วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีบุญบั้งไฟ

ภาพ:Bangfai_21.jpg

บุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือนหก ถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะขาดไม่ได้ เพราะตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานมีความเชื่อว่า ถ้าปีใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำทำนา แต่ถ้าปีใดจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ฟ้าฝนก็จะตกต้องตามฤดูกาล เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัย งานบุญบั้งไฟจึงถือเป็นงานประเพณี ประจำปีที่สำคัญของชาวอีสาน พอใกล้ถึงวันงานชาวอีสานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะกลับบ้านไปร่วมงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานที่สร้างความรักความสามัคคีของคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ภาพ:Bangfai_1.jpg

ภาพ:Bangfai_16.jpg

ภาพ:Bangfai_17.jpg

ภาพ:Bangfai_22.jpg

ภาพ:Bangfai_13.jpg

ภาพ:Bangfai_6.jpg

ภาพ:Bangfai_5.jpg

ภาพ:Bangfai_2.jpg

ภาพ:Bangfai_8.jpg


ภาพ:Bangfai_7.jpg

ภาพ:Bangfai_4.jpg


ภาพ:Bangfai_9.jpg

ภาพ:Bangfai_14.jpg

ภาพ:Bangfai_18.jpg


ประเพณีบุญบั้งไฟ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ประเพณีบุญบั้งไฟ ขบวนแห่บั้งไฟ รายละเอียด ชื่อเป็นทางการ ประเพณีบุญบั้งไฟ ช่วงเวลา เดือนพฤษภาคมของทุกปี สถานที่จัด ภาคอีสานของไทย และ ลาว ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้



จังหวัด ยโสธร
ช่วงเวลา
ดือนพฤษภาคม
ความสำคัญ
าวจังหวัดยโสธรร้อยละ ๘๕ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูการทำนา เป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

พิธีกรรม 

๑. การเซิ้งเพื่อขอรับบริจาคทรัพย์สินเงินทอง และอาหารการกิน เพื่อนำมาเป็นทุนในการจัดทำบั้งไฟและเป็นเสบียงสำหรับผู้จัดทำบั้งไฟ
๒. การประกวดขบวนแห่บั้งไฟสวยงาม (บั้งไฟโก้) 
๓. การประกวดขบวนรำเซิ้ง
๔. การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ 
๕. การแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง
๖. การแข่งขันจุดบั้งไฟ แฟนซี (บั้งไฟ แสง สี เสียง) 
๗. การประกวดกองเชียร์บั้งไฟในวันแข่งขันจุดบั้งไฟขึ้นสูง

สาระ 
๑. เป็นการตักเตือนให้รู้ว่าธรรมชาติเป็นสิ่งไม่แน่นอน เกษตรกรไม่ควรประมาท
๒. เป็นงานประเพณีที่สร้างความสนุกสนาน และความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
๓. กิจกรรมการเซิ้ง สอนให้คนในสังคมรู้จักการบริจาคทาน และการเสียสละ
๔. เป็นงานประเพณีที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวจังหวัดยโสธร 

ปลาหมึกย่าง ในงานเทศกาลพิมาย 2555 ขายดี ยั่วน้ำลายดีจริงๆ







วิธีทำ ปลาหมึกย่างนั้นก็ไม่ยาก
ส่วนผสม
  1. ปลาหมึกสด (ปลาหมึกกระดอง)
  2. ซี่อิ๊วดำ
  3. น้ำเปล่า
วิธีทำ
  • ให้นำน้ำเปล่าผสมกับซีอิ๊วดำ ในอัตราส่วน 2 :1 คือน้ำ 2 ส่วน และซีอิ๊ว 1 ส่วน
  • ส่วนปลาหมึกก็ทำความสะอาดข้างในตัวปลาให็เรียบร้อย แต่อย่าผ่าออกนะ
  • หลังจากนั้น ก็นำปลาหมึกไปแช่ในน้ำซีอิ๊วที่เราทำเตรียมไว้ และยกแช่ในตู้เย็น หรือถังน้ำแข็งก็ได้ ประมา 2 - 3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาเสียบไม้ย่างขายได้เลย

ส่วนน้ำจิ้ม
  • ก็เป็นน้ำจิ้ม ซีฟู้ดแบบธรรมดา คือ พริกสด, กระเทียม, น้ำตาล, น้ำปลา, มะนาว แล้วนำทุกอย่างปั่นรวมกัน ชิมรสชาติตามชอบ แต่ให้รสจัดสักหน่อย หลังจากนั้นก็หั่นผักชี โรยหน้านิดหน่อย ก็เป็นอันเสร็จ พร้องออกขายได้แล้ว


- workdeena เคยเห็นเขาขายกันที่ตัวละ 10 บาท ถ้าเป็นหนวดปลาหมึก ก็จะขายที่ไม้ละ 5 บาท ถ้าเป็นปลาหมึกขนาดใหญ่เขาขายกันตัวละ 20 บาท แต่ถ้าเป็นปลาหมึกขนาดใหญ่พิเศษ จะขายกันที่ตัวละ 50 บาท ทุกอย่างเสียบไม้ละหนึ่งตัวเท่านั้น ถ้าใครสนใจก็ลองทำขายกันดูนะ ได้ผลอย่างไรก็บอกกันบ้างนะ ขอให้ทุกคนโชคดีนะ

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่สร้างชื่อดังไกลทั่วโลก

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ" 

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก วันสงกรานต์ ประเพณีไทย ที่โด่งดังไกลทั่วโลก ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับ วันสงกรานต์2555 ปีนี้ ประเพณีรดน้ำดำหัว ของไทยที่โด่งดังไกลทั่วโลกเลยทีเดียว และวันนี้เรามี ประวัติวันสงกรานต์ ฉบับภาษอังกฤษ มาให้ทุกท่านได้ชมและได้รู้กันเลยว่า ประเพณีสงกรานต์ อันยิ่งใหญ่ของไทยนั้นมีค่า และควรรู้รักษาไว้มากแค่ไหน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สงกรานต์2555 ปีนี้คงไม่มีเรื่องฉาว อย่างเช่น สงกรานต์ สีลม หรือ สงกรานต์ โหด เหมือนที่เคยเกิดมาทุกปีเลย

Thailand Songkran or Water Festival is considered the traditional Thai New Year and is famous for its grand water fighting festival. Every year and across the country, Songkran will be held around the middle of April (13-15th), the hottest month of the year, when the Water Festival is held to cool off the heat

ภาพ:Songkarn_20.jpg

ภาพ:Songkarn_11.jpg

ภาพ:Songkarn_6.jpg

ภาพ:Songkarn_5.jpg

ภาพ:Songkarn_7.jpg


ภาพ:Songkarn_8.jpg

ภาพ:Songkarn_10.jpg

วันสงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันที่ของเทศกาลเดิมกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน สงกรานต์ตกอยู่ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย คือ ปลายฤดูแล้ง จนถึง พ.ศ. 2431 วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของปีในประเทศไทย หลังจากนั้นวันที่ 1 เมษายนถูกใช้เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483 สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามขอประเพณีในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ



สงกรานต์ตามคตินิยมโบราณ นิยมสรงน้ำพระและผู้อาวุโสอันเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู เพื่อความเป็นสิริมงคล

รูจักกันหรือยัง กับประเพณีตีคลีไฟ หนึ่งเดียวในโลก

รูจักกันหรือยัง กับประเพณีตีคลีไฟ หนึ่งเดียวในโลก

วันนี้เรามาทำความรูจักกับประเพณีตีคลีไฟกัน มันเป็นยังไง หรือใครที่กำลังสงสัยนี่เลยครับ
ประเพณีตีคลีไฟอีกหนึ่งความเป็นที่สุดในไทย กับประเพณีไทยอันเป็นหนึ่งเดียวในโลก ตีคลีไฟ การละเล่นและประเพณีโบราณประจำแต่ละท้องถิ่น เป็นเสน่ห์อีกหนึ่งอย่างของประเทศไทย เพราะแต่ละพื้นที่จะมีการละเล่นและประเพณีพื้นบ้านที่บ่งบอกตัวตนของแต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี วันนี้ เดลินิวส์ออนไลน์ จะพาไปรู้จักอีกหนึ่งการละเล่นท้องถิ่นที่มีความน่าสนใจ และจัดเป็นอีกความสุดยอดที่สุดในไทย กับ ประเพณีตีคลีไฟ ที่ ต.กุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ




 ตีคลีไฟ เป็นประเพณีที่เล่นกันช่วงฤดูหนาวหลังออกพรรษา แรกเริ่มการเล่นเรียกว่า “คลีโหล๋น” ที่ยังไม่มีการจุดไฟที่ลูกคลี แต่เป็นการแข่งขันด้วยกติกาง่ายๆ ใครตีคลีได้ไกลกว่าเป็นผู้ชนะ จากนั้นค่อยๆมีพัฒนาการเปลี่ยนจากแข่งตีไกลมาแข่งขันแบบทีม แต่เรื่องราวเริ่มต้นการเปลี่ยนมาเป็น ตีคลีไฟ เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ โดยสมัยก่อนจะมีการก่อกองไฟแก้หนาวในช่วงพลบค่ำ วันหนึ่งระหว่างที่มีการเล่นตีคลี บังเอิญลูกคลีเกิดกลิ้งเข้าไปในกองไฟแล้วติดไฟ แต่ด้วยความสนุกและไม่อยากหยุดเล่น ชาวบ้านจึงตีคลีกันต่อทั้งที่ติดไฟ แต่พอตีแล้วเห็นเป็นแสงไฟสวยงาม ทำให้ถูกนำมาเล่นกันเป็นประจำ จนกลายเป็นตีคลีไฟ




 ปัจจุบันการตีคลีไฟ จะทำการแข่งขันโดยการแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองทีม ใช้สนามขนาดเดียวกับสนามฟุตซอลแต่เป็นพื้นดินหรือหญ้า ลูกคลีและไม้ตีคลียังเป็นแบบเดิม แต่ขนาดของไม้ไผ่จะยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน หลักการเล่นเหมือนกับฮ็อกกี้คือ ใช้ไม้ตีลูกคลีส่งต่อไปมาและเลี้ยงเข้าหาฝ่ายตรงข้าม เพื่อตีลูกคลีให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามเพื่อทำคะแนน โดยจะมีการก่อกองไฟอยู่ด้านข้างและนำลูกคลีมาเตรียมเผารอสับเปลี่นลูก เพื่อให้ลูกคลีในการแข่งขันติดไฟอยู่ตลอดเวลา แต่มีกฎว่าต้องตีไม้ไม่สูงเกินระดับเอว หากสูงกว่านี้จะถือว่าผิดกติกา ซึ่งกติกาที่ตั้งขึ้นในปัจจุบันก็เพื่อให้การตีคลีไฟมีความเป็นสากลมากขึ้น และเป็นการลดอุบัติเหตุระหว่างการเล่นไปพร้อมๆกัน เพราะการตีคลีไฟถือว่าเป็นการละเล่นที่อันตรายมากพอสมควรทั้งสำหรับผู้เล่นและผู้ชมที่ไม่คุ้นเคย















ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
ขอบคุณภาพประกอบจาก ศุภสวัสดิ์ เพียรธัญกรณ์

งานเทศกาลเที่ยวพิมายได้เริ่มแล้ว 8 ถึง 11 พฤศจิกายน 2555


งานเทศกาลเที่ยวพิมายได้เริ่มแล้ว 8 ถึง 11 พฤศจิกายน 2555


8 พฤศจิกายน 2555 – 11 พฤศจิกายน 2555
ข้อมูลการติดต่อ ททท.
2101-2104 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา 30000Tel. +66 4421 3030, +66 4421 3666
หมวดหมู่ ศิลปะการแสดง,ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์,ศิลปะและวัฒนธรรม
เมืองพิมายเป็นเมืองที่มีอารยธรรมสืบสานต่อกันมาอย่างยาวนาน ชุมชนเมืองพิมายในอดีตกาลนั้น ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จะเห็นได้จากหลักฐานสำคัญ อันยิ่งใหญ่ และงดงามเป็นที่สุด นั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” เพื่อเป็นการสมโภชเมืองในวาระที่เมืองพิมายมีอายุยาวนานนับพันปี จังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานเทศกาลเที่ยวพิมาย นครราชสีมา ประจำปี 2555 อย่างยิ่งใหญ่เพื่อประกาศให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ร่วมรับรู้และร่วมยินดีกับวาระดังกล่าว ภายในงานมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้
• การแสดงประกอบ แสง เสียง วิมายนาฏการ บทใหม่ ในชุด “วิมายปุระ แดนเทวนฤมิต” โดยการเล่าเรื่องราวผ่านท่วงท่าการร่ายรำจากภาพจำหลักผสานกับความรุ่งเรืองในยุคสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถูกถ่ายทอดเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่สุดอลังการ ในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ที่ 9 – 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา 19.30 – 21.00 น. ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
• การแข่งขันเรือยาวประเพณีเทิดพระเกียรติ 84 พรรษา ชิงชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ ณ ลำน้ำจักราช สนามแข่งขันเรือที่ตรงสวยสมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย ในวันเสาร์ – อาทิตย์ที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.00 – 17.00 น. ร่วมชม และเชียร์การแข่งขันเรือยาวฯ ที่แสนสนุก ทีมเรือชื่อดังจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน
• การแสดงโขนจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ นครราชสีม กรมศิลปากร เป็นการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนต่าง ๆ ที่มีแกะสลักไว้ในทับหลังของปราสาทหินพิมาย ในวนเสาร์ – อาทิตย์ที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16.00 – 18.00 น. ณ ลานพรหมทัตอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
• นิทรรศการเทิดพระเกียรติ ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองพิมาย การแสดงศิลปวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ชมชน และผลผลิตทางการเกษตร สินค้า OTOP
• การประกวดแมวโคราช (แมวไทย) ชนะเลิศถ้วยพระราชทาน เป็นกิจกรรมการประกวดแมวโคราช โดยเน้นที่ “แมวสีสวาด” หรือแมวมาเลศตามตำราแมวโบราณ แมวสีสวาดเป็นแมวดั้งเดิม และเป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอพิมาย
• การประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเยาวชน “พิมายคอนเทสต์” ชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ เป็นการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งเยาวชน “พิมายคอนเทสต์” กิจกรรมภาคกลางคืน ณ วิทยาลัยการอาชีพพิมาย ซึ่งถือเป็นเวทีที่เยาวชนในเขตภาคอีสานใฝ่ฝันที่จะขึ้นประกวดเพื่อพิสูจน์ความสามารถของตนเอง
สามารถติดต่อซื้อบัตรเข้าชม การแสดงประกอบ แสง เสียง วิมายนาฏการ ได้ที่ เทศบาลตำบลพิมาย โทร : 044-471121
เทศกาลเที่ยวพิมาย-นครราชสีมา-ประจำปี-2555--3973
เทศกาลเที่ยวพิมาย-นครราชสีมา-ประจำปี-2555--3973

ไปเด้อ ไปเที่ยวพิมายบ้านฉัน งานเทศกาลเที่ยวพิมาย วันที่ 8-11 พฤศจิกายน 2555 นี้ แล้วเจอกันเด้ออออ
งานเทศกาลเที่ยวพิมาย 2555 ในวันที่ 8 - 11 พฤศจิกายน 2555
งานเทศกาลเที่ยวพิมาย 2555 ในวันที่ 8 - 11 พฤศจิกายน 2555
ขอเชิญเที่ยวงาน เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 8-11 พฤศจิกายน 2555
ขอเชิญเที่ยวงาน "เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2555" ระหว่างวันที่ 8-11 พฤศจิกายน 2555
ที่มาจาก http://www.huso.kku.ac.th/ch/?p=9903

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย บ้านเรา

ประเพณีไทย เราคนไทยภูมิใจในความเป็นไทย

ประเพณีไทย ลอยกระทง
ตัวอย่างประเพณีลอยกระทง
เป็นที่รู้กันดีว่า ประเพณีไทยเรามีหลากหลาย และทั้งยังเป็นหน้าเป็นตาให้กับเมืองไทยเรามานาน เราซึ้งเป็นคนไทย ควรอนุรักษ์ประเพณีของเราไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และทราบถึงความเป็นมาของวัฒนธรรมไทยเราด้วย 
บล็อกนี้จะแสดงข้อมูลประเพณีไทย และยังเผยแพร่เกี่ยวกับประเพณีไทยไว้เพื่อเป็นความรู้ สาระแก่ผู้ที่สนใจและต้องการข้อมูลในส่วนนี้
อีกทั้งยังเป็น แหล่งเผยแพร่เกี่ยวกับประเพณีไทย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงประเพณีไทยทั้ง 4 ภาค เช่น ประเพณีภาคอีสาน ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคใต้ ประเพณีภาคกลาง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง