แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณี แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีไทย

ท่านมองประเพณีไทยเราเป็นอย่างไร คิดถึงเรื่องอะไร แล้วท่านเข้าใจที่มาที่ไปของประเพณีไทยหรือยัง
จริงๆแล้วจะเอาอะไรมาตัดสินคำว่าประเพณีไทยแท้ๆนั้นยากครับ สรุปมาว่าถูกต้องนะ ไม่ถูกนะ ก็ไม่ได้ทั้งหมด
คนไทยหลายคนยังเข้าใจว่า ประเพณีไทยนั้นเป็นของไทยแท้ๆ หรือหลายคนยังสงสัยอยู่
จริงๆแล้ว ประเพณีไทยเรานั้นได้รับอิทธิพลมาจากหลายชาติครับ เช่น ลาว มาลายู อินเดีย และอื่นๆ
และส่วนมากแล้วล้วนมาจากเรื่องของศาสนานั่นแหละ และคนไทยได้นำมาใช้ในไทยเรา ประยุกต์ให้เข้ากับคนไทย เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก และยังทำกันมายาวนาน สืบทอดกันมาเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น
แล้วเรียกมันว่า ประเพณีไทยนั่นเอง


ประเพณีไทย
ประเพณีไทย

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทงของไทย สวยงามยาวค่ำคืน

สวัสดีครับ เราในฐานะคนไทยแล้ว มีใครไม่รู้จักวันลอยกระทงบ้างครับ แน่นอนหลายท่าน คงรู้จักหมด
วันนี้เรามาทราบความหมายของวันลอยกระทงกันเลย

วันลอยกระทงของไทยนั้น ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนไทย ซึ้งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
หรือหลายคนคงได้ยินจากเพลง วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
แต่ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะอยู่ในเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
 และสำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศของไทยเรา ส่วนมากจะเป็นที่มีน้ำ เช่นลำคลอง บึง อื่นๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป วันลอยกระทง สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ กระทง (ไม่หลงทางนะครับ อิอิ) ซึ้งก็จะทำจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง เพื่อที่จะนำไปลอยในน้ำของวันลอยกระทง (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

มาดูกระทงสวยๆงามๆจาก สิ่งที่มาจากธรรมชาติกัน

กระทงแบบดั้งเดิมนั้นทำจากวัสดุธรรมชาติ

ประวัติวันลอยกระทง

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

Loi krathong rafts.jpg
ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ



ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)


พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา


เอาสักหน่อยแล้วกันสำหรับเพลง วันลอยกระทง

อีกครั้ง สุดท้ายนี้ ยังไงก็ฝากประเพณีไทยเรา ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ให้แก่ลูกหลานต่อไป


ติดตามเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ตามด้านล่าง
ประเพณีไทย

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ภาพ:Bangfai_21.jpg

บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ภาพ:Bangfai_1.jpg

ภาพ:Bangfai_16.jpg

ภาพ:Bangfai_17.jpg

ภาพ:Bangfai_22.jpg

ภาพ:Bangfai_13.jpg

ภาพ:Bangfai_6.jpg

ภาพ:Bangfai_5.jpg

ภาพ:Bangfai_2.jpg

ภาพ:Bangfai_8.jpg


ภาพ:Bangfai_7.jpg

ภาพ:Bangfai_4.jpg


ภาพ:Bangfai_9.jpg

ภาพ:Bangfai_14.jpg

ภาพ:Bangfai_18.jpg


ประเพณีบุญบั้งไฟ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ประเพณีบุญบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ รายละเอียด ชื่อเป็นทางการ ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคมของทุกปี สถานที่จัด ภาคอีสานของไทย และ ลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้



จังหวัด ยโสธร
ช่วงเวลา
ดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ
าวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

พิธีกรรม 

๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้) 
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ 
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง) 
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง

สาระ 
๑. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
๒. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
๓. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
๔. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร