเทรนด์เกาหลีหญิง
ทรงผมสีทอง ด้านข้าง
ทรงผมสีทอง
ผมสไลด์รากไทร
ทรงผมสั้นสวยๆๆ
ทรงผมแนวเซอร์ ด้านข้าง
ทรงผมไม่ยาวไม่สั้น
ทรงผมสั้นสไลด์ปลาย
ทรงผมสั้นเปรี้ยวๆ
แฟชั่นทรงผมลอน
ทรงผมสั้นรับหน้าร้อน

ทรงผมทัดหู ด้านข้างทรงผมทัดหู ด้านหน้า
ทรงผมมัดน่ารัก ด้านข้างทรงผมมัดน่ารัก ด้านหน้า
 ทรงผมไม่ยาวมาก ด้านข้าง
ทรงผมสุดฮิต สุดน่ารัก
ทรงผมสุดฮิตทรงผมสุดฮิต ด้านข้าง
แบบทรงผมสั้นน่ารักๆ
ทรงผมประบ่าดัดปลาย
ผมพองวอลลุ่ม ด้านข้าง
 ผมพองวอลลุ่ม
แฟชั่นทรงผมสั้นแบบเกาหลี ด้านข้าง
แฟชั่นทรงผมอินเทรนด์ ด้านหน้า
ผมดัดลอนใหญ่คลาย ด้านหน้า
 ผมดัดลอนใหญ่คลาย น่ารัก
   ผมดัดลอนใหญ่คลาย แอ๊บแบ๊ว

ทรงผมสุดอินเทรนด์ ด้านหน้า
ทรงผมสุดอินเทรนด์ ด้านข้าง

วิธีการดูแลผมดัด

ก้อย รัชวิน
นุ่น วรนุช
นุ่น วรนุช
ได๋ ไดอาน่า
นุ่น ศิรพันธ์
พิม ซาซ่า

อิมซูจอง

 มูนกึนยอง
 ฮันกาอิน
wonder girls
 ทิฟฟานี่ Girls generation
ทิฟฟานี่ Girls generation
Jessica Girls Generation



ทรงผมสั้น












ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น



          สาว ๆ ที่กำลังมองหา ทรงผมสั้น ที่เหมาะกับตัวเองอยู่ วันนี้เรามีแบบ ทรงผมสั้น เก๋ ๆ มาฝากคุณสาว ๆ เพียบ แต่ก่อนจะไปเปลี่ยน ทรงผม เรามีเคล็ดลับการเลือกตัด ทรงผมสั้น ให้เข้ากับรูปหน้ามาฝากเป็นของแถมด้วย... 
          หากคุณเป็นสาวหน้ากลม ทรงผมสั้น ที่คุณสามารถตัดได้คือ ผมสั้นแค่ระดับแนวขากรรไกร ไม่ควรตัดให้สั้นกว่านั้น เพราะจะยิ่งเน้นความกลมของใบหน้าให้เด่นชัด ส่วนจะตัดบ๊อบหรือสไลด์ก็ได้แล้วแต่ความชอบ
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น


          สาวที่มีใบหน้ายาว ทรงผมสั้น ที่เหมาะกับรูปหน้าคือ ผมซอยด้านหน้าเป็นเลเยอร์หรือไล่ระดับถึงบริเวณคาง ผมบ๊อบซอยไล่ระดับก็เป็นอีกทรงที่เหมาะกับคนหน้ายาวทั้งหลาย เพราะจะช่วยทำให้ใบหน้าดูอิ่มเอิบขึ้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น


          ส่วนสาวหน้าเหลี่ยม ทรงผมสั้น ที่เหมาะกับรูปหน้าคุณคือ ผมที่ตัดซอยไม่สั้นมาก ความยาวระดับไหล เป็นทรงที่เหมาะมากที่สุด ซึ่งจะช่วยอำพรางรูปหน้าให้เรียวขึ้น คุณไม่ควรตัดผมหน้าม้า หรือดัดผมเป็นลอนเด็ดขาด เพราะจะยิ่งเน้นบริเวณกรามให้ดูเหลี่ยมไปกันใหญ่
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น


          สาวที่มีใบหน้ารูปหัวใจ ทรงผมสั้น ที่เหมาะกับรูปหน้าคุณคือ ผมบ๊อบสั้นประมาณบ่า และให้ตัดผมหน้าม้า เพื่ออำพรางบริเวณหน้าผากและแก้มที่กว้าง
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น


          สำหรับสาวที่มีใบหน้ารูปไข่ ซึ่งเป็นใบหน้าที่สมบูรณ์แบบมาก ๆ คุณสามารถตัด ทรงผมสั้นทรงไหนก็ได้... โชคดีจริง ๆ
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น


          เอาล่ะ !! รู้อย่างนี้แล้ว ก็ได้เวลาไปดูแบบ ทรงผมสั้น กันเลย...
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น 
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น
ทรงผมสั้น

ทรงผมสั้น






ขอขอบคุณภาพประกอบจาก
-postjung.com
-tlcthai.com
-mthai.com
-กระปุกดอทคอม