แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การละเล่น แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การละเล่น แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

งูกินหางเป็นการละเล่นพื้นเมืองเก่า เล่นกันทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบว่ามีการเล่นงูกินหางกันแล้วในงานตรุษสงกรานต์ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2475 คำว่า “งู” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “a snake” คำว่า “กิน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to eat” และคำว่า “หาง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “a tail” การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือ เลียนแบบลักษณะท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปี และงานรื่นเริงต่างๆ ในสมัยก่อน



วิธีการเล่น "งูกินหาง" มาลงไว้แทน  ถ้าหากผิดพลาดขออภัยด้วย
หรือช่วยทักท้วงด้วยนะครับ

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..









                                           
      พ่องู "แม่งูเอ๋ย  กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อโศกโยกไปโยกมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อหิน บินไปบินมา"
พ่องู "กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว"

การละเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์การเล่น

        หางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน 2 หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ 15 x 15 เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี 6 เมตร


วิธีการเล่น  แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายที่หนึ่งเป็นพ่องูหนึ่งคน  ฝายที่สองเป็นแม่งูหนึ่งคน และเป็นลูกงูไม่จำกัดจำนวนคนโดยลูกงูจะเกาะเอวแม่งูไว้และคนอื่นๆ
ก็เกาะเอวต่อๆ กันไปจนครบตัวผู้เล่น
เมื่อเริ่มเล่น  พ่องูจะถามว่า  "แม่งูเอ๋ย"  แม่งูจะตอบว่า "เอ๋ย"  พ่องูถามต่อว่า "กินน้ำบ่อไหน"  ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อโศก" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "โยกไปก็โยกมา"
พร้อมกับโยกตัวตามไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้าบ่อหิน" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "บินไปก็บินมา" พร้อมกับกางแขนออกทำท่าบินไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อ
ทราย" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "ย้ายไปก็ย้ายมา" พร้อมกับส่ายไปในลักษณะงูเลื้อย  เมื่อถึงตอนท้ายพ่องูจะถามว่า "กินหัวหรือกินหาง"  แม่งูจะตอบว่า "กินกลางตลอดตัว"
พ่องูก็จะไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายสุด  แม่งูก็พยายามกางแขนป้องกันลูกงูเอาไว้  ลูกงูก็จะพยายามวิ่งหนีพ่องู  เมื่อจับลูกงูได้แล้วลูกงูตัวนั้นก็ออกไปนั่งพัก  การเล่นก็จะ
ดำเนินต่อไป จนกว่าพ่องูจะจับลูกงูได้ครบหมดทุกตัว


ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..




วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การละเล่นเด็กไทย ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มาทำไม....

ตะล๊อกต๊อกแต๊ก
ตะล๊อกต๊อกแต๊ก

เด็กๆ ชั้นประถมต้นสมัยก่อน พอกินข้าวกลางวันเสร็จ ก็มักรวมกลุ่มกันเล่น รอเวลาเข้าเรียนตอนบ่าย มีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ตะล๊อกต๊อกแต๊ก” คนเล่นจะมีมากเท่าใดก็ได้
แต่ต้องไปยืนรวมกลุ่มกันบนพื้นดินที่ขีดเป็นรูปคล้ายขวด มีตัว “ผี” ทำทีมายืนรอตรงปากขวด แล้วเริ่มเคาะประตู (ทำเสียงเคาะ) “ตะล๊อกต๊อกแต๊ก” (คนในขวดถาม) “มาทำไม” (ผีตอบ) “มาซื้อดอกไม้” (คนในขวดถาม) “ดอกอะไร” (ผีตอบ) “ดอก ฯลฯ” ตอนนี้ก็จะโต้ตอบกันไปเรื่อยๆ โดยฝ่ายคนจะตอบว่าไม่มีดอกที่ถาม แต่ถ้าเกิดมีขึ้นมา (ตรงนี้ไม่แน่ชัดว่ากำหนดกันอย่างไร) ฝ่ายคนก็จะต้องไปเปิดประตู เมื่อต่างฝ่ายพบกันแล้ว ฝ่ายคนจะเริ่มตั้งข้อสงสัยทำนองว่า “ทำไมเล็บยาว, ทำไมแต่งชุดขาว, ทำไมผมยาว, ทำไมมีเขี้ยว” เป็นต้น ซึ่งผีจะตอบได้ทั้งสิ้น แต่ครั้นคำถามสุดท้ายถามว่า “ทำไมตาโบ๋” ผีจะตอบไม่ได้ และจะแสดงตัวทันทีโดยพูดด้วยน้ำเสียงเย็นๆ ว่า “เพราะฉัน..เ..ป็…น……ผี !”
ตอนนี้ฝ่ายคนจะแตกฮือออกจากพื้นที่รูปขวด โดยมีผีวิ่งไล่กวดไปติดๆ แต่ละคนต้องพยายามกลับเข้าทางรูปากขวดให้ได้ เมื่อกลับเข้าได้ครบก็เป็นอันจบรอบการเล่น แต่หากผีคว้าจับใครได้ คนนั้นก็จะต้องมาเล่นเป็นผีแทนในรอบหน้า โดยมาก ผีจะหมายตาไว้อยู่แล้วว่าจะจับคนที่วิ่งช้ากว่าเพื่อน ซึ่งคนคนนั้นก็ยังพอมีทางรอดได้ (แต่เอาเปรียบเพื่อนๆ หน่อย) คือเมื่อจวนตัว ก็ให้วิ่งชนเข้าไปที่ขวด (คือไม่เข้าทางรูปากขวด) ให้ขวดแตก เพื่อนๆ ที่เข้าไปรออยู่ในนั้นก็ต้องออกมาวิ่งหนีผีกันใหม่ และต้องพยายามเข้าไปทางรูปากขวดอีกครั้ง เรียกว่าใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจให้ผีไปเลือกจับคนอื่นๆ บ้างนั่นเอง

ตะล๊อกต๊อกแต๊กนี้ เล่นได้ทั้งเด็กชายเด็กหญิง และยังพบว่ามีเล่นกันตามโรงเรียนประถมในต่างจังหวัดอยู่
 (ชวิน ถวัลย์ภิยโย, ลูกหลานชาวพัทลุง, เมษายน ๒๕๔๘)

ตะลอกต๊อกแต๊ก  มาทำไม
                             มาซื้อดอกไม้
                             ดอกอะไร
                             ดอกจำปี    ไม่มี
                             ดอกจำปา  ไม่มา
ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มาทำไม.


ประเพณีไทย การละเล่นรีรีข้าวสาร - รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก...


เล่น รีรีข้าวสาร
การเล่นรีรีข้าวสาร เป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนประเภทหนึ่ง นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น แต่มีกติกาและวิธีการเล่นดังนี้
เวลาเล่นจะแบ่งเป็นสองพวก พวกแรกสองคนยืนจับมือกันสองข้างแล้วชูเหนือหัวคล้ายประตู
อีกพวกกี่คนก็ได้เดินจับตัวกันเป็นแถวแล้วลอดใต้โค้ง เดินวนอ้อมไปด้านหลังสองคนแรก แล้วลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ
ระหว่างเดินทุกคนก็จะร้อง "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"
จบเพลงสองคนที่จับมือเป็นโค้งประตูก็จะกระตุกมือลงอย่างรวดเร็ว กักเอาคนที่อยู่ตรงหน้าไว้
คนที่ถูกกักตัวได้ถือว่าออก ไปตบมือร้องเพลงรีรีข้าวสารเชียร์เพื่อนๆ ลุ้นว่าใครจะออกเป็นคนต่อไป
เล่นไปจนหมดตัวเล่น
รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร


รีรีข้าวสาร


ประโยชน์จากการเล่น

        เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
1. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
2. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้



Clip รีรีข้าวสาร