วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทงของไทย สวยงามยาวค่ำคืน

สวัสดีครับ เราในฐานะคนไทยแล้ว มีใครไม่รู้จักวันลอยกระทงบ้างครับ แน่นอนหลายท่าน คงรู้จักหมด
วันนี้เรามาทราบความหมายของวันลอยกระทงกันเลย

วันลอยกระทงของไทยนั้น ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคนไทย ซึ้งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
หรือหลายคนคงได้ยินจากเพลง วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
แต่ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะอยู่ในเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
 และสำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศของไทยเรา ส่วนมากจะเป็นที่มีน้ำ เช่นลำคลอง บึง อื่นๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป วันลอยกระทง สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ กระทง (ไม่หลงทางนะครับ อิอิ) ซึ้งก็จะทำจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง เพื่อที่จะนำไปลอยในน้ำของวันลอยกระทง (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

มาดูกระทงสวยๆงามๆจาก สิ่งที่มาจากธรรมชาติกัน

กระทงแบบดั้งเดิมนั้นทำจากวัสดุธรรมชาติ

ประวัติวันลอยกระทง

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

Loi krathong rafts.jpg
ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ



ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)


พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยา


เอาสักหน่อยแล้วกันสำหรับเพลง วันลอยกระทง

อีกครั้ง สุดท้ายนี้ ยังไงก็ฝากประเพณีไทยเรา ร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ให้แก่ลูกหลานต่อไป


ติดตามเกี่ยวกับประเพณีไทยได้ตามด้านล่าง
ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นงานประเพณีประจำจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย ก็จะนำผลิตผลของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดไปพร้อมๆ กัน ต่างคนต่างก็ถือโอกาสมาพบปะสนทนากัน บ้างก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็นการแข่งขันวิ่งควายกันขึ้น และจากการที่ชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงามนี่เอง ทำให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายกันขึ้น พร้อมๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย ปัจจุบัน ประเพณีวิ่งควายในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จะจัดในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 อำเภอบ้านบึงจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตลาดหนองเขิน อำเภอบ้านบึง จัดในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วัดดอนกลาง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จัดวิ่งควายในวันทอดกฐินประจำปีของวัด










ชื่อ
ประเพณีวิ่งควาย
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด ชลบุรี


ช่วงเวลา ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

พิธีกรรม
ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

สาระ
แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด

ทุกๆปีพอถึงช่วงใกล้วันออกพรรษา จังหวัดชลบุรีจะจัดงานประเพณีวิ่งควายขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชลบุรีที่มีการจัดมากว่า 100 ปีแล้ว ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 หรือก่อนออกพรรษา 1 วัน เพื่อเป็นการทำขวัญควายและให้ควายได้พักผ่อนหลังจากตรากตรำกับการงานในท้องนามายาวนาน ว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็นโรคระบาดล้มตายเป็นจำนวนมาก หรือถ้าถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา เจ้าของควายมักจะนำควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติแล้วจะต้องนำควายมาวิ่งแก้บน นอกจากนี้ประเพณีวิ่งควายยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพื่อให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อนมาพบปะสังสรรค์กันในงานวิ่งควาย ประเพณีวิ่งควายยุคแรกเริ่มจัดขึ้นที่ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี ซึ่งเกิดจากการที่ชาวบ้านมาชุมนุมกันที่วัด และนำเครื่องกัณฑ์ใส่ควายเทียมเกวียนมาพักที่วัดเพื่อรอการติดกันเทศน์ ในเทศกาลเทศน์มหาชาติ ระหว่างที่รอเจ้าของควายจะนำควายของตนไปอาบน้ำที่สระภายในวัด เมื่อต่างคนต่างก็พาควายไปอาบน้ำ จึงเกิดมีการแข่งขันประลองฝีเท้าควายขึ้นมา เพื่อความสนุกสนานและเพื่อทดสอบความแข็งแรงของควาย เกิดเป็นประเพณีวิ่งควายอันขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีที่โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ การแข่งขันวิ่งควายในระยะแรกเป็นเพียงการบังคับให้ควายขณะวิ่งในระยะที่กำหนด โดยคนขี่ห้ามตกจากหลังควาย ก่อนที่จะพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาเป็นการวิ่งควายในปัจจุบันที่มีการตกแต่งควายอย่างสวยงาม อาทิ การแต่งตัวควายด้วยผ้าหลากสีสัน หรือไม่ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับมากมาย จากนั้นเจ้าของควายจะนำควายมาวิ่งแข่งกันโดยเจ้าของเป็นผู้บังคับขี่หลังควายไปด้วย ท่ามกลางกองเชียร์ที่คอยส่งเสียงเชียร์และลุ้นอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะตอนที่คนขี่ตกหลังควายจะได้รับเสียงเฮมากเป็นพิเศษ

ประเพณีวิ่งควาย

     ปัจจุบัน จังหวัดชลบุรี เห็นความสำคัญ และมอบให้เทศบาลเมืองชลบุรี เป็นผู้จัด ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีประจำจังหวัดขึ้นทุกปี โดยใช้สถานที่บริเวณหน้าศาลา กลางจังหวัดชลบุรี อันเป็นสถานที่กว้างขวาง

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิ่งเปรี้ยว การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย สนุกไม่แพ้กีฬาใด

วิ่งเปรี้ยว
การละเล่นชนิดนี้ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยสมัยเดิม มีมาแต่ยาวนาน แต่ช่วงหลังๆ อาจจะไม่ค่อยได้เจอการละเล่นชนิดนี้เท่าไหร่ เพราะเด็กไทยหันไปสนใจกีฬาสากลชนิดอื่นๆ
ด้วยความที่เป็นการละเล่นที่ต้องใช้กำลังความแข็งแรงของร่างกายในการวิ่ง ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะเป็นฝ่ายชนะ เลยทำให้เด็กส่วนมากไม่ค่อยสนใจอยากเล่น
เรามาดูกติกาการเล่นกันก่อนเลย 
1. เราจะแบ่งผู้เล่นทั้งหมดออกเป็นสองฝ่าย โดยจะแต่ละฝ่ายจะมีผู้เล่นประมาณ 5-15 คน ไม่ควรมากหรือน้อยไปกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้การแข่งขันไม่สนุกเท่าที่ควรหากผู้เล่นน้อยหรือมากไป
2. เตรียมหลักหรือกรวยเป็นเขตแบ่งสำหรับแต่ละทีมห่างกันประมาณ 8-10 เมตร 
3. ให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต่อแถวกันที่หลักหรือกรวยของฝ่ายตนเองห้ามเกินไปจากหลักหรือกรวย และให้คนที่วิ่งคนแรกถือผ้าเพื่อไว้สำหรับตีหรือสัมผัสฝ่ายตรงข้าม
4. ให้วิ่งออกจากด้านขวามือของฝ่ายตัวเองแล้ววิ่งไปให้เร็วที่สุดและตีผ้าใส่ฝ่ายตรงข้ามหากยังไม่ได้เมื่อครบรอบให้ส่งผ้าให้ทีมเราหลังจากวิ่งกลับมาถึงที่หลักของเรา แล้วคนที่รับผ้าต่อก็จะวิ่งไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีทีมใดทีมหนึ่งวิ่งเร็วจนสามารถนำผ้าไปตีอีกฝ่ายได้ ฝ่ายที่ตีผ้าได้ก็จะเป็นฝ่ายชนะ


ข้อห้าม 
1.ห้ามวิ่งไม่อ้อมหลักหรือกรวย
2.ห้ามทำผ้าตกหากทำตกต้องวิ่งไปเก็บผ้าแล้วสามารถวิ่งต่อได้
3.ฝ่ายที่ยืนรอผ้า ห้ามขัดขวางการวิ่งของฝ่ายตรงข้ามเมื่อฝ่ายตรงข้ามวิ่งไปถึงหลักของตน
4.ห้ามจงใจเตะหลักหรือกรวยล้ม เป็นไปได้ห้ามโดนหลักหรือกรวย

เล่นแล้วจะได้อะไร
1.ความแข็งแรงของผู้เล่น
2.ความสามัคคีของทีม
3.ความคล่องแคล่ว ว่องไว
4.ความรักความมีน้ำใจนักกีฬา

สุดท้าย อยากฝากให้เราคนไทยช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยไว้ให้ลูกหลานได้เล่นและได้เรียนรู้ถึงประเพณีพื้นบ้านแต่ดั้งเดิม อยากให้เด็กไทยหันมาเล่นการละเล่นพื้นบ้านชนิดนี้ดู รับรองได้ว่า สนุกไม่แพ้กีฬาอื่นๆ แน่นอนจร้า...


วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทศกาลเที่ยวพิมาย 2555 จบไปแบบต้องบอกต่อ

เทศกาลเที่ยวพิมายผ่านพ้นไป จะสำเร็จหรือไม่ก็อยู่ที่ใจ และเป้าหมายของแต่ละคน นิทรรศการขนาดย่อม “สังคมคนพิมาย” ถือว่าสำเร็จเกินคาดสำหรับผม เพราะได้พบรอยยิ้มมากมายของคนรุ่นเก่าที่มาเห็นรูปเก่าๆ ทั้งสถานที่ บรรยากาศ และปู่ย่าตายาย หรือเพื่อนเก่าคนรู้จัก บ้างยังมีชีวิตอยู่ บ้างล้มหายตายจาก แสดงถึงความไม่เที่ยงแท้ แต่มีเรื่องราวดีๆ ประเพณีการละเล่น วัฒนธรรมที่ดีของคนพิมาย ที่กำลังจะสูญหายไปจากพิมาย ก็คงเป็นเฮือกเล็กๆ ที่จะพอทำให้ลมหายใจอันรวยรินของวันเก่ายังคงมีอยู่ เทศกาลเที่ยวพิมาย งานแข่งเรือยาวประเพณีพิมาย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ก็ถือเป็นไปตามกรรม แต่ยุคนี้สังคมเถื่อนงานประเพณีดีๆ เมื่อเสร็จสิ้นกลับต้องนั่งนับศพผู้เสียชีวิต กับคนบาดเจ็บจำนวนมาก จากเหตุที่คนหลายคนใจกระด้างหยาบช้า คนอยู่ข้างหลังโดยเฉพาะพ่อแม่กลับใจเศร้าสร้อยงานรื่นเริงแท้ๆ ต้องมาเสียลูกในอ้อมอกไป มีทั้งตีรันฟันแทงบาดเจ็บนับร้อยราย ไม่รู้เป็นตายร้ายดีกันอย่างไร บางรายถูกทแทงพรุนทั้งตัว เพราะความไม่ลงรอย ไม่ถูกใจ การเขม่นกัน และการเอาคืน เมื่อวานปิดงานเทศกาลตกดึกก็มีเหตุยิงกันเสียชีวิตหน้าโรงเรียนสุริยาอุทัย ช่างน่าสังเวชใจแท้ๆ ผีปู่ย่าตายายช่วยลูกหลานพิมายที่เถิด อย่าให้พิมายกลายเป็นบ้านเจริญแต่คนทรามเลย....

ปิดท้ายเทศกาลเที่ยวพิมาย 2555 ด้วยการตามหา "บ่อสาลี" ใครรู้จักบ้าง ช่วยบอกกันดาเด้อ, ขอขอบคุณทุกหัวใจที่ช่วยให้งานนิทรรศการ สังคมคนพิมาย สำเร็จด้วยดี และขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมนิทรรศการครับ.




เทศกาลวันแข่งเรือ ยาว มาหนุ่มสาวช่วยเป็นแรงใจ ไหมเหนื่อยไหมจ้ำพายเหนื่อยไหม พ่อยอดชายคนเก่งของฉัน บึดจ้ำ บึดเอ้าบึดพร้อมกัน ถ้วยรางวัล นั้นคงไม่ไกล.

การไหว้ของคนไทย

การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นสืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ คำที่มักกล่าวเมื่อไหว้ทักทายหรือลาคือ "สวัสดี" มาจากคำ "สฺวสฺติ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง หรือความปลอดภัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ริเริ่มใช้ มีความหมายเชิงอำนวยพรให้เจริญรุ่งเรือง

๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ 

๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว 

๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ 





โรนัลด์ แมคโดนัลด์ มาสคอตของแมคโดนัลด์ซึ่งตั้งหน้าร้านแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย



ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

ถ้าคิดถึง ประเพณีไทย แล้ว ท่านคิดถึงอะไร

วันนี้ลองถามเล่นๆ แต่แฝงไปด้วยสาระนะครับ
สมมุติถ้าให้ท่านคิดถึง เกี่ยวกับ ประเพณีไทย สิ่งแรกเลยที่ท่านคิดถึง ท่านได้นึกถึงอะไร
เช่น การละเล่นพื้นบ้านที่เด้กเล่นแทบทุกคนเคยได้เล่น และชอบมาก
หรือ วันสงกรานต์ที่มีการสาดน้ำและเย็นทั่วเมืองไทยเราพร้อมด้วยชาวต่างชาติที่หลงใหลในความเป็นไทย หรือวันลอยกระทงของเหล่าหนุ่มสาวที่ทำให้คิดถึง ความสวยงามของกระทงที่ลอยอยู่ในสระน้ำ
หรือแม้แต่การแต่งกายของคนไทยที่เรียบง่าย และผ้าที่สวยไม่แพ้ชาติใดในโลก
และอื่นๆ
สำหรับผมแล้วคิดถึง คนไทยที่มีความภาคภูมิในในประเพณีของตนและชาวต่างชาติยังให้การยอมรับ
และชอบในวัฒนธรรมไทยและประเพณีของไทยเราอีกมากมาย
แล้วท่านคิดว่า ความหมายของประเพณีไทย คืออะไร หลายคนพอทราบแต่ไม่สามารถที่อธิบายได้ออกมาเป็นคำที่สระสรวยสวยงาม
แล้วท่านรู้ไหมว่าแต่ละปีของเรา มีงานประเพณีหรือเทศกาลใดบ้างในแต่ละเดือน
หาความรู้ได้ที่
http://siamtradition.blogspot.com/p/blog-page_7344.html

วันนี้หวังว่าหลายคนคงจะได้รับความรู้ไปมาก เราในฐานะคนไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทยเราให้เป็นที่กล่าวขานของคนทั้งโลก

มีวีดีโอที่อยากให้คนไทยทุกคนดู






ประเพณีแข่งเรือยาว พิมาย

งานนี้ที่พิมายจะจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี



ปีนี้ 2555 เพิ่งจัดและจบไปแล้ว เรามีวีดีโอ ของการแข่งขันปีนี้มาให้ดูกันครับว่ามันส์ขนาดไหน

งานนี้มีมาแต่นานมากแล้วครับ ส่วนมากจะจัดพร้อมกับเทศกาลเที่ยวพิมายของทุกปี ทำให้เป็นเทศกาลที่คนพิมายเองจะไม่ทราบข้อมูลก็เป็นไปไม่ได้ 
ปีนี้ที่ได้ไปเที่ยวมา เอ๊ะ เราคนพิมายนี่หว่า อิอิ ลองไปเดินเล่นมา จะบอกว่าคนเยอะมากๆ พร้อมกับตลาดของการขายสินค้าและกาชาดเล็กๆให้ได้ลุ้นกันตามเคย

ส่วนผลการแข่งเรือยาวออกมาเป็นแบบนี้ครับ

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณี "เทศกาลเที่ยวพิมาย" ประจำปี 2555
ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 
ณ ลำน้ำจักราช อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
ระหว่างวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2555
..................................

ประเภทไม่เกิน 55 ฝีพาย ก
ชนะเลิศ  เทพนรสิงห์ 88 จ.สระบุรี ครองถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ
รองชนะเลิศอันดับ 1  เจ้าแม่ประดู่ทอง หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ จ.ชลบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 2  เทพหงษ์ทอง วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม 
รองชนะเลิศอันดับ 3  พรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี

ประเภทไม่เกิน 55 ฝีพาย ข
ชนะเลิศ  เจ้าขุนเณร-กระทิงแดง จ.เพชรบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 1  เศรษฐีเรือทอง จ.ลพบุรี
รองชนะเลิศอันดับ 2  ใบกล้วย (หงส์นคร) จ.นครสวรรค์
รองชนะเลิศอันดับ 3  เจ้าพ่อวังกรูด จ.บุรีรัมย์

ประเภทไม่เกิน 40 ฝีพาย (ทั่วไป)
ชนะเลิศ  เจ้าแม่ประดู่เงิน หน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ จ.ชลบุรี ครองถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
รองชนะเลิศอันดับ 1  เจ้าแม่วันทอง วัดตะเคียนเลื่อน จ.นครสวรรค์
รองชนะเลิศอันดับ 2  สาวสวยสุภาพร จ.ร้อยเอ็ด
รองชนะเลิศอันดับ 3  เจ้าแม่ธรรมเนียม จ.ร้อยเอ็ด



ปีหน้า พฤศจิกายน อย่าลืมชวนลูกหลานมาเที่ยวพิมายกันนะครับผม





วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ภาพ:Bangfai_21.jpg

บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ภาพ:Bangfai_1.jpg

ภาพ:Bangfai_16.jpg

ภาพ:Bangfai_17.jpg

ภาพ:Bangfai_22.jpg

ภาพ:Bangfai_13.jpg

ภาพ:Bangfai_6.jpg

ภาพ:Bangfai_5.jpg

ภาพ:Bangfai_2.jpg

ภาพ:Bangfai_8.jpg


ภาพ:Bangfai_7.jpg

ภาพ:Bangfai_4.jpg


ภาพ:Bangfai_9.jpg

ภาพ:Bangfai_14.jpg

ภาพ:Bangfai_18.jpg


ประเพณีบุญบั้งไฟ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ประเพณีบุญบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ รายละเอียด ชื่อเป็นทางการ ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคมของทุกปี สถานที่จัด ภาคอีสานของไทย และ ลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้



จังหวัด ยโสธร
ช่วงเวลา
ดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ
าวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

พิธีกรรม 

๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้) 
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ 
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง) 
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง

สาระ 
๑. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
๒. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
๓. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
๔. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร