แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยกับอาเซียน

ภาพรวมวัฒนธรรม ประเพณีไทย กลุ่มอาเซียน อุษาคเนย์
ประเพณีไทยกับอาเซียน



วิถีคิด” ทางวัฒนธรรมอาเซียน (มีไทยด้วย) ยังตกอยู่ในอาการ“ล้าหลัง คลั่งชาติ ทาสอาณานิคม” หากแก้ไขไม่ได้ก็ไปข้างหน้ากว่านี้ไม่ได้

“เร่งทำเรื่องการสร้างความร่วมมือด้านประเพณีไทยของกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีประเทศใดให้ความสำคัญกับเรื่องศิลปประเพณีไทย ประวัติศาสตร์ และภาษาถิ่น”

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน แนะนำ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ช่วยกันสร้างอัตลักษณ์ภาพรวมให้กลุ่มประเทศอาเซียน (มติชน วันอังคารที่ 1 มีนาคม 2554 หน้า 23)

รัฐมนตรีวัฒนธรรมให้นโยบายจัดตั้งกองอาเซียน สังกัดสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัด วธ. เพื่อดูแลงานวัฒนธรรมในเวทีอาเซียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขณะเดียวกัน วธ. มียุทธศาสตร์พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยใช้มิติทางวัฒนธรรม ผ่านโครงการวัฒนธรรมสัญจรแหล่งมรดกโลก เช่น เชิญคณะทูตานุทูตกับสื่อมวลชนต่างประเทศเยี่ยมชมพิมาย (นครราชสีมา), พนมรุ้ง (บุรีรัมย์), ฯลฯ (มติชน วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 หน้า 22)

วัฒนธรรมสัญจรที่ยกมานี้เป็น“งานรูทีน” ตั้งแต่ยังไม่มี วธ.

แต่ไม่เคยประเมินผลว่าตั้งแต่ทำมามีประโยชน์มากน้อยขนาดไหน? หรือถ้าจะมีก็มีกันเอง, ทำกันเอง, เที่ยวกันเอง, เชียร์กันเอง, ยกยอปอปั้นกันเอง ฯลฯ เพียงแต่สร้างภาพได้ดูดี เพราะมี“ทูต”ประเทศต่างๆเป็นเครื่องประดับชั้นดี

ถ้าจะประเมินอย่างเป็นวิชาการโดย“มืออาชีพ” อาจได้ผลตรงข้ามกับที่ประเมินกันเอง

สาระสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ วธ. ยังไม่เคยแสดง“วิถีคิด” ภาพรวมทางสังคมวัฒนธรรม ทั้งของประเทศตนเองและของกลุ่มประเทศอาเซียน ให้ประจักษ์แก่สังคมไทยและนานาชาติ

ที่แสดงต่อสาธารณะผ่านๆมา “วิถีคิด”ยังอยู่ในอาการ“ล้าหลัง คลั่งชาติ ทาสอาณานิคม” ดูจากคำอธิบายต่างๆเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะ(แบบอาณานิคม)โดยไม่มีประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม(แบบสากลนิยม)

วธ. ต้องปรับปรุงแก้ไขตรงนี้ก่อน เพราะเป็นแก่นแท้ที่จะเกี่ยวข้องเรื่องอื่นๆ

ถ้าแก้ไขตรงนี้ไม่ได้ เรื่องอื่นๆก็เหลวเป๋ว “กองอาเซียน”ที่จะตั้งขึ้นจะกลายเป็น“กองอาเสี้ยน”

นาฏศิลป์และดนตรีหลักๆคือ โขนละคร, ปี่พาทย์ฆ้องวง บางทีจะเป็นเครื่องมือสำคัญมากที่จะหล่อหลอม“วิถีคิด”ให้กว้างขวาง เห็นภาพรวมทั้งอาเซียนในอุษาคเนย์

นี่เป็น“ของดีมีอยู่” (ใน วธ.) แต่ วธ. ไม่รู้จัก

ประเพณีไทยกับอาเซียน ประเพณีไทยกับอาเซียน ประเพณีไทยกับอาเซียน
ประเพณีไทยกับอาเซียน ประเพณีไทยกับอาเซียน ประเพณีไทยกับอาเซียน

เขตแดนของเรา—เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา เป็นงานชุดสำคัญมากๆของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (และคณะ) ที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อความเข้าใจภาพรวมวัฒนธรรมกลุ่มอาเซียน อุษาคเนย์ แม้จะมีคนบางพวกโจมตี “ใต้เข็มขัด” แต่เนื้องานชุดนี้ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่สำคัญ ยกเว้นคนบางพวกที่ไม่สนใจพยานหลักฐานวิชาการ เพราะเอาแต่อารมณ์ตนเป็นที่ตั้ง

มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 3   มีนาคม  2554


วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เพลงอะไรบ้าง ที่ทำให้คุณคิดถึงประเพณีไทย

เพลงอะไรบ้าง ที่ทำให้คุณคิดถึงประเพณีไทย

สวัสดีอีกเช่นเคย จริงๆ แล้วผมชอบจะถามและขอความเห็นหรือให้แง่คิดนะครับ
คำถามของเราวันนี้ คือ เพลงอะไรบ้าง ที่ทำให้คุณคิดถึงประเพณีไทย ไม่จำกัดแนวดนตรีครับ
เพราะบางท่านชอบฟังเพลงสตริง แต่เป็เพลงไทยเนื้อหาดีๆเกี่ยวกับชาติก็มี
แต่ส่วนมากแล้ว หากคิดถึงเพลงหรือดนตรีที่เกี่ยวกับประเพณีไทยแล้ว ล้วนแล้วคิดถึงเพลงพื้นบ้าน
เพลงแต่ละท้องถิ่น เพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง อะไระประมาณนั้นไช่ไหมครับ
ฝากเอาคำถามนี้ให้ทุกคนเก็บไปคิดเล่นๆนะครับ เผื่อจะมีเพลงที่หลายๆท่านอาจจะยังไม่เคยฟังหรือไม่คุ้นหูสักเท่าไหร่ นำมาแบ่งปัน มาให้ฟังกัน
เราลองมาฟังเพลงที่ทำให้ผมนึกถึงประเพณีไทยกันนะครับ


แบบย้อนยุคหน่อยครับ สำหรับเพลงด้านล่าง แต่ฟังแล้วสบายใจยังไงไม่รู้ ลองฟังกันดูครับ


ฝากอีกเช่นเคย ประเพณีไทยเรา ช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ให้ลูกหลานของเรานะครับ
สวัสดีปีใหม่ 2556 ทุกท่าน พี่น้องชาวไทย


วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย กับ วัยรุ่นสมัยใหม่

ประเพณีไทย กับ วัยรุ่นสมัยใหม่

พฤติกรรมการใช้ชีวิตของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน เมื่อลองเปรียบเทียบกับประเพณีไทยแล้ว ท่านคิดเห็นอย่างไรบ้าง พฤติกรรมของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันหลายท่านคงพบเจอบ่อยกับเด็กวัยรุ่นที่ทำเลียนแบบกัน
และเมื่อรุ่นต่อไปก็เอาอย่างรุ่นพี่ๆที่ทำไว้ สิ่งดีควรเก็บรักษาไว้ แต่ส่วนมากแล้ว จะไปด้านเสียมากกว่า
ง่ายๆเลย เมื่อเรามองการแต่งกาย ไม่ว่าจะชายหรือหญิง จะเห็นว่าวัยรุ่นไทยสมัยใหม่ได้มีการรับเอาวัฒนธรรมการแต่งตัวที่ไม่ค่อยดีงาม ซึ้งมาจากค่านิยมต่างชาติ และซ้ำยังใช้เครื่องมือสื่อสาร เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา แล้วไม่มีกาลเทศะ เล่นผิดที่ผิดเวลาโดยเฉพาะในเวลาเรียน
แล้วส่งผลไปถึงการอ่านหนังสือของเด็กไทย ล่าสุดสถิติการอ่านหนังสือของเด็กไทย อยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากๆ เด็กไทยเริ่มละเลยการอ่านหนังสือ จะอ่านเฉพาะเวลามีสอบ หรือใกล้วันสอบจริงๆ
การใช้เวลาว่างก็ไม่เกิดประโยชน์เมื่อวันหนึ่งๆ วัยรุ่นไทยเราเอาแต่เที่ยว นอน ดูหนัง ฟังเพลง
และยังจับจ่ายใช้สอยในของราคาที่แพง 
วัยรุ่นไทยในยุคปัจจุบันเริ่มรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาปะปนกับวัฒนธรรมประเพณีของไทย ทำให้ประเพณีไทยแท้ๆเริ่มลดลง ควรมีจิตสำนึก คิดอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้มากขึ้น

คนไทยมีวัฒนธรรมอันดีงามและยังมีความสงบสุขมาช้านาน ซึ่งวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทยที่กำลังจะเลือนหายไปก็คือความเป็นกุลสตรีของผู้หญิงไทย ซึ่งเด็กสาววัยรุ่นสมัยนี้แทบจะไม่รู้จักเสียแล้วว่าความเป็นกุลสตรีนั้นเป็นเช่นไร เพราะส่วนมากชอบและติดค่านิยมกันมากจนเกินไป

ยกตัวอย่างที่เห็นกันง่ายและบ่อยๆเลยคือช่วงประเพณีไทยวันลอยกระทงที่ผ่านมาและยังรวมไปถึงแต่ละปี การแต่งตัวของหญิงสาว ชอบนุ่งสั้น สายเดี่ยว ไปลอยกระทง
หรืออีกตัวอย่างคือการเสียความเป็นสาวในวันวาเลนไทน์ ของทุกๆปี

ประเพณีไทย กับ วัยรุ่นสมัยใหม่ จริงๆแล้วไปด้วยกันได้ แต่ต้องมีการปรับความคิดของวัยรุ่นไปในทางที่ดีและถูกต้อง และพวกเขาชอบและยอมรับได้ด้วย
เท่านี้ ประเพณีไทยของเราก็จะมีไว้ให้ลูกหลานต่อไปครับ





**ทีมงานประเพณีไทย++

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

งูกินหางเป็นการละเล่นพื้นเมืองเก่า เล่นกันทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบว่ามีการเล่นงูกินหางกันแล้วในงานตรุษสงกรานต์ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2475 คำว่า “งู” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “a snake” คำว่า “กิน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to eat” และคำว่า “หาง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “a tail” การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือ เลียนแบบลักษณะท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปี และงานรื่นเริงต่างๆ ในสมัยก่อน



วิธีการเล่น "งูกินหาง" มาลงไว้แทน  ถ้าหากผิดพลาดขออภัยด้วย
หรือช่วยทักท้วงด้วยนะครับ

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..









                                           
      พ่องู "แม่งูเอ๋ย  กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อโศกโยกไปโยกมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อหิน บินไปบินมา"
พ่องู "กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว"

การละเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์การเล่น

        หางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน 2 หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ 15 x 15 เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี 6 เมตร


วิธีการเล่น  แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายที่หนึ่งเป็นพ่องูหนึ่งคน  ฝายที่สองเป็นแม่งูหนึ่งคน และเป็นลูกงูไม่จำกัดจำนวนคนโดยลูกงูจะเกาะเอวแม่งูไว้และคนอื่นๆ
ก็เกาะเอวต่อๆ กันไปจนครบตัวผู้เล่น
เมื่อเริ่มเล่น  พ่องูจะถามว่า  "แม่งูเอ๋ย"  แม่งูจะตอบว่า "เอ๋ย"  พ่องูถามต่อว่า "กินน้ำบ่อไหน"  ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อโศก" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "โยกไปก็โยกมา"
พร้อมกับโยกตัวตามไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้าบ่อหิน" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "บินไปก็บินมา" พร้อมกับกางแขนออกทำท่าบินไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อ
ทราย" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "ย้ายไปก็ย้ายมา" พร้อมกับส่ายไปในลักษณะงูเลื้อย  เมื่อถึงตอนท้ายพ่องูจะถามว่า "กินหัวหรือกินหาง"  แม่งูจะตอบว่า "กินกลางตลอดตัว"
พ่องูก็จะไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายสุด  แม่งูก็พยายามกางแขนป้องกันลูกงูเอาไว้  ลูกงูก็จะพยายามวิ่งหนีพ่องู  เมื่อจับลูกงูได้แล้วลูกงูตัวนั้นก็ออกไปนั่งพัก  การเล่นก็จะ
ดำเนินต่อไป จนกว่าพ่องูจะจับลูกงูได้ครบหมดทุกตัว


ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..




วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย การละเล่นรีรีข้าวสาร - รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก...


เล่น รีรีข้าวสาร
การเล่นรีรีข้าวสาร เป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนประเภทหนึ่ง นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น แต่มีกติกาและวิธีการเล่นดังนี้
เวลาเล่นจะแบ่งเป็นสองพวก พวกแรกสองคนยืนจับมือกันสองข้างแล้วชูเหนือหัวคล้ายประตู
อีกพวกกี่คนก็ได้เดินจับตัวกันเป็นแถวแล้วลอดใต้โค้ง เดินวนอ้อมไปด้านหลังสองคนแรก แล้วลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ
ระหว่างเดินทุกคนก็จะร้อง "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"
จบเพลงสองคนที่จับมือเป็นโค้งประตูก็จะกระตุกมือลงอย่างรวดเร็ว กักเอาคนที่อยู่ตรงหน้าไว้
คนที่ถูกกักตัวได้ถือว่าออก ไปตบมือร้องเพลงรีรีข้าวสารเชียร์เพื่อนๆ ลุ้นว่าใครจะออกเป็นคนต่อไป
เล่นไปจนหมดตัวเล่น
รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร


รีรีข้าวสาร


ประโยชน์จากการเล่น

        เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
1. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
2. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้



Clip รีรีข้าวสาร

ตี่จับ ประเพณีไทย ที่เด็กไทยหลายคนชื่นชอบ


เล่น ตี่จับ
การเล่นแบ่งเป็น 2 ฝ่ายจำนวนเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวหรือ "เป้ายิงฉุบ" ว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน
ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยส่งพวกของตนเองหนึ่งคน เป็นคนเข้าไปตี่
คนตี่จะต้องกลั้นหายใจแล้วส่งเสียง "ตี่..." วิ่งเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม
ฝ่ายตรงข้ามต้องคอย จับยึด ดึงตัวคนตี่ไว้ ไม่ให้วิ่งกลับไปเข้าแดนตัวเองได้ จนกว่าคนร้องตี่กลั้นลมหายใจต่อไม่ไหว จะหมดเสียงตี่
คนนั้นต้องตกเป็นเชลย ของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าคนตี่สามารถหนีกลับเข้าแดนตนเองได้
โดยใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะที่เส้นเขตแดน (ส่วนใหญ่จะเป็นเท้า เพราะตัวจะถูกฉุดรัดอยู่)
คนที่กอดรัดดึงตัวคนตี่อยู่ จะกี่คนก็ได้ ต้องไปเป็นเชลยของฝ่ายตี่
ฝ่ายเชลยก็ต้องส่งคนมาช่วย โดยส่งคนมาตี่ เข้าไปช่วยเชลยกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้อง คอยกันไม่ให้แตะกันได้
ถ้าแตะกันได้เชลยก็จะได้กลับแดนของตน เล่นสลับกันไปเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นถูกจับเป็นเชลยหมด ถือว่าแพ้...

ตี่จับ ประเพณีไทย ที่เด็กไทยหลายคนชื่นชอบ

การละเล่นพื้นบ้าน ของเล่นสนุกๆประเพณีไทย การละเล่นหมากเก็บ

ประเพณีไทย การละเล่นหมากเก็บ



หมากเก็บ
จำนวนผู้เล่น 2 - 4 คน
วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้
"ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู" เมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง
บทร้องประกอบ "ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ"


ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีไทย

ท่านมองประเพณีไทยเราเป็นอย่างไร คิดถึงเรื่องอะไร แล้วท่านเข้าใจที่มาที่ไปของประเพณีไทยหรือยัง
จริงๆแล้วจะเอาอะไรมาตัดสินคำว่าประเพณีไทยแท้ๆนั้นยากครับ สรุปมาว่าถูกต้องนะ ไม่ถูกนะ ก็ไม่ได้ทั้งหมด
คนไทยหลายคนยังเข้าใจว่า ประเพณีไทยนั้นเป็นของไทยแท้ๆ หรือหลายคนยังสงสัยอยู่
จริงๆแล้ว ประเพณีไทยเรานั้นได้รับอิทธิพลมาจากหลายชาติครับ เช่น ลาว มาลายู อินเดีย และอื่นๆ
และส่วนมากแล้วล้วนมาจากเรื่องของศาสนานั่นแหละ และคนไทยได้นำมาใช้ในไทยเรา ประยุกต์ให้เข้ากับคนไทย เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก และยังทำกันมายาวนาน สืบทอดกันมาเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น
แล้วเรียกมันว่า ประเพณีไทยนั่นเอง


ประเพณีไทย
ประเพณีไทย

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีทั่วไทย ประเพณีไทย 4 ภาค ฉบับย่อ


ประเพณีไทยภาคเหนือ
 ประเพณีไทยภาคเหนือ
ประเพณีสลากภัตร
พุทธศาสนิกชนทาง
ภาคเหนือเรียกประเพณีสลากภัตรว่า “ทานสลาก” หรือ “กินสลาก” หรือ “ทางก๋วยสลาก” โดยเฉพาะคำว่า “ก๋วย” แปลว่า “ตะกร้า” หรือ “ชะลอม” พิธีดังกล่าวนี้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน 10 แรม 15 ค่ำ เป็นต้นไปจนถึงวันเดือน 11 แรม 8 ค่ำ โดยจัดให้มีขึ้นทุก ๆ วันผลัดเปลี่ยนกันไป
ครั้นในเมื่อวัดจะมีการถวายสลากภัตรกันขึ้นเจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ ก็จะนิมนต์พร้อมกับเชิญชวนไปยังเจ้าอาวาสวัดอื่น ๆ ตลอดทั้งยังได้แจ้งไปให้คณะศรัทธาชาวบ้านให้มาร่วมในงานด้วย เมื่อถึงวันถวาย ก็จะได้เตรียมเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หอม กระเทียบ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ข้าวสาร น้ำตาล และน้ำอ้อย เป็นต้น แล้วต่างก็นำมารวมกันไว้ในบริเวณวัดที่ได้จัดให้มีการถวายสลากภัตร เฉพาะเครื่องไทยทานได้บรรจุลงในรูปสัตว์ต่าง ๆ โดยใช้ไม้จักสาร เช่น ทำเป็นรูปช้าง ม้า วัว ควาย และเสือ เป็นต้น จากนั้นก็ได้นำใบลานหรือใบตาลมาเขียนคำมุทิตา เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เฉพาะใบลานหรือใบตาลที่กล่าวมานี้ ชาวพื้นเมืองพากันเรียกว่า “เส้นสลาก” ก่อนที่จะมีการเส้นสลาก ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย 1 กัณฑ์ ต่อจากนั้นก็มีการผสมรวมเส้นสลากที่มีผู้นำไป แล้วนับจำนวนสลากกับแบ่งสลากให้เท่ากันกับจำนวนพระภิกษุและสามเณร ต่อจากนั้นผู้ทีไปทำบุญในวันนั้น ก็จะพากันออกไปเที่ยวค้นหาเส้นสลากของตนต่อไป เมื่อหาสลากพบแล้วก็จะขอร้องให้พระภิกษุ และสามเณรอ่านข้อความในใบลานนั้นในฟัง ถ้าเป็นสลากของตนก็จะถวายเครื่องไทยทานที่เตรียมมานั้นให้ท่านไป ท่านก็จะสวดมนต์ให้ศีลให้พร

อนึ่ง เฉพาะสลากใหญ่ เรียกว่า “สลากหลวง” ชาวบ้านนิยมและพากันเรียกว่า “สลากโชค” มักจะ ตั้งอยู่กับที่เพราะใหญ่โตมีของมากมาย ประเพณีการทานสลากเป็นประเพณีใหญ่ ที่ต้องใช้เงินและเวลามาในการแต่ง อนึ่งมีบางเมืองในภาคเหนือเช่น ที่อำเภอเมืองลำพูน มีประเพณี “การทานสลากย้อม” ตั้งรวมพิธีอยู่ในประเพณีสลากภัตรด้วย ประเพณีการทานสลากย้อมนี้ นิยมถือกันว่าเป็นหน้าที่ของหญิงสาวโดยเฉพาะ นั่นคือ เมื่อหญิงคนใดมีอายุแตกเนื้อสาวที่สามารถพอจะทำงานหาเงินรวมได้แล้ว พ่อแม่ก็จะแนะนำให้ทราบถึงหน้าที่ของหญิงสาวที่จะพึง ปฏิบัติเป็นเบื้องแรก คือการให้รู้จักเก็บหอมรอมริบด้วยการหาเงินด้วยน้ำพักน้ำแรงรักษาไว้เพื่อทานสลากย้อม หญิงนั้นก็ยังไม่ควรจะแต่งงาน ถ้ามีพิธีทานสลากย้อมแล้ว ถือว่าถ้าแต่งงานไปจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้ โดยหญิงสาวนั้นเริ่มจะมัธยัสถ์เพื่อเตรียมเก็บเงินไว้จนกระทั่งสามารถรวมหาเงินซื้อสร้างคอทองคำ เข็มขัดเงินและเครื่องเรือนจนครบทุกชนิด นอกจากนั้นก็จะมีผลไม้ต่าง ๆ กล้วยก็ใส่ทั้งเครือ มะพร้าวก็ใส่ทั้งทะลาย พร้อมทั้งขนมต่าง ๆ อีกมากมาย เฉพาะ “ต้นสลากย้อม” นั้น นิยมทำสูงประมาณ 5-6 วา แล้วก็จะปักร่มไว้ที่ปลายยอดและตามเชิงชายของร่ม จะห้อยย้อยไปด้วยสร้อยคอและเข็มขัด ตลับเงินและเหรียญเงินประดับประดาอย่างสวยงาม โดยเฉพาะลำดับของสลากย้อมใช้ฟางมัดล้อมรอบ เพื่อง่ายแก่การปักไม้สำหรับแขวนผลไม้และสิ่งของต่าง ๆ ตามแต่เจ้าภาพจะปรารถนา อนึ่งการแต่งสลากย้อมนั้นช่วยกันทำกันร่วมเดือน กระดาษสีที่นำไปแปะติดและประดิษฐ์ก็นับจำนวนหลายร้อยแผ่น กับทั้งต้นสลากย้อมก็จะต้องมีประวัติของเจ้าของสลากย้อมด้วย การเขียนประวัติของเจ้าของสลากย้อมนี้ ต้องไปจ้างคนผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน พื้นเมือง ให้แต่งซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “ครรโลง” หรือ “ค่าว” ผู้แต่งจะบรรยายประวัติของเจ้าของสลากย้อม ด้วยสำนวนลีลาอันไพเราะ นับตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง ในบทครรโลงหรือคำค่าวนี้ ผู้แต่งจะสอดแทรกคติธรรม ตลกขบขันเพื่อให้เกิด รสนิยมแก่เจ้าของสลากย้อมและผู้ฟัง ส่วนท้ายก็จะเป็นคำแผ่นาบุญและอธิฐานที่เจ้าของสลากย้อมตั้งใจไว้ ตอนจบก็ลงด้วยครรโลงธรรมเป็นคติสอนใจ การอ่านครรโลงหรือค่าวขนสลากย้อม นิยมอ่านกันตั้งแต่ 2-3 คน ขึ้นไป ต้องหาคนที่มีเสียงดีไพเราะอ่านแล้วถึงจะน่าฟังมาก ถ้าครรโลงของใครแต่งดี ก็จะมีคนมาอ่านไม่ขาด เป็นที่ เชิดหน้าชูตาแก่ผู้เป็นเจ้าของสลากย้อมยิ่งนัก เมื่อแต่งดาสลากย้อมเสร็จแล้ว ก็จะถึงวันทานสลากภัตร เขาจะช่วยกันหามออกจากบ้านไปสู่วัดที่มีการทานสลากภัตร คือใช้คนหามอย่างน้อย 12 คน การถวายทานสลากย้อมก็จะเหมือนกันกับการถวายสลากภัตรนั่นเองเมื่อสลากย้อมจะได้แก่พระภิกษุรูปใด พระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น ก็จะต้องหาคนมาอ่านครรโลงของเขาให้จบก่อน แล้วจึงจะทำพิธีถวายต้นสลากย้อมแก่ท่าน และพร้อมกับรับศีลรับพรจากท่านก็เป็นอันเสร็จพิธี


ประเพณีไทย ภาคใต้
ประเพณีไทย ภาคใต้

ประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระในภาคใต้ พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณการ คือ “พิธีชักพระบก” และ “พิธีชักพระทางน้ำ” ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับจากโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ก่อนทำพิธีชักพระ 1 วัน ชาวบ้านจะเตรียมทำอาหารเพื่อนำไปใส่บาตร ซึ่งมีภาษาของ ชาวบ้าน เรียกว่า “พิธีใส่บาตรหน้าล้อ” ครั้งรุ่งขึ้นเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านก็จะนำ ข้าวปลาอาหารไปใส่บาตร โดยมีบาตรมาตั้งเรียงรายเป็นแถว ที่ทำพิธีฉลองพระลากของวัดนั้น ๆ ของทำบุญใส่บาตรก็มี “ปัด” คือข้าวเหนียวใส่กะทิ แล้วห่อด้วยยอดใบมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุก หรือคือเป็นข้าวต้มมัดนั่นเอง เพื่อไปทำบุญ อนึ่ง ในจังหวัดปัตตานีได้มีประเพณีทำข้าวต้ม ห่อใบกะพ้อ โดยการเอาข้าวเหนียวซึ่งหุงด้วยน้ำกะทิ แล้วนำมาห่อด้วยใบกะพ้ออ่อน ๆ การห่อ เขาห่อกันเป็นสามมุมแล้วเอาใส่หม้อต้มอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสุกดีแล้ว จึงเตรียมใส่บาตรทำบุญ ต่อไป
พิธีชักพระบก ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัดบางวัดที่ทำพิธีชักพระทางบก โดยมี พระพุทธรูปยืน ซึ่งหล่อด้วยเงินทั้งองค์เป็นประธานในพิธีชัก เมื่อจวนกำหนดวันลากพระ ทางวัด ก็ต้องตระเตรียมเครื่องประโคมต่าง ๆ เช่น ตะโพน กลอง และฆ้อง เป็นต้น
การชักพระบก จะต้องจัดทำบุญบกที่เรียกกันว่า “ร้านม้า” บนไม้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 2 ท่อน และไม้ 2 ท่อนนี้เปรียบเสมือนตัวพญานาค แล้วก็มีหัวนาค 2 หัวอยู่ข้างหน้า ส่วนข้างหลัง ก็ทำเป็นหางนาค โดยเฉพาะบนตัวพญานาคปลูกเป็นร้านขึ้น ให้สูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง เพื่อเป็นร้านรับบุษบก สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแล้วประดับประดาด้วยธงสามเหลี่ยม ด้านละ 3 คัน รอบนอกกั้นด้วยผ้าผืนยาวประมาณ 2-3 เมตร เพื่อให้สวยงาม
สำหรับบุษบกนี้ เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “พนมพระ” รอบ ๆ ร้านที่ยกพื้นนี้มีฝาสาน ด้วยไม้ไผ่ มีลวดลายระบายสีตามลักษณะของการยกดอก ซึ่งปิดทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า ฝาผนัง
บนพื้นร้านมานี้ นอกจากจะรับบุษบกแล้ว ก็ยังใช้เป็นที่วางกลองสำหรับประโคมพร้อมด้วยระฆัง ได้นิมนต์พระภิกษุขึ้นประจำบนบุษบกด้วย ขณะที่ชักพระตัวพญานาค 2 ข้างด้านหน้า ต้องใช้เชือกขนาดใหญ่ ซึ่งวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตรขึ้นไป เพื่อใช้ในการชักพระข้างละเส้น
การที่ใช้เชือกผูกไว้ เป็นที่สำหรับชักพระไปตามสถานที่ ๆ กำหนดไว้ ซึ่งตามปกติ ก็ไม่ห่างไกลเกินควรนัก ในพิธีชักพระนี้ จะมีพุทธศาสนิกชนทุกวัยและทุกรุ่นไปร่วมพิธีกันมาก ทั้งนี้ หวังที่จะได้บุญได้กุศลและสนุกสนานอีกด้วย อนึ่ง ในขณะที่ผู้คนกำลังลากพระอยู่นี้ ก็จะ ตีกลองเร่งจังหวัดในลากเร็วยิ่งขึ้น บางแห่งที่จุดนัดพบของการลากพระไปรวมกันถึง 4-5 วัดก็มี หรือมากกว่านั้น โดยในบางปีก็ได้จัดให้มีการประกวดพนมพระอีกด้วยว่า วัดใดจะได้รับรางวัลชนะเลิศไป เมื่อทำบุญประเพณีในตามที่ที่ชุมนุมพระทางบกของพุทธศาสนิกชน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำพิธีชักพระกลับวัดก็เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีชักพระทางเรือ โดยมากมักจะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำ เช่น ในจังหวัดปัตตานี มีวัดตะเคียนทอง วัดบูรพาราม วัดมัชฌิมาวาส วัดนิยาราม และวัดท่านาว เป็นต้น
ในเรือพระ จะมีพระพุทธรูปสำคัญประดิษฐานอยู่ โดยเฉพาะเรือพระได้ตกแต่งกันไว้ อย่างสวยงามมาก นอกนั้นก็มีเรือของชาวบ้านมาสมทบเข้ากับขบวนแห่ และช่วยกันลากจูงเรือพระแห่ไปสมโภช ที่ย่านกลางชุมนุมชนตามริมฝั่งแม่น้ำ
พิธีการของชักพระก็โดยการใช้เรือลำใหญ่ ๆ เพื่อขนานกันได้ 2-3 ลำ แล้วผูกไม้คาน ให้ติดกันอย่างแข็งแรง เอากระดานปูเป็นพื้นเพื่อตั้งบุษบกหรือพนมพระ ลงบนพื้นนั้น แล้วประดับประดาด้วยธงทิว ประโคมเสียงฆ้อง กลอง ให้อึกกะทึกตลอดเวลา แล้วลากจูงไปตามลำแม่น้ำ เพื่อไปยัง ณ ที่จุดรวมพิธีสมโภช
โดยเฉพาะประเพณีชักพระทางเรือนั้น นับว่าสนุกสนานมากกว่าประเพณีชักพระทางบกมาก ในท้องที่ของอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จุดรวมของพระที่ชักมาก็คือ “หลักหลวงพ่อทุ่งคา” ซึ่งถือว่าเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของเมืองปัตตานีแห่งหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นสถานที่บำบัดโรคและให้โชคลาภแก่ผู้ที่มาทำบุญอีกด้วย
เรือพระที่ทางวัดได้ตกแต่งกันอย่างสวยงามจากหลายวัด ก็จะได้มาชุมนุมกันที่นี่ กับทั้งจะมีเรือของหญิงและของชายอีกหลายลำที่ร่วมขบวนแห่พระ มารวมกันที่ต้นไทรใหญ่ ของลำน้ำยามู เมื่อเรือทุกวัดมาพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็จะทำพิธีใส่บาตรเลี้ยงพระเป็นงานบุญใหญ่ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ก็จะมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย มีการรื่นเริงด้วยการละเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ จนพลบค่ำจึงชักเรือพระกลับวัด
อนึ่ง มีการละเล่นเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน และสามัคคีกันอย่างดียิ่ง กล่าวคือ มีประเพณีการแย่งเรือพระกัน โดยมีชาวหมู่บ้านหนึ่งเตรียมไว้เพื่อ เข้าไปแย่งชิงเรือพระอีกหมู่บ้านหนึ่ง ฝ่ายเจ้าของก็จะเข้าแย่งเรือพระชักกลับ โดยชักกันไปแล้วชักกันมา ฝ่ายใดมีกำลังมากกว่าก็ชักพระลากไปไว้ที่หน้าวัดของตนเพื่อเรียกร้องเอาค่าไถ่หรือรางวัล หากไม่ได้ค่าไถ่หรือรางวัลก็จะไม่ชักลากเรือพระกลับ


ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีผูกเสี่ยว    
ประเพณี"ผูกเสี่ยว"ก็คือ"พิธีบายศรีสู่ขวัญ"นั่นเองเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอิสานคําว่า"ผูกเสี่ยว"หมายถึง"ผูกมิตรภาพ"นั่นเองเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้เลื่อนตําแหน่งในวงราชการและเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนซึ่งในอิสานนั้นเมื่อมีการจัดงานอะไรก็ตาม
มักจะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือพิธีผูกเสี่ยวควบคู่กันไปเป็นการรับขวัญเรียกขวัญของผู้ที่จากบ้านไปไกลด้วยเวลาอันยาวนานหรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้ ให้ขวัญมาอยู่กับเนื้อกับตัวพร้อมกับทําพิธีอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุขให้มีอายุมั่นขวัญยืนพร้อมกันไป

ประเพณีภาคกลาง
ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
ความสำคัญ :เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป
พิธีกรรม :โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้มเผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง(บางหมู่บ้านใช้ผ้าสี ผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย
สาระ :เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น


ประเพณีกำฟ้าเป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนในจังหวัดสิงห์บุรี
ซึ่งถือว่าเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวดาผู้รักษาท้องฟ้า ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อ
สืบต่อกันมาว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากทวยเทพ
ผู้รักษาท้องฟ้าแล้ว เทพยดาอารักษ์ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

"วันกำฟ้า" ของพวกไทยพวนในหมู่บ้านต่างๆ จะถูกจัดขึ้นไม่ตรงกัน  แล้วแต่
ท้องที่ แต่จะถือกันว่าให้จัดขึ้นภายใน 3 เดือน คือเดือนอ้ายขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ และ
เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปีเป็นวัน
กำฟ้า
ในวันแรกของงานคือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 หรือที่เรียกว่า "วันสุกดิบ" นี้ชาวบ้าน
จะช่วยกันทำ "ข้าวปุ้น"หรือ "ขนมจีน" กับทั้งน้ำยาหรือน้ำพริกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำไปทำ
บุญถวายพระที่วัดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง  เพื่อเป็น
การแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ    เปลี่ยนจาก
ข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุน
และเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
พิธีทางสงฆ์ในวันกำฟ้านี้  จะมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น
จากนั้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เรียกกันว่า "อาจารย์" จะแต่งชุดสีขาว ก็จะทำพิธีสวดเบิกบายศรี
บูชาเทวดาพร้อมกับอัญเชิญเทวดาทั่วสารทิศมารับเครื่องสังเวยและดูพิธีกรรม มีการรำขอพร
โดยหญิงสาวภายในหมู่บ้าน เสร็จจากการรำถวายแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับชาวบ้านเมื่อเสร็จจากทำบุญในตอนเช้าแล้ว ตอนบ่ายก็จะร่วมพิธีกรรม
ร่วมกันส่วนในตอนเย็นชาวบ้านก็จะร่วมกันเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ไม้หึ่ม มอญซ่อนผ้า ช่วงรำ
วิ่งวัว(ใช้คนวิ่งเป็นคู่ๆ ผู้คว้าธงแดงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ) ตีไก่ หรือการเล่นแตะหม่าเปย (คล้าย
สะบ้า) กันอย่างสนุกสนาน
และต่อจากนี้ไปอีก 5 วัน  ชาวบ้านก็จะจัดสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานไปถวาย
พระภิกษุที่วัดอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้วก็จะนำเอาฟืนซึ่งกำลังลุกอยู่ในเตาไฟ
ดุ้นหนึ่งไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
บนท้องฟ้าเพื่อจะบันดาลให้ฝนตกลงมา  และในช่วง 7 วันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะคอยฟังเสียงฟ้า
ร้องคำรามว่ามาจากทิศใด  ห่างหรือถี่ขนาดไหนแล้วก็จะทำนายทายทักไปตามทิศนั้นว่าปีนี้
ฝนจะตกมากหรือตกน้อย การทำนาจะได้ผลดีหรือได้ผลน้อย เป็นต้น

ประเพณีไทย

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทศกาลแปลกๆ ประเพณีไทยแปลกที่คุณอาจจะยังไม่เคยได้ยิน

หลายอาจคงจะเคยได้ยินประเพณีไทยกันมากมายแล้ว เช่น ประเพณีลอยกระทง วันสงกรานต์แต่ท่านเคยได้ยินประเพณีหรือเทศกาลด้านล่างนี้หรือไม่ อิอิ
 เทศกาลบุฟเฟต์สำหรับลิง จ.ลพบุรี
โพสรูปภาพ 

เทศกาลแปลกประหลาดที่สุดของสัตว์ไม่ใช่มีเพียงเเต่ของมนุษย์เท่านั้น ที่ลพบุรีของไทยเราเองก็ยังมีการจัดเทศกาลบุฟเฟต์สำหรับลิงกว่า 600 ตัวที่อยู่ในเมืองนี้ เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระรามที่ตบรางวัลให้แห่หนุมานด้วยแผ่นดินที่กลายเป็นเมืองลพบุรี บุฟเฟต์หน้าวัดพระปรางสามยอด ประกอบไปด้วยอาหารผักผลไม้สดๆ หลายร้อยกิโลกรัม พร้อมกับไอติมและเครื่องดื่ม งานนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมในท้องถิ่นซึ่งเต็มใจอย่างยิ่งเพราะกิจกรรม นี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นประจำทุกๆปี
เอ้า ใครเป็นลิงรีบๆเลยนะครับ ฮ่าๆ


ประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง


ประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง

ประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร งานแห่พระแข่งเรือของจังหวัดชุมพร ถือว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน จัดการแข่งขันกันโดยทั่วไป แต่ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากที่อื่นๆ คือ การแข่งขันเรือที่อำเภอหลังสวน ซึ่งไม่ถือเอาเส้นชัยเป็นเกณฑ์การตัดสิน แต่ตัดสินกันที่ธง นายหัวเรือลำใดสามารถคว้าธงที่ทุ่นเส้นชัยได้ก่อน ลำนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ ดังนั้น นอกจากจะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงของฝีพายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของนายท้ายเรือและนายหัวเรืออีกด้วย นายท้ายเรือต้องถือท้ายเรือให้ตรง เพื่อให้นายหัวเรือขึ้นโขนเรือไปชิงธงที่ทุ่นเส้นชัยได้ นายหัวเรือจะต้องกะจังหวะขึ้นโขน ขึ้นไปให้สุดปลายโขน เพื่อความได้เปรียบในการจับธง และคว้าธงให้มั่น ไม่ตกน้ำ แต่ถ้าในกรณีที่นายหัวเรือคว้าธงได้พร้อม ๆ กัน และได้ธงไปลำละท่อนจะถือว่าเสมอกัน งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน เป็นประเพณีเก่าแก่ของอำเภอหลังสวน ซึ่งมีมากว่า100 ปี จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) ของทุกปี ถือกันว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาสู่เมืองสังกัสสะในชมพูทวีป พุทธศาสนิกชนจึงเดินทางไปรับเสด็จเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเดินทางที่สะดวกในสมัยนั้นคือทางน้ำ จึงมีโอกาสพบปะสังสรรค์ซึ่งกันและกัน พระเสด็จ ในอดีตชาวบ้านจะพายเรือลากพระจากวัดต่าง ๆ ตามลำน้ำหลังสวน มารวมกันสมโภชที่วัดด่านประชากร จัดให้มีการตักบาตร ทำบุญทอดกฐิน จากนั้นก็จะมีการแข่งเรือ ซึ่งมีเรือพายเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมาก ฝีพายแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้าแพรวพรรณ หลากสีสวยงาม ร้องเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน ส่วนเรือแข่งขันกันจับคู่แข่งกัน ผู้ชนะก็ได้ผ้าสีไปคล้องหัวเรือเป็นรางวัล ลำไหนได้ผ้าสีมากก็เป็นลำที่ชนะ เมื่อเลิกพายแล้วก็จะนำผ้าแถบเหล่านั้นไปเย็บติดเป็นผ้าม่านถวายวัดต่อไป การแข่งขันเรือพายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ เรือมีความยาวมากขึ้นใช้ฝีพายมากขึ้น และในปี พ.ศ.2482 ได้มีการพายแข่งขันชิงขันน้ำพานรองของ พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมัยนั้น ซึ่งมีเงื่อนไขว่า ต้องชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จึงจะได้ขันน้ำพานรอง ใบนี้เป็นกรรมสิทธิ์ เรือต่าง ๆได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่หลายปีในที่สุดเรือแม่นางสร้อยทอง สังกัดวัดบรรพตวิสัย (วัดในเขา) ก็ได้ขันน้ำพานรองน้ำใบ นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ ปี พ.ศ. 2507 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานโล่รางวัลชนะเลิศ สำหรับการแข่งขันเรือยาวและการประกวดเรือประเภทสวยงาม และในปี พ.ศ. 2522 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลยอดทอง เป็นรางวัลแก่เรือยาวชนะเลิศประเภท ข ปัจจุบันการแข่งเรือดังกล่าว มีระยะเวลาการจัดงานประมาณ 5 วัน บริเวณท่าน้ำหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลหลังสวน มีผู้สนใจเข้าร่วมแข่งขันกันมากมาย ทั้งที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง และที่ห่างไกลออกไป เป็นประเพณีที่ชาวชุมพรภาคภูมิใจ หน่วยงานของรัฐ เอกชน และประชาชนโดยทั่วไปยังคงให้การสนับสนุน ร่วมแรงร่วมใจให้ประเพณีนี้คงอยู่สืบไป


ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท โดยในวันเข้าพรรษาซึ่ง ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปทำบุญตัก บาตรที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เสร็จจากการทำบุญตักบาตรใน ตอนเช้าแล้ว ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ดอกเข้าพรรษา" มี 4 สี คือ สีเหลือง สีขาว สีม่วง และสีส้ม ลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือ ต้นขมิ้น ดอกไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามไหล่เขา และจะมีเฉพาะช่วงเข้าพรรษา เท่านั้น
การตักบาตรดอกไม้จะทำในตอนบ่าย ในขณะที่พระภิกษุอุ้มบาตรเดินขึ้น บันได จะรับดอกไม้จากประชาชนเพื่อนำไปนมัสการรอยพระพุทธบาท หลังจากนั้นก็จะเดินลงมา ตลอดทางจะมีชาวบ้านนำขันน้ำลอยด้วยดอก พิกุล คอยอยู่ตามขั้นบันไดเพื่อล้างเท้าให้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการ ชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป

ประเพณีกำฟ้า


เป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนในจังหวัดสิงห์บุรีซึ่งถือว่าเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวดาผู้รักษาท้องฟ้า ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากทวยเทพ ผู้รักษาท้องฟ้าแล้ว เทพยดาอารักษ์ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
"วันกำฟ้า" ของพวกไทยพวนในหมู่บ้านต่างๆ จะถูกจัดขึ้นไม่ตรงกัน แล้วแต่ท้องที่ แต่จะถือกันว่าให้จัดขึ้นภายใน 3 เดือน คือเดือนอ้ายขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ และเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปีเป็นวันกำฟ้า
ในวันแรกของงานคือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 หรือที่เรียกว่า "วันสุกดิบ" นี้ชาวบ้านจะช่วยกันทำ "ข้าวปุ้น"หรือ "ขนมจีน" กับทั้งน้ำยาหรือน้ำพริกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำ ไปทำบุญถวายพระที่วัดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อเป็นการแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ เปลี่ยนจากข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุน และเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
พิธีทางสงฆ์ในวันกำฟ้านี้ จะมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น จากนั้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เรียกกันว่า "อาจารย์" จะแต่งชุดสีขาว ก็จะทำพิธีสวดเบิกบายศรีบูชาเทวดาพร้อมกับอัญเชิญเทวดาทั่วสารทิศมารับเครื่องสังเวยและดูพิธีกรรม มีการรำขอพรโดยหญิงสาวภายในหมู่บ้าน เสร็จจากการรำถวายแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับชาวบ้านเมื่อเสร็จจากทำบุญในตอนเช้าแล้ว ตอนบ่ายก็จะร่วมพิธีกรรมร่วมกันส่วนในตอนเย็นชาวบ้านก็จะร่วมกันเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ไม้หึ่ม มอญซ่อนผ้า ช่วงรำวิ่งวัว(ใช้คนวิ่งเป็นคู่ๆ ผู้คว้าธงแดงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ) ตีไก่ หรือการเล่นแตะหม่าเปย (คล้ายสะบ้า) กันอย่างสนุกสนาน
และต่อจากนี้ไปอีก 5 วัน ชาวบ้านก็จะจัดสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานไปถวาย พระภิกษุที่วัดอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้วก็จะนำเอาฟืนซึ่งกำลังลุกอยู่ในเตาไฟ ดุ้นหนึ่งไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนท้องฟ้าเพื่อจะบันดาลให้ฝนตกลงมา และในช่วง 7 วันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะคอยฟังเสียงฟ้าร้องคำรามว่ามาจากทิศใด ห่างหรือถี่ขนาดไหนแล้วก็จะทำนายทายทักไปตามทิศนั้นว่าปีนี้ฝนจะตกมากหรือตกน้อย การทำนาจะได้ผลดีหรือได้ผลน้อย เป็นต้น

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง
ประเพณี "ปอยส่างลอง" หรือ "ประเพณีบวชลูกแก้ว" เป็นประเพณีประจำปีของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป
คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ "ปอย"แปลว่างานหรือพิธีการ "ส่าง" หมายถึง สามเณร ส่วน "ลอง" แปลว่า ยังไม่ได้เป็น ฉะนั้น เมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเอง
กระบวนการปอยส่างลอง จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลานอายุครบบวช โดยจะมีการคัดเลือกเจ้าภาพใหญ่ ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็นคหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการ
ส่วนเด็กที่มีอายุครบบวช จะถูกนำตัวไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วัตรปฎิบัติสำหรับการเป็นสามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่ง เป็น 3 วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค) ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรี ขบวนแห่เครื่องไทยทาน เครื่องอัฐบริขาร เทียนเงิน เทียนทอง เป็นต้น ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม และจะขี่คอผู้ช่วยที่เรียกกันว่า "ตาแปส่างลอง" ตลอดการเดินทาง และวันที่สามเป็นวันบรรพชา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ในช่วงวันออกพรรษา นอกจากจะมีการทำบุญแล้ว ชาวอีสานในบางท้องที่ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจะช่วยกันทำปราสาทผึ้งเพื่อนำไปถวายวัดในคุ้มของตน จนกลายมาเป็นงานบุญประเพณีแห่งปราสาทผึ้งขึ้นเพื่อรักษาประเพณีดั้งเดิม โดยการจัดตกแต่งเครื่องสักการะเป็นรูปปราสาททำด้วยขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบ สำคัญ มีการออกแบบลวดลายและประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพราะเชื่อกันว่าในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดานั้น ทวยเทพ มวลมนุษย์ต่างก็จัดเครื่องสักการบูชามารับเสด็จปราสาทผึ้งและเรือไฟก็เป็นเครื่องสักการะในวันนั้นด้วยชาวบ้านจึงได้ทำปราสาทและเรือไฟมาถวายเป็นพุทธบูชาสืบต่อกันมางานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมีขึ้นในหลายจังหวัดในจังหวัดในภาคอีสาน อาทิเช่น ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งที่ อ.เชียงคาน จ.เลย จะจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 เรื่อยไปจนถึงเช้าของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหลังวันออกพรรษาที่จัดให้มีการตักบาตรเทโว
เช้าวันแรก จะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนรถพร้อมกับสาวงามนั่งเป็นเทพประจำขบวน จะเคลื่อนเข้าสู่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานทั้ง 5 วัน เพื่อประกวดประชความงดงามให้ประชาชนได้ชม ในงานวันที่สองจะมีการแข่งเรือยาว หรือที่เรียกว่า "การส่วงเฮือ"จะมีไปจน ถึงวันที่ 3 ของงานซึ่งเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 4 เป็นวันที่คณะกรรมการจัดงานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ตัดสินความงามปราสาทผึ้ง ส่วนในวันที่ 5 พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร แต่ละคุ้มวัดก็จะร่วมกันปล่อยเรือไฟที่ช่วยกันทำให้ไหลไปตามแม่น้ำโขงเพื่อเป็นการบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
ส่วนงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ที่ อ.เมือง จ.สกลนครจะมีขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลาสามวันวันแรกจะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ เคลื่อน ไปยังสระพังทอง เพื่อประกวดและทำการตัดสิน เมื่อทราบผลการประกวดในวันที่สองแล้วจะเคลื่อนขบวนแห่ต่อไปยังองค์พระบรมธาตุเชิงชุมเพื่อถวายสักการะเป็นพุทธบูชาแด่หลวงพ่อองค์แสนและในวันที่สามเมื่อคณะ กรรมการทำพิธีมอบรางวัลให้แก่คุ้มวัดต่างๆ แล้วทั้งขบวนแห่ ผู้เข้าร่วมพิธี พุทธศาสนิกชนก็จะร่วมกันทำพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นการสักการะบูชา
นอกจากนี้ ในวันงานประเพณีจะมีการแข่งขันเรือยาว ฝีพายและมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณ ของอีสาน และมหรสพต่างๆ ให้ชมทุกคืน

ประเพณีงานบุญสลากภัต

ประเพณีงานบุญสลากภัต
ประเพณีสลากภัต เป็นประเพณีทำบุญที่คนในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก เพราะมิใช่ประเพณีใหญ่โตแบบตรุษหรือสารท มักจะทำตามบ้านที่นิยมเลื่อมใส หรือมีสิ่งของพอที่จะรวบรวมมาถวายพระหรือเข้าสลากภัตได้ก็จะจัดพิธีนี้ขึ้น ในทางภาคเหนือจะเรียกพิธีนี้ว่า "ทานก๋วยสลาก" คำว่า "ก๋วย" แปลว่า"ตะกร้า" หรือ "ชะลอม"
"สลากภัต" หมายถึงอาหารที่ทายกถวายพระตามสลาก นับเข้าเป็นเครื่องสังฆทาน ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ในคำสอนนิสสัยว่าเป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งถวายได้ไม่จำกัดกาล สุดแต่ศรัทธาสำหรับในปัจจุบันนิยมทำในฤดูที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ ในระหว่างเดือน 6 จนถึงเดือน 8 เมื่อวัดใดจะจัดให้มีการถวายสลากภัต มัคทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะกำหนดวัดและหาเจ้าภาพด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำใบปิดไปปิดไว้หรือไปประกาศป่าวร้องหาเจ้าภาพร่วมผู้ใดต้องการเป็นเจ้าภาพก็แจ้งชื่อไว้ ครั้นถึงวันกำหนดผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีการเตรียมสำรับกับข้าว และเครื่องไทยทานตามกำลังของตน เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หอม กระเทียม สบู่ แปรงสีฟัน ข้าวสารน้ำตาล และน้ำอ้อย เป็นต้น ต่างก็จะนำมารวมกันไว้ในบริเวณวัด
จากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้า ก็จะนำเบอร์มาติดที่สำรับกับข้าวของเจ้าภาพแต่ละรายแล้ว เขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปฉันสำรับกับข้าวที่เจ้าภาพนำมา ส่วนใหญ่ของที่เตรียมไว้จะพอดีระหว่างเจ้าภาพและพระที่นิมนต์มา ข้อสำคัญในการทำบุญสลากภัตก็คือ เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจงตัวผู้รับเมื่อพระองค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดียินร้ายในผู้รับ ก่อนที่จะมีการเส้นสลาก(จับสลาก)ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย1กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลาก เมื่อพระฉันเสร็จแล้วก็จะอนุโมทนาและให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี

ใครมีประเพณีแปลกๆตามท้องถิ่นหรือเทศกาลที่แปลกใหม่ แนะนำกันเข้ามาได้ครับ
ที่ https://www.facebook.com/siamtradition



วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สังคมไทย ประเพณีไทย กับละครเรื่อง แรงเงา



คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า ละครที่ฮิตมากๆ คือ ละครเรื่อง แรงเงา
คุณคิดว่า เหมาะสมกับสังคมไทยหรือประเพณีไทยที่ดีงามหรือไม่
หลายท่านก็เสนอว่า เป็นละครที่สะท้อนสังคม แต่ค่อนข้างจะแรงไปหน่อย
เห็นด้วยหรือไม่ที่ละครเรื่องนี้ มีเนื้อหาที่รุนแรงและไม่เหมาะสมกับเยาวชนหรือเด็กที่อายุน้อยๆ
ก่อนหน้านี้ก็เกิดเหตุเด็กเลียนแบบละคร จนผูกคอตาย
แต่ละครก็ยังดำเนินต่อไปไม่มีการหยุดหรือปิดแต่อย่างใด
สุดท้ายอยากฝากผู้ใหญ่ให้ดูแลเด็กๆที่เอาแบบอย่างละครในด้านไม่ดีมาทำตามกันนะครับ

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย ก็จะนำผลิตผลของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดไปพร้อมๆ กัน ต่างคนต่างก็ถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน บ้างก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น และจากการที่ชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงามนี่เอง ทำให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายกันขึ้น พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง จัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วัดดอนกลาง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จัดวิ่งควายในวันทอดกฐินประจำปีของวัด










ชื่อ
ประเพณีวิ่งควาย
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด ชลบุรี


ช่วงเวลา ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

พิธีกรรม
ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

สาระ
แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด

ทุกๆปีพอถึงช่วงใกล้วันออกพรรษา จังหวัดชลบุรีจะจัดงานประเพณีวิ่งควายขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน ว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายเป็นจำนวนมาก หรือถ้าถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เจ้าของควายมักจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ ระหว่างที่รอเจ้าของควายจะนำควายของตนไปอาบน้ำที่สระภายในวัด เมื่อต่างคนต่างก็พาควายไปอาบน้ำ จึงเกิดมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานและเพื่อทดสอบความแข็งแรงของควาย เกิดเป็นประเพณีวิ่งควายอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่งควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย จากนั้นเจ้าของควายจะนำควายมาวิ่งแข่งกันโดยเจ้าของเป็นผู้บังคับขี่หลังควายไปด้วย ท่ามกลางกองเชียร์ที่คอยส่งเสียงเชียร์และลุ้นอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะตอนที่คนขี่ตกหลังควายจะได้รับเสียงเฮมากเป็นพิเศษ

ประเพณีวิ่งควาย

     ปัจจุบัน จังหวัดชลบุรี เห็นความสำคัญ และมอบให้เทศบาลเมืองชลบุรี เป็นผู้จัด ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวัดขึ้นทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าศาลา กลางจังหวัดชลบุรี อันเป็นสถานที่กว้างขวาง

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

วันนี้ลองถามเล่นๆ แต่แฝงไปด้วยสาระนะครับ
สมมุติถ้าให้ท่านคิดถึง เกี่ยวกับ ประเพณีไทย สิ่งแรกเลยที่ท่านคิดถึง ท่านได้นึกถึงอะไร
เช่น การละเล่นพื้นบ้านที่เด้กเล่นแทบทุกคนเคยได้เล่น และชอบมาก
หรือ วันสงกรานต์ที่มีการสาดน้ำและเย็นทั่วเมืองไทยเราพร้อมด้วยชาวต่างชาติที่หลงใหลในความเป็นไทย หรือวันลอยกระทงของเหล่าหนุ่มสาวที่ทำให้คิดถึง ความสวยงามของกระทงที่ลอยอยู่ในสระน้ำ
หรือแม้แต่การแต่งกายของคนไทยที่เรียบง่าย และผ้าที่สวยไม่แพ้ชาติใดในโลก
และอื่นๆ
สำหรับผมแล้วคิดถึง คนไทยที่มีความภาคภูมิในในประเพณีของตนและชาวต่างชาติยังให้การยอมรับ
และชอบในวัฒนธรรมไทยและประเพณีของไทยเราอีกมากมาย
แล้วท่านคิดว่า ความหมายของประเพณีไทย คืออะไร หลายคนพอทราบแต่ไม่สามารถที่อธิบายได้ออกมาเป็นคำที่สระสรวยสวยงาม
แล้วท่านรู้ไหมว่าแต่ละปีของเรา มีงานประเพณีหรือเทศกาลใดบ้างในแต่ละเดือน
หาความรู้ได้ที่
http://siamtradition.blogspot.com/p/blog-page_7344.html

วันนี้หวังว่าหลายคนคงจะได้รับความรู้ไปมาก เราในฐานะคนไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยเราให้เป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก

มีวีดีโอที่อยากให้คนไทยทุกคนดู






วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่สร้างชื่อดังไกลทั่วโลก

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ" 

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับ วันสงกรานต์2555 ปีนี้ ประเพณีรดน้ำดำหัว ของไทยที่โด่งดังไกลทั่วโลกเลยทีเดียว และวันนี้เรามี ประวัติวันสงกรานต์ ฉบับภาษอังกฤษ มาให้ทุกท่านได้ชมและได้รู้กันเลยว่า ประเพณีสงกรานต์ อันยิ่งใหญ่ของไทยนั้นมีค่า และควรรู้รักษาไว้มากแค่ไหน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สงกรานต์2555 ปีนี้คงไม่มีเรื่องฉาว อย่างเช่น สงกรานต์ สีลม หรือ สงกรานต์ โหด เหมือนที่เคยเกิดมาทุกปีเลย

Thailand Songkran or Water Festival is considered the traditional Thai New Year and is famous for its grand water fighting festival. Every year and across the country, Songkran will be held around the middle of April (13-15th), the hottest month of the year, when the Water Festival is held to cool off the heat

ภาพ:Songkarn_20.jpg

ภาพ:Songkarn_11.jpg

ภาพ:Songkarn_6.jpg

ภาพ:Songkarn_5.jpg

ภาพ:Songkarn_7.jpg


ภาพ:Songkarn_8.jpg

ภาพ:Songkarn_10.jpg

วันสงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ



สงกรานต์ตามคตินิยมโบราณ นิยมสรงน้ำพระและผู้อาวุโสอันเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู เพื่อความเป็นสิริมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย บ้านเรา

ประเพณีไทย เราคนไทยภูมิใจในความเป็นไทย

ประเพณีไทย ลอยกระทง
ตัวอย่างประเพณีลอยกระทง
เป็นที่รู้กันดีว่า ประเพณีไทยเรามีหลากหลาย และทั้งยังเป็นหน้าเป็นตาให้กับเมืองไทยเรามานาน เราซึ้งเป็นคนไทย ควรอนุรักษ์ประเพณีของเราไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และทราบถึงความเป็นมาของวัฒนธรรมไทยเราด้วย 
บล็อกนี้จะแสดงข้อมูลประเพณีไทย และยังเผยแพร่เกี่ยวกับประเพณีไทยไว้เพื่อเป็นความรู้ สาระแก่ผู้ที่สนใจและต้องการข้อมูลในส่วนนี้
อีกทั้งยังเป็น แหล่งเผยแพร่เกี่ยวกับประเพณีไทย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงประเพณีไทยทั้ง 4 ภาค เช่น ประเพณีภาคอีสาน ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคใต้ ประเพณีภาคกลาง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง