เพลงพื้นบ้าน ความหมาย ประเภท แต่ละภาค

ความหมายของเพลงพื้นบ้าน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นต่าง ๆ คิดรูปแบบการร้อง การเล่นขึ้น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มุ่งความสนุกสนานรื่นเริง ใช้เล่นกันในโอกาสต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ตรุษจีน ลอยกระทงไหว้พระประจำปี หรือแม้กระทั่งในโอกาสที่ได้มาช่วยกันทำงาน ร่วมมือร่วมใจเพื่อทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นต้น
เพลงพื้นบ้าน ความหมาย ประเภท แต่ละภาค

เพลงพื้นบ้าน ความหมาย ประเภท แต่ละภาค

เพลงพื้นบ้าน ความหมาย ประเภท แต่ละภาค

เพลงพื้นบ้าน ความหมาย ประเภท แต่ละภาค

เพลงพื้นบ้าน ความหมาย ประเภท แต่ละภาค
เพลงพื้นบ้าน

  เป็นร้อยกรองที่นำมาจัดจังหวะของคำ และใส่ทำนองเพื่อ ขับร้องในท้องถิ่นสืบทอดต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ ที่มาของ เพลงพื้นบ้าน เกิดจากนิสัยชอบบทกลอน หรือทีเรียกว่า “ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน” ของคนไทยในท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียงร้อยถ้อยคำมีสัมผัสคล้องจอง และประดิษฐ์ทำนองที่ ร้องง่ายแล้วนำมาร้องเล่นในยามว่าง หรือระหว่างทำงาน ร่วมกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เพื่อผ่อนคลายความ เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อความสามัคคีในกลุ่มชน การใช้ถ้อยคำในเพลง พื้นบ้านนั้น มีลักษณะตรงไปตรงมา นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางครั้งก็แฝงนัยให้คิดในเชิง สองแง่สองง่าม บางเพลงก็ร้องซ้ำไปมาชวนให้ขับขัน
เพลงพื้นบ้านและบทเพลงกล่อมเด็ก
เพลงพื้นบ้าน
     ๑. ความหมายของเพลงพื้นบ้าน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นต่าง ๆ
คิดรูปแบบการร้อง การเล่นขึ้น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มุ่งความสนุกสนานรื่นเริง ใช้เล่นกันในโอกาสต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ตรุษจีน ลอยกระทง
ไหว้พระประจำปี หรือแม้กระทั่งในโอกาสที่ได้มาช่วยกันทำงาน ร่วมมือร่วมใจเพื่อทำงาน
อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น เกี่ยวข้าว นวดข้าว เป็นต้น
     ๒. ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบ
กัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ คารมหรือถ้อยคำง่าย ๆ แต่มีความหมาย
กินใจ ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง และ
ทำนองง่าย ๆ ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟังไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้ การเล่นเพลงชาวบ้าน
จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลำน้ำ แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลง
เครื่องดนตรี ที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ กลอง หรือเครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบางทีก็ไม่มีเลยใช้การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสำคัญในการร้องเพลง
ชาวบ้านอีกอย่างก็คือ ลูกคู่ที่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง หรือร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น
     ๓. ประเภทของเพลงพื้นบ้าน เราอาจแบ่งประเภทของเพลงพื้นบ้านตามภูมิภาค
ต่าง ๆ ได้ดังนี้
           ๓.๑ เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ เช่น เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนอง
สูงต่ำไพเราะ เพลงซอเป็นการขับร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน จ๊อยหรือการขับลำนำในโอกาส
ต่าง ๆ และทำฮ่ำหรือคำฮ่ำ ซึ่งเป็นการขับร้องหมู่ เป็นต้น
           ๓.๒ เพลงพื้นบ้านในภาคอีสาน เช่น หมอลำ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นลำกลอนคือการลำ
โดยทั่วไป ลำโจทก์ – แก้ เป็นการลำถาม – ตอบ โต้ตอบกันในเรื่องต่าง ๆ ลำหมู่ เป็นการลำ
เล่านิทาน เรื่องราว โดยมีผู้แสดงประกอบ ลำเต้ย เป็นการลำที่มีจังหวะช้า และลำเพลิน เป็นการลำแบบใหม่มีสาว ๆ ร่ายรำประกอบ นอกจากนี้ยังมีเพลงโคราช ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ เพลงฉ่อยของภาคกลาง เพลงลากไม้เป็นการร้องประกอบการทำงาน เพลงเซิ้ง เช่น เซิ้ง
บั้งไฟ  เซิ้งผีตาโขน  เซิ้งนางแมว เป็นต้น
           ๓.๓ เพลงพื้นบ้านในภาคกลาง ในภาคกลางมีเพลงพื้นบ้าน มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งมักใช้ร้องในโอกาสต่าง ๆ เช่น ร้องเพื่อความบันเทิง ได้แก่ เพลงเรือ เพลงอีแซว ลำตัด
เพลงฉ่อย ร้องประกอบการทำงาน ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว ฯลฯ
           ๓.๔ เพลงพื้นบ้านในภาคใต้ เช่น เพลงเรือ ซึ่งเป็นเพลงเล่นทางน้ำเหมือนกับ เพลงเรือของภาคกลาง แต่ทำนองที่ร้องและการแต่งเนื้อเพลงต่างกัน นอกจากนี้ยังมีเพลงบอก ซึ่งเป็นเพลงที่เล่นได้ทั้งร้องคนเดียวและร้องโต้ตอบ เพลงนา ใช้ร้องเล่นเกี้ยวพาราสีกัน ในงาน
เทศกาลต่าง ๆ

ตัวอย่างเพลงพื้นบ้านของภาคต่าง ๆ


ภาคกลาง
                                   เพลงเกี่ยวข้าว

    คว้าเถิดนาแม่คว้า
รีบตะบึงถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย

    เกี่ยวเถิดหนาแม่เกี่ยว
อย่ามัวแลมัวเหลียว
เคียวจะบาดมือเอย

    เกี่ยวข้าวแม่ยาย
ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายกำเอย

    คว้าเถิดหนาแม่คว้า
ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย


                      (จากหนังสือเรียนภาษาไทย รายวิชา ท 035 ประครอง เจริญจิตรกรรม)

ภาคเหนือ
                                  เพลงค่าวซอ    

                   ญิงกับจาย
กันได้ถูกเนื้อ

                   เหมือนดั่งค้าง
หิวไฟ


(ความหมายหญิงกับชาย เมื่อได้ถูกตัวกันเหมือนครั่งที่แข็งกระด้างลนไฟ)
                   (จากหนังสือเรียนภาษาไทย รายวิชา ท 035 ประครอง เจริญจิตรกรรม)

ภาคอีสาน
                                          เพลงแคน


         ฟังเนอเจ้าพวกหมู่ซายฮาม
ฉันสิบอกไปตามครองเมียดีฮ้าย

    เผิ่น ได้จัดแบ่งไว้มีอยู่เจ็ดคน
ให้มันหายกังวลความชมของบ่าว

    ดังซิยกมากล่าวให้เห็นเหตุผล
เบิ่งตัวคนก็คือกันนั่นละ

    แต่ผิดลักษณะใจบ่คือกัน
นี่แหละข้อสำคัญให้พากันสังเกต

    ลางคนเพศซิ่นไหมแพรงาม
ยามเมื่อแลงเที่ยวหาคบชู้

    เฮือนบ่อยู่เที่ยวหาสำบาย
อยากให้ชายเบิ่งเห็นแล้วมัก

    ให้ซายทักถามข่าวไปมา
การพูดจาหัวแหหัวแห่น

    นี่ละตั้งโตแก่นมันซิมานทาง
ลางคนพลางเว่าแต่เผิ่นบ่าว

    หายให้ซายฮู้ข่าวว่าโตนี้ดี
ลางคนมีวาจาหยาบซ้ำ

    ปากแก่กล้าบ่มวนนำคน
ลางคนบ่เป็นตาอยู่

    ปวดนำซู้ห่อหมากฝากหา
จนได้ให้ซายเขาหลอก

    หญิงปลิ้นปลอกอย่างนี้มีหลาย
ใจมันอยากเป็นนายเมียครูผู้ใหญ่

    ลางคนได้ตามบ่าวทางไกล
พ่อแม่ตกใจดูพอหาลูก

    ลางคนถูกซายล้อจนมาน
นีละอนาจารขายหน้าพ่อแม่

    บ่าวไปแวะชมหลอกหยอกนาง
ฮู้ว่าเขาตัวพลางเป็นหยังจังเชื่อ

    ให้เขาหลอกหลายเทื่อจนบ่าวสาวลือ
จนได้ลงมือเล่นนำผู้บ่าว ฯ


(ศัพท์ควรรู้ ซายฮามคือชายงาม ฮ้ายคือร้าย เผิ่นคือท่าน บ่าวคือหนุ่ม เพื่อน เบิ่งคือมอง ซู้คือชู้
เฮือนคือเรือนหรือบ้าน มักคือรัก โตคือตัว มานคือท้อง เว่าคือพูดจา มวนคือไพเราะ ฮู้คือรู้ หยัง คือ อย่างนั้น จังคือยัง เทื่อคือครั้ง)
                    (จากหนังสือเรียนภาษาไทย รายวิชา ท 035 ประครอง เจริญจิตรกรรม)

ภาคใต้
                                        เพลงบอก

    ปาน
อันพวกเราเหล่าบริษัท โดยมากเข้าวัดแล้วมักว่า ตั้งนะโมตัสสะ เคยว่ากัน


นับโหล จนถึงสัมพุทธัสสะ สุดท้ายของบทนโม น้ารอดต้องโร้   แปลความที่


ปานได้ถามไป

    รอด
ความจริงน้องต้องถามพระ เพราะว่าธรรมะสำหรับทาน มาถามน้ารอด


อยู่ที่บ้าน  น้าพานให้ยักหงาย ....รอดไม่รู้เรื่องธรรมะ จงไปถามพระ


เถิดน้องชาย ......

    ปาน
น้ารอดบวชกายเปล่า ๆ พอเขาได้เรียกเณร


(ศัพท์ควรรู้ โร้คือรู้ เณรคือคำเรียกผู้ที่บวชพระแล้ว เป็นภาษาถิ่น เรียกกันตามศักดิ์ เช่น พี่เณร
น้องเณร น้าเณร ถ้าผู้บวชเป็นลูกเขย พ่อตาแม่ยายจะเรียกเณร …… แล้วเอาชื่อมาต่อท้าย พ่อแม่ก็เรียกลูกของตนว่าเณร เหมือนที่ภาคกลางเรียกว่าทิด ยักหงายคือหงายหลัง)
                    (จากหนังสือเรียนภาษาไทย รายวิชา ท 035 ประครอง เจริญจิตรกรรม)

หลายคนอยากฟังกันแล้วว่าเพลงพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นเป็นอย่างไร



เพลงพื้นเมืองล้านนา ประกอบด้วยเพลง (ฤๅษีหลงถ้ำ) เพลงนี้มีความไพเราะมากขนาดฤาษีที่ออกจากถ้ำเมื่อ ฤๅษีได้ยินถึงกับหาทางกลับถ้ำของตัวเองไม่ถูก (ฟ้อนสาวไหม) ฟ้อนสาวไหมเป็นฟ้อนที่มีชื่อเสียงของชาวล้านนา ผู้แสดงจะฟ้อนเลียนแบบท่าทางการสาวไหมของหญิงสาวชาวล้านนา (ปราสาทไหว) เพลงพื้นเมืองทำนองหนึ่งของล้านนา เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่นิยมนำมาใช้บรรเลงนำขบวนแห่ศพ


อีแซว เพลงพื้นบ้าน หวังเต๊ะ ปะทะ ขวัญจิตร


เพลงพื้นบ้านสวนพลู คุณพระช่วย


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแสดงความคิดเห็นของบล็อกประเพณีไทย จะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น
ควรใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม ก่อนที่จะทำการแสดงความคิดเห็นของท่านสู่ที่สาธารณะ งดคำหลาบ คำว่าร้ายทุกกรณี หรืออื่นๆที่ทีมงานเห็นว่าไม่ดีไม่งาม
ขอลบทันทีโดยไม่บอกกล่าวหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น