วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทศกาลแปลกๆ ประเพณีไทยแปลกที่คุณอาจจะยังไม่เคยได้ยิน

หลายอาจคงจะเคยได้ยินประเพณีไทยกันมากมายแล้ว เช่น ประเพณีลอยกระทง วันสงกรานต์แต่ท่านเคยได้ยินประเพณีหรือเทศกาลด้านล่างนี้หรือไม่ อิอิ
 เทศกาลบุฟเฟต์สำหรับลิง จ.ลพบุรี
โพสรูปภาพ 

เทศกาลแปลกประหลาดที่สุดของสัตว์ไม่ใช่มีเพียงเเต่ของมนุษย์เท่านั้น ที่ลพบุรีของไทยเราเองก็ยังมีการจัดเทศกาลบุฟเฟต์สำหรับลิงกว่า 600 ตัวที่อยู่ในเมืองนี้ เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระรามที่ตบรางวัลให้แห่หนุมานด้วยแผ่นดินที่กลายเป็นเมืองลพบุรี บุฟเฟต์หน้าวัดพระปรางสามยอด ประกอบไปด้วยอาหารผักผลไม้สดๆ หลายร้อยกิโลกรัม พร้อมกับไอติมและเครื่องดื่ม งานนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมในท้องถิ่นซึ่งเต็มใจอย่างยิ่งเพราะกิจกรรม นี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยือนเป็นประจำทุกๆปี
เอ้า ใครเป็นลิงรีบๆเลยนะครับ ฮ่าๆ


ประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง


ประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง

ประเพณีแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร งานแห่พระแข่งเรือของจังหวัดชุมพร ถือว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน จัดการแข่งขันกันโดยทั่วไป แต่ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากที่อื่นๆ คือ การแข่งขันเรือที่อำเภอหลังสวน ซึ่งไม่ถือเอาเส้นชัยเป็นเกณฑ์การตัดสิน แต่ตัดสินกันที่ธง นายหัวเรือลำใดสามารถคว้าธงที่ทุ่นเส้นชัยได้ก่อน ลำนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ ดังนั้น นอกจากจะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงของฝีพายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของนายท้ายเรือและนายหัวเรืออีกด้วย นายท้ายเรือต้องถือท้ายเรือให้ตรง เพื่อให้นายหัวเรือขึ้นโขนเรือไปชิงธงที่ทุ่นเส้นชัยได้ นายหัวเรือจะต้องกะจังหวะขึ้นโขน ขึ้นไปให้สุดปลายโขน เพื่อความได้เปรียบในการจับธง และคว้าธงให้มั่น ไม่ตกน้ำ แต่ถ้าในกรณีที่นายหัวเรือคว้าธงได้พร้อม ๆ กัน และได้ธงไปลำละท่อนจะถือว่าเสมอกัน งานประเพณีแห่พระแข่งเรือ อำเภอหลังสวน เป็นประเพณีเก่าแก่ของอำเภอหลังสวน ซึ่งมีมากว่า100 ปี จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) ของทุกปี ถือกันว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาสู่เมืองสังกัสสะในชมพูทวีป พุทธศาสนิกชนจึงเดินทางไปรับเสด็จเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเดินทางที่สะดวกในสมัยนั้นคือทางน้ำ จึงมีโอกาสพบปะสังสรรค์ซึ่งกันและกัน พระเสด็จ ในอดีตชาวบ้านจะพายเรือลากพระจากวัดต่าง ๆ ตามลำน้ำหลังสวน มารวมกันสมโภชที่วัดด่านประชากร จัดให้มีการตักบาตร ทำบุญทอดกฐิน จากนั้นก็จะมีการแข่งเรือ ซึ่งมีเรือพายเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมาก ฝีพายแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้าแพรวพรรณ หลากสีสวยงาม ร้องเพลงเรือเป็นที่สนุกสนาน ส่วนเรือแข่งขันกันจับคู่แข่งกัน ผู้ชนะก็ได้ผ้าสีไปคล้องหัวเรือเป็นรางวัล ลำไหนได้ผ้าสีมากก็เป็นลำที่ชนะ เมื่อเลิกพายแล้วก็จะนำผ้าแถบเหล่านั้นไปเย็บติดเป็นผ้าม่านถวายวัดต่อไป การแข่งขันเรือพายได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ เรือมีความยาวมากขึ้นใช้ฝีพายมากขึ้น และในปี พ.ศ.2482 ได้มีการพายแข่งขันชิงขันน้ำพานรองของ พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมัยนั้น ซึ่งมีเงื่อนไขว่า ต้องชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จึงจะได้ขันน้ำพานรอง ใบนี้เป็นกรรมสิทธิ์ เรือต่าง ๆได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอยู่หลายปีในที่สุดเรือแม่นางสร้อยทอง สังกัดวัดบรรพตวิสัย (วัดในเขา) ก็ได้ขันน้ำพานรองน้ำใบ นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ ปี พ.ศ. 2507 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานโล่รางวัลชนะเลิศ สำหรับการแข่งขันเรือยาวและการประกวดเรือประเภทสวยงาม และในปี พ.ศ. 2522 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลยอดทอง เป็นรางวัลแก่เรือยาวชนะเลิศประเภท ข ปัจจุบันการแข่งเรือดังกล่าว มีระยะเวลาการจัดงานประมาณ 5 วัน บริเวณท่าน้ำหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลหลังสวน มีผู้สนใจเข้าร่วมแข่งขันกันมากมาย ทั้งที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง และที่ห่างไกลออกไป เป็นประเพณีที่ชาวชุมพรภาคภูมิใจ หน่วยงานของรัฐ เอกชน และประชาชนโดยทั่วไปยังคงให้การสนับสนุน ร่วมแรงร่วมใจให้ประเพณีนี้คงอยู่สืบไป


ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท โดยในวันเข้าพรรษาซึ่ง ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปทำบุญตัก บาตรที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เสร็จจากการทำบุญตักบาตรใน ตอนเช้าแล้ว ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ดอกเข้าพรรษา" มี 4 สี คือ สีเหลือง สีขาว สีม่วง และสีส้ม ลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือ ต้นขมิ้น ดอกไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามไหล่เขา และจะมีเฉพาะช่วงเข้าพรรษา เท่านั้น
การตักบาตรดอกไม้จะทำในตอนบ่าย ในขณะที่พระภิกษุอุ้มบาตรเดินขึ้น บันได จะรับดอกไม้จากประชาชนเพื่อนำไปนมัสการรอยพระพุทธบาท หลังจากนั้นก็จะเดินลงมา ตลอดทางจะมีชาวบ้านนำขันน้ำลอยด้วยดอก พิกุล คอยอยู่ตามขั้นบันไดเพื่อล้างเท้าให้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการ ชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป

ประเพณีกำฟ้า


เป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนในจังหวัดสิงห์บุรีซึ่งถือว่าเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวดาผู้รักษาท้องฟ้า ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากทวยเทพ ผู้รักษาท้องฟ้าแล้ว เทพยดาอารักษ์ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
"วันกำฟ้า" ของพวกไทยพวนในหมู่บ้านต่างๆ จะถูกจัดขึ้นไม่ตรงกัน แล้วแต่ท้องที่ แต่จะถือกันว่าให้จัดขึ้นภายใน 3 เดือน คือเดือนอ้ายขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ และเดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปีเป็นวันกำฟ้า
ในวันแรกของงานคือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 หรือที่เรียกว่า "วันสุกดิบ" นี้ชาวบ้านจะช่วยกันทำ "ข้าวปุ้น"หรือ "ขนมจีน" กับทั้งน้ำยาหรือน้ำพริกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำ ไปทำบุญถวายพระที่วัดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อเป็นการแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ เปลี่ยนจากข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุน และเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
พิธีทางสงฆ์ในวันกำฟ้านี้ จะมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น จากนั้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เรียกกันว่า "อาจารย์" จะแต่งชุดสีขาว ก็จะทำพิธีสวดเบิกบายศรีบูชาเทวดาพร้อมกับอัญเชิญเทวดาทั่วสารทิศมารับเครื่องสังเวยและดูพิธีกรรม มีการรำขอพรโดยหญิงสาวภายในหมู่บ้าน เสร็จจากการรำถวายแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับชาวบ้านเมื่อเสร็จจากทำบุญในตอนเช้าแล้ว ตอนบ่ายก็จะร่วมพิธีกรรมร่วมกันส่วนในตอนเย็นชาวบ้านก็จะร่วมกันเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ไม้หึ่ม มอญซ่อนผ้า ช่วงรำวิ่งวัว(ใช้คนวิ่งเป็นคู่ๆ ผู้คว้าธงแดงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ) ตีไก่ หรือการเล่นแตะหม่าเปย (คล้ายสะบ้า) กันอย่างสนุกสนาน
และต่อจากนี้ไปอีก 5 วัน ชาวบ้านก็จะจัดสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานไปถวาย พระภิกษุที่วัดอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้วก็จะนำเอาฟืนซึ่งกำลังลุกอยู่ในเตาไฟ ดุ้นหนึ่งไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนท้องฟ้าเพื่อจะบันดาลให้ฝนตกลงมา และในช่วง 7 วันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะคอยฟังเสียงฟ้าร้องคำรามว่ามาจากทิศใด ห่างหรือถี่ขนาดไหนแล้วก็จะทำนายทายทักไปตามทิศนั้นว่าปีนี้ฝนจะตกมากหรือตกน้อย การทำนาจะได้ผลดีหรือได้ผลน้อย เป็นต้น

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง
ประเพณี "ปอยส่างลอง" หรือ "ประเพณีบวชลูกแก้ว" เป็นประเพณีประจำปีของชาวไตหรือไทยใหญ่เกือบทั้งหมดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีนี้เป็นการนำเด็กชายที่มีอายุครบบวชเข้าบรรพชาเป็นสามเณร เพื่อกล่อมเกลาให้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีต่อไป
คำว่า "ปอยส่างลอง" เป็นภาษาไทยใหญ่ ซึ่งสามารถแยกศัพท์ออกได้คือ "ปอย"แปลว่างานหรือพิธีการ "ส่าง" หมายถึง สามเณร ส่วน "ลอง" แปลว่า ยังไม่ได้เป็น ฉะนั้น เมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงพิธีการเตรียมตัวเป็นสามเณรนั่นเอง
กระบวนการปอยส่างลอง จะเริ่มขึ้นเมื่อมีการชักชวนกันของชาวบ้านที่มีลูกหลานอายุครบบวช โดยจะมีการคัดเลือกเจ้าภาพใหญ่ ซึ่งจะเป็นแม่งานในการจัดงาน ซึ่งมักจะเป็นคหบดีหรือผู้กว้างขวางในสังคมโดยเจ้าภาพจะมีหน้าที่ในการร่วมกันกำหนดขั้นตอนของพิธีการ
ส่วนเด็กที่มีอายุครบบวช จะถูกนำตัวไปอยู่วัดเพื่อเรียนรู้วัตรปฎิบัติสำหรับการเป็นสามเณรก่อนพิธีการประมาณ 20 วัน ส่วนผู้ใหญ่ก็จะวางกำหนดการวันประกอบพิธีซึ่งจะแบ่ง เป็น 3 วัน วันรับส่างลองไปฝึกวัตรปฏิบัติที่วัดกลับมาประกอบพิธีที่บ้านเจ้าภาพ วันที่สองเป็นวันแห่เครื่องไทยทานและเรียกขวัญส่างลอง (คล้ายๆ กับการทำขวัญนาค) ซึ่งจะประกอบด้วยขบวนแห่ฟ้อนรำแบบไทยใหญ่ขบวนมโหรี ขบวนแห่เครื่องไทยทาน เครื่องอัฐบริขาร เทียนเงิน เทียนทอง เป็นต้น ซึ่งส่างลองจะถูกตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม และจะขี่คอผู้ช่วยที่เรียกกันว่า "ตาแปส่างลอง" ตลอดการเดินทาง และวันที่สามเป็นวันบรรพชา ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากการบรรพชาในส่วนอื่นๆ ของประเทศเท่าใดนัก

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ในช่วงวันออกพรรษา นอกจากจะมีการทำบุญแล้ว ชาวอีสานในบางท้องที่ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจะช่วยกันทำปราสาทผึ้งเพื่อนำไปถวายวัดในคุ้มของตน จนกลายมาเป็นงานบุญประเพณีแห่งปราสาทผึ้งขึ้นเพื่อรักษาประเพณีดั้งเดิม โดยการจัดตกแต่งเครื่องสักการะเป็นรูปปราสาททำด้วยขี้ผึ้งเป็นส่วนประกอบ สำคัญ มีการออกแบบลวดลายและประดับประดาอย่างวิจิตรพิสดารเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เพราะเชื่อกันว่าในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดานั้น ทวยเทพ มวลมนุษย์ต่างก็จัดเครื่องสักการบูชามารับเสด็จปราสาทผึ้งและเรือไฟก็เป็นเครื่องสักการะในวันนั้นด้วยชาวบ้านจึงได้ทำปราสาทและเรือไฟมาถวายเป็นพุทธบูชาสืบต่อกันมางานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งมีขึ้นในหลายจังหวัดในจังหวัดในภาคอีสาน อาทิเช่น ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งที่ อ.เชียงคาน จ.เลย จะจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 เรื่อยไปจนถึงเช้าของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหลังวันออกพรรษาที่จัดให้มีการตักบาตรเทโว
เช้าวันแรก จะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนรถพร้อมกับสาวงามนั่งเป็นเทพประจำขบวน จะเคลื่อนเข้าสู่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานทั้ง 5 วัน เพื่อประกวดประชความงดงามให้ประชาชนได้ชม ในงานวันที่สองจะมีการแข่งเรือยาว หรือที่เรียกว่า "การส่วงเฮือ"จะมีไปจน ถึงวันที่ 3 ของงานซึ่งเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศวันที่ 4 เป็นวันที่คณะกรรมการจัดงานจะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ตัดสินความงามปราสาทผึ้ง ส่วนในวันที่ 5 พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร แต่ละคุ้มวัดก็จะร่วมกันปล่อยเรือไฟที่ช่วยกันทำให้ไหลไปตามแม่น้ำโขงเพื่อเป็นการบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
ส่วนงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ที่ อ.เมือง จ.สกลนครจะมีขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นเวลาสามวันวันแรกจะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งของคุ้มวัดต่างๆ เคลื่อน ไปยังสระพังทอง เพื่อประกวดและทำการตัดสิน เมื่อทราบผลการประกวดในวันที่สองแล้วจะเคลื่อนขบวนแห่ต่อไปยังองค์พระบรมธาตุเชิงชุมเพื่อถวายสักการะเป็นพุทธบูชาแด่หลวงพ่อองค์แสนและในวันที่สามเมื่อคณะ กรรมการทำพิธีมอบรางวัลให้แก่คุ้มวัดต่างๆ แล้วทั้งขบวนแห่ ผู้เข้าร่วมพิธี พุทธศาสนิกชนก็จะร่วมกันทำพิธีเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นการสักการะบูชา
นอกจากนี้ ในวันงานประเพณีจะมีการแข่งขันเรือยาว ฝีพายและมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณ ของอีสาน และมหรสพต่างๆ ให้ชมทุกคืน

ประเพณีงานบุญสลากภัต

ประเพณีงานบุญสลากภัต
ประเพณีสลากภัต เป็นประเพณีทำบุญที่คนในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก เพราะมิใช่ประเพณีใหญ่โตแบบตรุษหรือสารท มักจะทำตามบ้านที่นิยมเลื่อมใส หรือมีสิ่งของพอที่จะรวบรวมมาถวายพระหรือเข้าสลากภัตได้ก็จะจัดพิธีนี้ขึ้น ในทางภาคเหนือจะเรียกพิธีนี้ว่า "ทานก๋วยสลาก" คำว่า "ก๋วย" แปลว่า"ตะกร้า" หรือ "ชะลอม"
"สลากภัต" หมายถึงอาหารที่ทายกถวายพระตามสลาก นับเข้าเป็นเครื่องสังฆทาน ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้ในคำสอนนิสสัยว่าเป็นอดิเรกลาภส่วนหนึ่งถวายได้ไม่จำกัดกาล สุดแต่ศรัทธาสำหรับในปัจจุบันนิยมทำในฤดูที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ ในระหว่างเดือน 6 จนถึงเดือน 8 เมื่อวัดใดจะจัดให้มีการถวายสลากภัต มัคทายกผู้เป็นหัวหน้าก็จะกำหนดวัดและหาเจ้าภาพด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำใบปิดไปปิดไว้หรือไปประกาศป่าวร้องหาเจ้าภาพร่วมผู้ใดต้องการเป็นเจ้าภาพก็แจ้งชื่อไว้ ครั้นถึงวันกำหนดผู้เป็นเจ้าภาพก็จะมีการเตรียมสำรับกับข้าว และเครื่องไทยทานตามกำลังของตน เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หอม กระเทียม สบู่ แปรงสีฟัน ข้าวสารน้ำตาล และน้ำอ้อย เป็นต้น ต่างก็จะนำมารวมกันไว้ในบริเวณวัด
จากนั้นทายกผู้เป็นหัวหน้า ก็จะนำเบอร์มาติดที่สำรับกับข้าวของเจ้าภาพแต่ละรายแล้ว เขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปฉันสำรับกับข้าวที่เจ้าภาพนำมา ส่วนใหญ่ของที่เตรียมไว้จะพอดีระหว่างเจ้าภาพและพระที่นิมนต์มา ข้อสำคัญในการทำบุญสลากภัตก็คือ เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจงตัวผู้รับเมื่อพระองค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดียินร้ายในผู้รับ ก่อนที่จะมีการเส้นสลาก(จับสลาก)ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย1กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลาก เมื่อพระฉันเสร็จแล้วก็จะอนุโมทนาและให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี

ใครมีประเพณีแปลกๆตามท้องถิ่นหรือเทศกาลที่แปลกใหม่ แนะนำกันเข้ามาได้ครับ
ที่ https://www.facebook.com/siamtradition



ลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีไทยดีๆที่กำลังจะไม่มีอีกแล้ว


ลงแขกเกี่ยวข้าว
ลงแขกเกี่ยวข้าว ในที่สุดก็มาถึงจุดจบ เมื่อเกษตกรหันมาใช้เครื่องจักรแทนการทำงาน หรือใช้รถเกี่ยวจ้างเกี่ยวข้าวนั่นเอง ซึ้งการทำนาจึงเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ความสะดวกสบาย ลืมวิถีเก่าๆที่เคยทำมา แต่นมนาน ทำให้การทำนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
ลงแขกเกี่ยวข้าว ที่เราเคยได้ยินเมื่อวานหรือหลายคนอาจยังเกิดทันสมัยตอนที่ช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว ช่วยกันอย่างเป็นพี่เป็นน้องและมีน้ำใจ ภาพนั้นคนรุ่นต่อๆไป คงไม่เคยเห็น หรือร้ายกว่านั้น คือไม่เคยได้ยินหรือรู้จักมันเลย
ผมคนหนึ่งครับที่เป็นลูกชาวนา เห็นพ่อแม่ทำนามาตั้งแต่เกิด และมีประสบการณ์ในการช่วยเกี่ยวข้าวเช่นเดียวกัน โดยการใช้เคียวเล็กๆที่พ่อ หามาให้ อยากจะบอกว่า ผมเกี่ยวได้ไปสุดนาคนแรกเลย
ดีใจมาก แต่พ่อตะโกนมาบอกว่า ไอ้นายๆ ทำไมเอ็งเกี่ยวอย่างนั้นละ อิอิ
เพราะผมเกี่ยวความกว้างแค่ผมพอที่จะเดินต่อไปได้ สักประมาณ 1 เมตร ยาวไปจนสุดปลายนา ห้าๆๆๆๆ
แต่พ่อแม่ผมเกี่ยวแบบกว้างๆ ค่อยๆเกี่ยวไปเรื่อยๆ ซึ้งมันตรงข้ามกับผมเลย แต่พ่อแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ
แค่เห็นลูกช่วยแกก็ดีใจแล้ว
ความทรงจำสมัยเด็กๆ ยังจำได้เสมอ ว่าได้ไปนอนที่นาตอนกลางวัน พ่อแม่ และคนบ้านใกล้เรือนเคียงมาช่วยเกี่ยวข้าว ลงแขกนั่นเอง มันเป็นภาพที่ทำให้ผมมีความสุขยังไงไม่รู้เมื่อย้อนคิดถึงตอนนั้น
แต่ตอนนี้กลับกันอย่างสิ้นเชิง นาที่เคยเห็นคนลงเกี่ยวข้าว กลับมีแต่รถเกี่ยว ที่เก็บเกี่ยวข้าวได้เร็วมาก
อะไรๆก็ใช้แต่เครื่องยนต์ เครื่องจักร มันคงกลับไปเป็นเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว สำหรับ ประเพณีไทยดีๆ อย่างประเพณี ลงแขกเกี่ยวข้าว

สุดท้าย ไม่ขออะไรมากครับ แค่อยากให้ช่วยกันรักษาประเพณีไทยที่ดีงามที่ยังหลงเหลืออยู่ให้เห็นไว้ให้นานที่สุด คุณคงไม่อยากได้ยินว่า วันสงกรานต์ หรือวันลอยกระทง มันประเพณีไทยที่คนไทยไม่ให้ความสำคัญแล้ว หรือยกเลิกมันไปไช่ไหมครับ


วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สังคมไทย ประเพณีไทย กับละครเรื่อง แรงเงา



คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า ละครที่ฮิตมากๆ คือ ละครเรื่อง แรงเงา
คุณคิดว่า เหมาะสมกับสังคมไทยหรือประเพณีไทยที่ดีงามหรือไม่
หลายท่านก็เสนอว่า เป็นละครที่สะท้อนสังคม แต่ค่อนข้างจะแรงไปหน่อย
เห็นด้วยหรือไม่ที่ละครเรื่องนี้ มีเนื้อหาที่รุนแรงและไม่เหมาะสมกับเยาวชนหรือเด็กที่อายุน้อยๆ
ก่อนหน้านี้ก็เกิดเหตุเด็กเลียนแบบละคร จนผูกคอตาย
แต่ละครก็ยังดำเนินต่อไปไม่มีการหยุดหรือปิดแต่อย่างใด
สุดท้ายอยากฝากผู้ใหญ่ให้ดูแลเด็กๆที่เอาแบบอย่างละครในด้านไม่ดีมาทำตามกันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สงสัยไหม ทำไมเดี๋ยวนี้ อะไรๆ ก็ เจอแต่ ประเพณีไทย

ไม่ต้องสงสัยครับ ช่วงนี้เรากำลังช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยของเราไว้
เลยมีการทำเว็บเพื่อประเพณีไทยเยอะมาก หลายท่านอาจเจอตามเว็บต่างๆมากมาย
เพราะเหล่านัก seo ทั้งหลาย กำลังแข่งขันกันทำอันดับอยู่ครับ
แหมๆ เลยทำให้ดูจะ อะไรๆๆก็ ประเพณีไทยไปเสียหมด
แต่สุดท้ายแล้ว ก็ล้วนเป็นผลดีต่อประเพณีไทยต่อไป
ติดตามเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ตามด้านล่าง
ประเพณีไทย



วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทงของไทย สวยงามยาวค่ำคืน

สวัสดีครับ เราในฐานะคนไทยแล้ว มีใครไม่รู้จักวันลอยกระทงบ้างครับ แน่นอนหลายท่าน คงรู้จักหมด
วันนี้เรามาทราบความหมายของวันลอยกระทงกันเลย

วันลอยกระทงของไทยนั้น ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนไทย ซึ้งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
หรือหลายคนคงได้ยินจากเพลง วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
แต่ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะอยู่ในเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
 และสำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศของไทยเรา ส่วนมากจะเป็นที่มีน้ำ เช่นลำคลอง บึง อื่นๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป วันลอยกระทง สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ กระทง (ไม่หลงทางนะครับ อิอิ) ซึ้งก็จะทำจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง เพื่อที่จะนำไปลอยในน้ำของวันลอยกระทง (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

มาดูกระทงสวยๆงามๆจาก สิ่งที่มาจากธรรมชาติกัน

กระทงแบบดั้งเดิมนั้นทำจากวัสดุธรรมชาติ

ประวัติวันลอยกระทง

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

Loi krathong rafts.jpg
ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ



ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)


พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา


เอาสักหน่อยแล้วกันสำหรับเพลง วันลอยกระทง

อีกครั้ง สุดท้ายนี้ ยังไงก็ฝากประเพณีไทยเรา ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ให้แก่ลูกหลานต่อไป


ติดตามเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ตามด้านล่าง
ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย ก็จะนำผลิตผลของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดไปพร้อมๆ กัน ต่างคนต่างก็ถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน บ้างก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น และจากการที่ชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงามนี่เอง ทำให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายกันขึ้น พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง จัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วัดดอนกลาง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จัดวิ่งควายในวันทอดกฐินประจำปีของวัด










ชื่อ
ประเพณีวิ่งควาย
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด ชลบุรี


ช่วงเวลา ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

พิธีกรรม
ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

สาระ
แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด

ทุกๆปีพอถึงช่วงใกล้วันออกพรรษา จังหวัดชลบุรีจะจัดงานประเพณีวิ่งควายขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน ว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายเป็นจำนวนมาก หรือถ้าถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เจ้าของควายมักจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ ระหว่างที่รอเจ้าของควายจะนำควายของตนไปอาบน้ำที่สระภายในวัด เมื่อต่างคนต่างก็พาควายไปอาบน้ำ จึงเกิดมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานและเพื่อทดสอบความแข็งแรงของควาย เกิดเป็นประเพณีวิ่งควายอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่งควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย จากนั้นเจ้าของควายจะนำควายมาวิ่งแข่งกันโดยเจ้าของเป็นผู้บังคับขี่หลังควายไปด้วย ท่ามกลางกองเชียร์ที่คอยส่งเสียงเชียร์และลุ้นอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะตอนที่คนขี่ตกหลังควายจะได้รับเสียงเฮมากเป็นพิเศษ

ประเพณีวิ่งควาย

     ปัจจุบัน จังหวัดชลบุรี เห็นความสำคัญ และมอบให้เทศบาลเมืองชลบุรี เป็นผู้จัด ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวัดขึ้นทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าศาลา กลางจังหวัดชลบุรี อันเป็นสถานที่กว้างขวาง

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิ่งเปรี้ยว การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย สนุกไม่แพ้กีฬาใด

วิ่งเปรี้ยว
การละเล่นชนิดนี้ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยสมัยเดิม มีมาแต่ยาวนาน แต่ช่วงหลังๆ อาจจะไม่ค่อยได้เจอการละเล่นชนิดนี้เท่าไหร่ เพราะเด็กไทยหันไปสนใจกีฬาสากลชนิดอื่นๆ
ด้วยความที่เป็นการละเล่นที่ต้องใช้กำลังความแข็งแรงของร่างกายในการวิ่ง ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะเป็นฝ่ายชนะ เลยทำให้เด็กส่วนมากไม่ค่อยสนใจอยากเล่น
เรามาดูกติกาการเล่นกันก่อนเลย 
1. เราจะแบ่งผู้เล่นทั้งหมดออกเป็นสองฝ่าย โดยจะแต่ละฝ่ายจะมีผู้เล่นประมาณ 5-15 คน ไม่ควรมากหรือน้อยไปกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้การแข่งขันไม่สนุกเท่าที่ควรหากผู้เล่นน้อยหรือมากไป
2. เตรียมหลักหรือกรวยเป็นเขตแบ่งสำหรับแต่ละทีมห่างกันประมาณ 8-10 เมตร 
3. ให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต่อแถวกันที่หลักหรือกรวยของฝ่ายตนเองห้ามเกินไปจากหลักหรือกรวย และให้คนที่วิ่งคนแรกถือผ้าเพื่อไว้สำหรับตีหรือสัมผัสฝ่ายตรงข้าม
4. ให้วิ่งออกจากด้านขวามือของฝ่ายตัวเองแล้ววิ่งไปให้เร็วที่สุดและตีผ้าใส่ฝ่ายตรงข้ามหากยังไม่ได้เมื่อครบรอบให้ส่งผ้าให้ทีมเราหลังจากวิ่งกลับมาถึงที่หลักของเรา แล้วคนที่รับผ้าต่อก็จะวิ่งไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีทีมใดทีมหนึ่งวิ่งเร็วจนสามารถนำผ้าไปตีอีกฝ่ายได้ ฝ่ายที่ตีผ้าได้ก็จะเป็นฝ่ายชนะ


ข้อห้าม 
1.ห้ามวิ่งไม่อ้อมหลักหรือกรวย
2.ห้ามทำผ้าตกหากทำตกต้องวิ่งไปเก็บผ้าแล้วสามารถวิ่งต่อได้
3.ฝ่ายที่ยืนรอผ้า ห้ามขัดขวางการวิ่งของฝ่ายตรงข้ามเมื่อฝ่ายตรงข้ามวิ่งไปถึงหลักของตน
4.ห้ามจงใจเตะหลักหรือกรวยล้ม เป็นไปได้ห้ามโดนหลักหรือกรวย

เล่นแล้วจะได้อะไร
1.ความแข็งแรงของผู้เล่น
2.ความสามัคคีของทีม
3.ความคล่องแคล่ว ว่องไว
4.ความรักความมีน้ำใจนักกีฬา

สุดท้าย อยากฝากให้เราคนไทยช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยไว้ให้ลูกหลานได้เล่นและได้เรียนรู้ถึงประเพณีพื้นบ้านแต่ดั้งเดิม อยากให้เด็กไทยหันมาเล่นการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ดู รับรองได้ว่า สนุกไม่แพ้กีฬาอื่นๆ แน่นอนจร้า...


วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทศกาลเที่ยวพิมาย 2555 จบไปแบบต้องบอกต่อ

เทศกาลเที่ยวพิมายผ่านพ้นไป จะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่ใจ และเป้าหมายของแต่ละคน นิทรรศการขนาดย่อม “สังคมคนพิมาย” ถือว่าสำเร็จเกินคาดสำหรับผม เพราะได้พบรอยยิ้มมากมายของคนรุ่นเก่าที่มาเห็นรูปเก่าๆ ทั้งสถานที่ บรรยากาศ และปู่ย่าตายาย หรือเพื่อนเก่าคนรู้จัก บ้างยังมีชีวิตอยู่ บ้างล้มหายตายจาก แสดงถึงความไม่เที่ยงแท้ แต่มีเรื่องราวดีๆ ประเพณีการละเล่น วัฒนธรรมที่ดีของคนพิมาย ที่กำลังจะสูญหายไปจากพิมาย ก็คงเป็นเฮือกเล็กๆ ที่จะพอทำให้ลมหายใจอันรวยรินของวันเก่ายังคงมีอยู่ เทศกาลเที่ยวพิมาย งานแข่งเรือยาวประเพณีพิมาย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็ถือเป็นไปตามกรรม แต่ยุคนี้สังคมเถื่อนงานประเพณีดีๆ เมื่อเสร็จสิ้นกลับต้องนั่งนับศพผู้เสียชีวิต กับคนบาดเจ็บจำนวนมาก จากเหตุที่คนหลายคนใจกระด้างหยาบช้า คนอยู่ข้างหลังโดยเฉพาะพ่อแม่กลับใจเศร้าสร้อยงานรื่นเริงแท้ๆ ต้องมาเสียลูกในอ้อมอกไป มีทั้งตีรันฟันแทงบาดเจ็บนับร้อยราย ไม่รู้เป็นตายร้ายดีกันอย่างไร บางรายถูกทแทงพรุนทั้งตัว เพราะความไม่ลงรอย ไม่ถูกใจ การเขม่นกัน และการเอาคืน เมื่อวานปิดงานเทศกาลตกดึกก็มีเหตุยิงกันเสียชีวิตหน้าโรงเรียนสุริยาอุทัย ช่างน่าสังเวชใจแท้ๆ ผีปู่ย่าตายายช่วยลูกหลานพิมายที่เถิด อย่าให้พิมายกลายเป็นบ้านเจริญแต่คนทรามเลย....

ปิดท้ายเทศกาลเที่ยวพิมาย 2555 ด้วยการตามหา "บ่อสาลี" ใครรู้จักบ้าง ช่วยบอกกันดาเด้อ, ขอขอบคุณทุกหัวใจที่ช่วยให้งานนิทรรศการ สังคมคนพิมาย สำเร็จด้วยดี และขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมนิทรรศการครับ.




เทศกาลวันแข่งเรือ ยาว มาหนุ่มสาวช่วยเป็นแรงใจ ไหมเหนื่อยไหมจ้ำพายเหนื่อยไหม พ่อยอดชายคนเก่งของฉัน บึดจ้ำ บึดเอ้าบึดพร้อมกัน ถ้วยรางวัล นั้นคงไม่ไกล.

การไหว้ของคนไทย

การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ คำที่มักกล่าวเมื่อไหว้ทักทายหรือลาคือ "สวัสดี" มาจากคำ "สฺวสฺติ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง หรือความปลอดภัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ริเริ่มใช้ มีความหมายเชิงอำนวยพรให้เจริญรุ่งเรือง

๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ 

๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว 

๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ 





โรนัลด์ แมคโดนัลด์ มาสคอตของแมคโดนัลด์ซึ่งตั้งหน้าร้านแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย



ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

วันนี้ลองถามเล่นๆ แต่แฝงไปด้วยสาระนะครับ
สมมุติถ้าให้ท่านคิดถึง เกี่ยวกับ ประเพณีไทย สิ่งแรกเลยที่ท่านคิดถึง ท่านได้นึกถึงอะไร
เช่น การละเล่นพื้นบ้านที่เด้กเล่นแทบทุกคนเคยได้เล่น และชอบมาก
หรือ วันสงกรานต์ที่มีการสาดน้ำและเย็นทั่วเมืองไทยเราพร้อมด้วยชาวต่างชาติที่หลงใหลในความเป็นไทย หรือวันลอยกระทงของเหล่าหนุ่มสาวที่ทำให้คิดถึง ความสวยงามของกระทงที่ลอยอยู่ในสระน้ำ
หรือแม้แต่การแต่งกายของคนไทยที่เรียบง่าย และผ้าที่สวยไม่แพ้ชาติใดในโลก
และอื่นๆ
สำหรับผมแล้วคิดถึง คนไทยที่มีความภาคภูมิในในประเพณีของตนและชาวต่างชาติยังให้การยอมรับ
และชอบในวัฒนธรรมไทยและประเพณีของไทยเราอีกมากมาย
แล้วท่านคิดว่า ความหมายของประเพณีไทย คืออะไร หลายคนพอทราบแต่ไม่สามารถที่อธิบายได้ออกมาเป็นคำที่สระสรวยสวยงาม
แล้วท่านรู้ไหมว่าแต่ละปีของเรา มีงานประเพณีหรือเทศกาลใดบ้างในแต่ละเดือน
หาความรู้ได้ที่
http://siamtradition.blogspot.com/p/blog-page_7344.html

วันนี้หวังว่าหลายคนคงจะได้รับความรู้ไปมาก เราในฐานะคนไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยเราให้เป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก

มีวีดีโอที่อยากให้คนไทยทุกคนดู