วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดูชิงร้อยชิงล้าน 9 ธันวาคม 2555 ย้อนหลัง 9/12/55

สวัสดี สำหรับแฟนชิงร้อย พลาดไม่ได้กับความฮาเช่นเคย


สำหรับอาทิตย์นี้ ชิงร้อยชิงล้าน 9 ธันวาคม 2555 เวลา บ่ายสามโมง
เรามีภาพตัวอย่างเรียกความฮากันก่อน รอดูสดๆหรือใครพลาดชมก็สามารถชมผ่านคลิปย้อนหลังได้





















ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ดูชิงร้อยชิงล้าน ย้อนหลัง 9 ธันวาคม 2555 ติดตาม “ชิงร้อย ชิงล้าน Sunshine Day” วันอาทิตย์ที่ 9 ธ.ค.นี้ บ่ายโมงตรง มาเร็วกว่าเดิม ทางช่อง 3 ติดตามชม



รายการ : ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day ออกอากาศ : 9 ธันวาคม 2555 รายละเอียด ชิงร้อยชิงล้าน ย้อนหลัง - ละครสามช่า เรื่อง “ร้ายหลอกหลอก อยากบอกว่ารัก” - แข่งเกม “สงครามแป้ง” - ท้าคนชนคลิป “พริ้วไหวกลางอากาศ” - ว้าว ว้าว ว้าว “ไข่พยากรณ์”

คลิปชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อย, ชิงร้อยชิงล้าน, ชิงร้อยชิงล้าน Sunshine Day, ชิงร้อยชิงล้าน ช่อง 3, ชิงร้อยชิงล้าน ซันชายเดย์, ชิงล้านย้อนหลัง 9 ธ.ค. 2555, ชิงล้านย้อนหลัง 9 ธันวาคม 2555, ดูคลิปชิงร้อยชิงล้าน, ดูชิงร้อยชิงล้าน, ดูชิงร้อยชิงล้านย้อนหลัง


เว็บเพื่อนบ้านเกี่ยวกับ
ชิงร้อยชิงล้าน 9 ธันวาคม 2555 ดูชิงร้อย 9/12/2555

การ์ดปีใหม่ 2556 การ์ดอวยพรปีใหม่สวยๆ 2556 หรือ 2013 พร้อมภาษา อังกฤษ

ภาพ การ์ด ปี ใหม่ 2556 New Year cards 2013
การ์ดปีใหม่ 2556 การ์ดอวยพรปีใหม่สวยๆ 2556 หรือ 2013 พร้อมภาษา อังกฤษ
เรามีทั้งแบบรูปภาพการ์ดปีใหม่ 2556และรูปแบบ flash การ์ดปีใหม่ 2556เพื่อให้ท่านได้
ส่งให้กับคนอื่นๆครับ
สำหรับ flash การ์ดปีใหม่ 2556นั้นให้ส่ง url ของหน้านี้ไปให้เพื่อนของคุณได้เลยครับผม
สวัสดีปีใหม่กันก่อนเลยครับ อิอิ


การ์ดปีใหม่ 2556 happy new year 2013


การ์ดปีใหม่ 2556


การ์ดปีใหม่ 2556/2013














การ์ดปีใหม่ 2556






การ์ดปีใหม่ 2556


การ์ดปีใหม่ 2556








 รูปแบบแรกนะครับ การ์ด ปี ใหม่ 2556 แบบเพลงเพราะๆกัน

แบบที่สองเป็นแบบเพลงสากลทั่วไปที่เป็บดนตรีบรรเลงครับ เพราะไม่แพ้กัน

แต่สำหรับผมแล้วชอบอันนี้ครับ การ์ดปีใหม่ 2556


และ


ช่วยส่งการ์ดปีใหม่ 2556หรือแชร์หน้านี้แก่เพื่อนของคุณเพื่อให้เขาได้ทราบกันว่า ปีใหม่ได้มาถึงแล้ว!!!

+++ทีมงานประเพณีไทย+++

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปีใหม่นี้ 2556/2013 จะมาถึงเตรียมบอกลา 2555/2012 กันได้เลย

สวัสดีครับ สวัสดีปีใหม่ 2556 ปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้หลายท่านคงรออยู่แน่ๆ เพราะมันจะเป็นการฉลองของใครหลายๆคน
ทุกคนเลยดีกว่า อิอิ หลายพื้นที่ทั่วไปคงมีชีวิตชีวาอัีกครั้งหลังผ่านสิ่งต่างๆมากมายตลอดปี 2555 หรือ 2012
แน่นอนแก่ขึ้นกันอีกหนึ่งปี แต่ขอให้มีความสุขยิ่งขึ้นไปตามจำนวนปีกันเลยนะครับ
เพราะไม่อยากเห็นใครทุกข์หรือไม่มีความสุขในแต่ละปีเลย

สวัสดีปีใหม่ 2556

อยากจะหนุนใจทุกคนให้เริ่มต้นใหม่กับชีวิตในแต่ละปี และตั้งเป้าหมายว่าเราจะทำอะไรบ้าง
เพื่อตัวเเอง ครอบครัว คนรอบข้างๆ อื่นๆ
และบอกลากับอดีตที่แสนจะเจ็บปวดสักเท่าใด เพราะอดีตมันก็คืออดีต มันได้ผ่านไปแล้ว
มีคนเคยบอกว่า อย่าเก็บอดีตมาทำร้ายเรา แต่จงให้อดีตนั้นเป็นบทเรียนเราต่อไปในอนาคต เพื่อเราที่จะไม่ทำผิดอีก และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด

หลายท่านอาจเคยฟังและได้ยินเรื่องพวกนี้มาเยอะในแต่ละปีๆ ที่ผ่านมา
ขอผมอยากจะท้าทายอีกอยากหนึ่งคือ
ทำในสิ่งที่ฝัน ในสิ่งที่รักชอบ หรือทำแล้วมีความสุข ให้ทำมันแบบสุดๆไปเลย
ชีวิตนี้เกิดมา ก่อนจะตายไป ให้เราได้ทำสุดๆ เพื่อความสุขสุดๆของเรานะครับ

ปีหน้า 2556 หรือ 2013 มาถึง สิ่งที่อยากจะเห็นมากที่สุดคือ
คนไทยทุกคนรักและสามัคคีกัน มีความปรองดอง น้ำใจต่อกัน ไม่เห็นแก่ตัว ช่วยเหลือแบ่งปัน
แต่สิ่งที่อยากเห็นนี้คงไม่ได้เห็นหาก เรายังไม่หาทางออกเดิมๆที่ติดอยู่
อย่างน้อยๆ ก็เห็นแก่ชาวไทยทุกคน พ่อแม่พี่น้องของท่านเอง รักกันมากๆครับ

สุดท้ายแล้ว อยากจะกล่าวคำว่า
สวัสดีปีใหม่ 2556 And Happy new year 2013



สวัสดี มีความสุขทุกคน
ทีมงาน ประเพณีไทย

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..

งูกินหางเป็นการละเล่นพื้นเมืองเก่า เล่นกันทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ พบว่ามีการเล่นงูกินหางกันแล้วในงานตรุษสงกรานต์ ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2475 คำว่า “งู” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “a snake” คำว่า “กิน” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “to eat” และคำว่า “หาง” ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “a tail” การเล่นงูกินหางเป็นการเล่นเลียนแบบชีวิตสัตว์ คือ เลียนแบบลักษณะท่าทางของงูที่มีลำตัวยาวเลื้อยคดไปคดมา นิยมเล่นในงานเทศกาล งานประจำปี และงานรื่นเริงต่างๆ ในสมัยก่อน



วิธีการเล่น "งูกินหาง" มาลงไว้แทน  ถ้าหากผิดพลาดขออภัยด้วย
หรือช่วยทักท้วงด้วยนะครับ

ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..









                                           
      พ่องู "แม่งูเอ๋ย  กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อโศกโยกไปโยกมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา"
พ่องู "แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน"
แม่งูและลูก "กินน้ำบ่อหิน บินไปบินมา"
พ่องู "กินหัวกินหาง กินกลางตลอดตัว"

การละเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์การเล่น

        หางงูที่ทำจากผ้าหรือกระดาษขมวดเป็นเกลียวยาวเท่าๆ กัน 2 หาง สนามที่และสนามเล่น สถานที่เป็นพื้นที่โล่งราบเรียบ ขนาดประมาณ 15 x 15 เมตร สนามเล่นทำเส้นเป็นวงกลมรัศมี 6 เมตร


วิธีการเล่น  แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย  ฝ่ายที่หนึ่งเป็นพ่องูหนึ่งคน  ฝายที่สองเป็นแม่งูหนึ่งคน และเป็นลูกงูไม่จำกัดจำนวนคนโดยลูกงูจะเกาะเอวแม่งูไว้และคนอื่นๆ
ก็เกาะเอวต่อๆ กันไปจนครบตัวผู้เล่น
เมื่อเริ่มเล่น  พ่องูจะถามว่า  "แม่งูเอ๋ย"  แม่งูจะตอบว่า "เอ๋ย"  พ่องูถามต่อว่า "กินน้ำบ่อไหน"  ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อโศก" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "โยกไปก็โยกมา"
พร้อมกับโยกตัวตามไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้าบ่อหิน" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "บินไปก็บินมา" พร้อมกับกางแขนออกทำท่าบินไปด้วย    ถ้าแม่งูตอบว่า "กินน้ำบ่อ
ทราย" ลูกงูทุกตัวจะร้องว่า "ย้ายไปก็ย้ายมา" พร้อมกับส่ายไปในลักษณะงูเลื้อย  เมื่อถึงตอนท้ายพ่องูจะถามว่า "กินหัวหรือกินหาง"  แม่งูจะตอบว่า "กินกลางตลอดตัว"
พ่องูก็จะไล่จับลูกงูตัวที่อยู่ท้ายสุด  แม่งูก็พยายามกางแขนป้องกันลูกงูเอาไว้  ลูกงูก็จะพยายามวิ่งหนีพ่องู  เมื่อจับลูกงูได้แล้วลูกงูตัวนั้นก็ออกไปนั่งพัก  การเล่นก็จะ
ดำเนินต่อไป จนกว่าพ่องูจะจับลูกงูได้ครบหมดทุกตัว


ประเพณีไทย การละเล่น งูกินหาง แม่งูเอ๋ย (เอ๋ย) กินน้ำบ่อไหน..




วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การละเล่นเด็กไทย ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มาทำไม....

ตะล๊อกต๊อกแต๊ก
ตะล๊อกต๊อกแต๊ก

เด็กๆ ชั้นประถมต้นสมัยก่อน พอกินข้าวกลางวันเสร็จ ก็มักรวมกลุ่มกันเล่น รอเวลาเข้าเรียนตอนบ่าย มีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ตะล๊อกต๊อกแต๊ก” คนเล่นจะมีมากเท่าใดก็ได้
แต่ต้องไปยืนรวมกลุ่มกันบนพื้นดินที่ขีดเป็นรูปคล้ายขวด มีตัว “ผี” ทำทีมายืนรอตรงปากขวด แล้วเริ่มเคาะประตู (ทำเสียงเคาะ) “ตะล๊อกต๊อกแต๊ก” (คนในขวดถาม) “มาทำไม” (ผีตอบ) “มาซื้อดอกไม้” (คนในขวดถาม) “ดอกอะไร” (ผีตอบ) “ดอก ฯลฯ” ตอนนี้ก็จะโต้ตอบกันไปเรื่อยๆ โดยฝ่ายคนจะตอบว่าไม่มีดอกที่ถาม แต่ถ้าเกิดมีขึ้นมา (ตรงนี้ไม่แน่ชัดว่ากำหนดกันอย่างไร) ฝ่ายคนก็จะต้องไปเปิดประตู เมื่อต่างฝ่ายพบกันแล้ว ฝ่ายคนจะเริ่มตั้งข้อสงสัยทำนองว่า “ทำไมเล็บยาว, ทำไมแต่งชุดขาว, ทำไมผมยาว, ทำไมมีเขี้ยว” เป็นต้น ซึ่งผีจะตอบได้ทั้งสิ้น แต่ครั้นคำถามสุดท้ายถามว่า “ทำไมตาโบ๋” ผีจะตอบไม่ได้ และจะแสดงตัวทันทีโดยพูดด้วยน้ำเสียงเย็นๆ ว่า “เพราะฉัน..เ..ป็…น……ผี !”
ตอนนี้ฝ่ายคนจะแตกฮือออกจากพื้นที่รูปขวด โดยมีผีวิ่งไล่กวดไปติดๆ แต่ละคนต้องพยายามกลับเข้าทางรูปากขวดให้ได้ เมื่อกลับเข้าได้ครบก็เป็นอันจบรอบการเล่น แต่หากผีคว้าจับใครได้ คนนั้นก็จะต้องมาเล่นเป็นผีแทนในรอบหน้า โดยมาก ผีจะหมายตาไว้อยู่แล้วว่าจะจับคนที่วิ่งช้ากว่าเพื่อน ซึ่งคนคนนั้นก็ยังพอมีทางรอดได้ (แต่เอาเปรียบเพื่อนๆ หน่อย) คือเมื่อจวนตัว ก็ให้วิ่งชนเข้าไปที่ขวด (คือไม่เข้าทางรูปากขวด) ให้ขวดแตก เพื่อนๆ ที่เข้าไปรออยู่ในนั้นก็ต้องออกมาวิ่งหนีผีกันใหม่ และต้องพยายามเข้าไปทางรูปากขวดอีกครั้ง เรียกว่าใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจให้ผีไปเลือกจับคนอื่นๆ บ้างนั่นเอง

ตะล๊อกต๊อกแต๊กนี้ เล่นได้ทั้งเด็กชายเด็กหญิง และยังพบว่ามีเล่นกันตามโรงเรียนประถมในต่างจังหวัดอยู่
 (ชวิน ถวัลย์ภิยโย, ลูกหลานชาวพัทลุง, เมษายน ๒๕๔๘)

ตะลอกต๊อกแต๊ก  มาทำไม
                             มาซื้อดอกไม้
                             ดอกอะไร
                             ดอกจำปี    ไม่มี
                             ดอกจำปา  ไม่มา
ตะล๊อกต๊อกแต๊ก มาทำไม.


การละเล่นเด็กไทย เล่นว่าว การแข่งว่าว เมื่อยามหนาวมาถึง


การเล่นอีกอย่างหนึ่งที่เด็กผู้ชายยุคไอ้จุกไอ้แกละนิยมกัน  โดยเฉพาะคนอยู่ต่างจังหวัด หรือถ้าอยู่ในเมืองหลวงแต่มีที่ว่างๆแถวบ้านให้เล่น ก็เล่นกันสนุกสนานตอนเย็นๆ
คือเล่นว่าว
เมื่อดิฉันยังเด็ก  ทางรถไฟช่องนนทรีหลังบ้านเป็นที่กว้าง ลมแรง  มีเด็กแถวบ้านเอาว่าวมาเล่นกัน    ถึงฤดูลมว่าว  มองจากหน้าต่างชั้นบน เห็นว่าวหลายตัวลอยลมอยู่บนฟ้า สีสันสดสวย  มีหางยาวไหวริกๆตามลม  
เดี๋ยวนี้อยู่ทาวเฮาส์ กับคอนโด กันมาก  ที่ว่างก็หายาก   เด็กผู้ชายยุคนี้คงไม่รู้จัก "ส่งว่าว" หรือ "ผ่อนสายป่าน" เมื่อว่าวถึงลมบน   กันแล้ว

ใครเคยทำ "ป่านคม" บ้าง?

การละเล่นเด็กไทย เล่นว่าว เมื่อยามหนาวมาถึง

วิธีการทำป่านให้คมตามกรรมวิธีของผม  เริ่มแรกต้องซื้อด้าย( ซึ่งต้องเป็นด้ายตราสมอด้วย) สองหลอดหรืออาจจะถึงสามหลอด (สำรองเผื่อแพ้ถูกเขาตัดขาด)
กาวหนังควายชิ้นใหญ่ๆ หนึ่งชิ้น  หลอดฟลูออเรสเซนต์หนึ่งหลอด  กระป๋องไมโลหนึ่งกระป๋อง  น้ำพอประมาณ ผ้าสะอาดหนึ่งชิ้น

ทุบหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ  ใส่ครกตำให้ป่นมากที่สุดจนเหมือนแป้ง
เอาน้ำใส่กระป๋องต้มบนเตาไฟให้เดือด ใส่กาวหนังควายลงไป  เคี่ยวจนกาวละลายเหนียว  ใส่ผงฟลูออเรสเซนต์ลงไป  กวนให้เข้ากันดี อย่าให้เหนียวมาก  และอย่าให้ใสเกินไป
อันนี้แล้วแต่เทคนิกของแต่ละคน
เอาไม่รวกสองอันมาปักเป็นหลักห่างกันพอประมาณ  จากนั้นนำหลอดด้ายใส่ลงไปในกระป๋องกาว  นำปลายด้ายมาผูกไว้ที่หลักใดหลักหนึ่ง  รอจนกาวคลายความร้อนพอที่มือเรา
จะทนได้   นำผ้าสะอาดชุบที่กาวรูดไปที่ด้ายเดินวนไปตามหลักที่ปักไว้  ระวังอย่าให้เป็นตุ่มปม  จนด้ายหมดหลอด  รอจนด้ายแห้งซึ่งตอนนี้เรียกว่าป่านแล้ว  ม้วนเก็บใส่แกนซึ่ง
อาจจะเป็นปล้องไม่ไผ่ หรือกระป๋องนม  ขั้นตอนนี้ต้องระวังมากเพราะป่านจะคมจนบาดนิ้วเราได้โดยแทบไม่รู้สึกตัว เป็นอันเสร็จกรรมวิธี

ต่อไปก็นำเอาป่านไปผูกกับคอซุงของว่าว  แล้วก็ชักขึ้นไปบนท้องฟ้า  คราวนี้ก็แล้วแต่ฝีมือละครับ  ใครดีใครอยู่
แต่ป่านของผมจะใช้มือเปล่าๆ เล่นไม่ได้โดยเด็ดขาด  รับรองว่าถ้าสาวผิดพลาดนิดเดียวเนื้อเหวอะแน่  อย่างน้อยต้องมีปลาสเตอร์พันรอบนิ้วชี้ขวา-
ซ้ายตลอดเวลา  เพราะต้องคอยกระตุกว่าวเป็นระยะๆ เพื่อกะจังหวะการโฉบ  จะต้องพยายามรักษาว่าวให้อยู่สูงกว่าคู่ต่อสู้เสมอ  เมื่อจังหวะดีเราก็
โฉบเข้าหา  แล้วผ่อนว่าวอย่างรวดเร็วทับป่านของคุ่ต่อสู้  แล้วผ่อนกระตุกเป็นจังหวะ  ได้จังหวะว่าวกินลมก็ผ่อนยาวไปเลย  รับรองรายไหนรายนั้น
ไม่มีเหลือ  แต่ถ้าคู่ต่อสู้ทันกัน  ผ่อนตาม  คราวนี้ก็เหลือแต่ว่าสายป่านของใครยาวกว่า  คนที่สายป่านยาวกว่ามักจะเป็นผู้ชนะในตอนท้ายเสมอ  แต่
ถ้าเราเป็นฝ่ายทาบบน  เราก็ยังมีโอกาสหนีได้ครับ  แต่ถ้าถูกเขาทาบและสายป่านเราสั้นกว่าก็ เอวัง ครับ

อาวุธของว่าวจุฬา คือ จำปา ติดไว้ที่ปลายสายป่านว่าว เป็นตะขอไว้สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า และลูกดิ่ง

ส่วนอาวุธของว่าวปักเป้า คือ เหนียง โดยทำเชือกห้อยไว้เพื่อสำหรับคล้องว่าวจุฬา

ว่าวจุฬา

ว่าว
ให้ดูอาวุธของว่าวปักป่าว เรียกว่า จำปา

ของโบราณทำด้วยหนามหวาย นำมามัดเข้าด้วยกัน ๑ มัดประมาณ ๑๐ หนามหวาย มีความคมมาก สามารถเกี่ยวสายป่านว่าวปักเป้า

ของปัจจุบันนิยมนำจากไม้ไผ่เหลา นำมามัดเข้าด้วยกัน

จำปา

ส่วนว่าวปักเป้า เวลาแข่งขันจะใส่หางให้ เพื่อให้ถ่วงบังคับได้ง่าย อาวุธของว่าวปักเป้าคือ เหนียง ซึ่งก็คือสายป่านที่ห้อยย้อยลงมา เพื่อให้คล้องหัวว่าวจุฬาได้

คำว่า "เหนียง" เราเลยมาใช้กับคนสูงอายุ ที่ถุงใต้คอห้อยยาน เรียกว่า เหนียงยาน

เหนียงยาน

เล่นว่าว

ก่อนอื่นคือ   ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม  ว่าวธรรมดาที่ไม่ได้ทำมาเพื่อใช้แข่ง ใช้ชักเล่นเพื่อสนุกสนาน เราจะไม่ไปข้องแวะกับเขา เพราะเขาไม่ได้ใช้ป่าน  ถ้าป่าน
ของเราไปถูกด้ายของเขานิดเดียวก็ขาดผล็อยแล้ว  ต่างกับป่านที่ผมได้อธิบายให้อาจารย์ทราบไปแล้วนั่นจะเหนียวและคม
การตัดกันจะมีหลายลักษณะ  ไม่จำเป็นต้องขวางเฉียงเสมอไป  จังหวะการทาบล่างทาบบนก็สำคัญ  แต่ถ้าเรามั่นใจว่าป่านเรายังใหม่และคม-เหนียว อย่างแน่นอน  เราก็
ท้าชนได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องนั้น  อาจจะโฉบพันเลยเพื่อตัดสินกันในคราวเดียว  เขาเรียกมวยหมัดหนัก ไม่ให้คู่ต่อสู้หนีเพราะป่านพันกันอยู่  ในกรณีนี้ป่านเราต้องใหม่จริงๆ
ไม่ใช่ใช้ตัดกันมาหลายครั้งแล้ว
ส่วนกระทบกันแล้วจะขาดเลยหรือไม่มันอยู่ที่จังหวะ  โดนสายซุง คอซุง ขาดทันที  ทำป่านไม่ดีมีตุ่ม มีปม ป่านติดตุ่มหรือปมก็ขาดเกือบจะทันที
ส่วนการถูสายป่านอย่างที่อาจารย์กล่าว  มันอยู่ที่จังหวะฝีมือและความคงทนของสายป่าน  ถ้าจังหวะที่เขาสาวแต่เราผ่อนก็แทบจะรู้ผลกันในตอนนั้นเลย คือการเสียดสีกันอย่าง
รุนแรงเกิดขึ้นในขณะนั้น
ส่วนการผ่อนสายป่านยาวจะเกิดขึ้นในกรณี หนีกันไม่ออก อันเกิดจากสายป่านพันกัน และป่านเหนียวคมพอกัน  เราจะต้องค่อยๆ ผ่อน ค่อยๆ ดึงเป็นจังหวะ  ปลายนิ้วเราจะต้อง
แตะสัมผัสกับสายป่านเพื่อรับความรู้สึกสั่นสะเทือนที่ผ่านมาตามสายป่านว่าอยู่ในลักษณะใด  กรณีนี้เกิดขึ้นยาก  แสดงถึงฝีมือที่ทัดเทียมกันจริงๆ  อาจารย์อาจจะไม่เชื่อถ้าผม
บอกว่าบางครั้งสู้กันจนมองเห็นว่าวตัวเล็กกว่านกกระจอกแล้วยังไม่แพ้ชนะกันเลย  แยกไม่ออกว่าว่าวใครเป็นว่าวใคร
และการผ่อนสายป่านอย่างรวดเร็วจะมีหลายกรณี  หากว่าวเราอยู่สูงแล้วเราโฉบเข้าหาคู่ต้อสู้ปักดิ่งเข้าไปหา  โดยปกติคู่ต่อสู้จะโฉบหนีเพราะอยู่ในสภาพเสียเปรียบ  แต่ถ้าเกิด
ความผิดพลาดว่าวไม่เป็นใจ หนีไม่ทันถูกเราทาบได้ แล้วเราผ่อนสายป่านยาวโดยทันที ก็เหมือนเราเอาใบเลื่อยไปตัดเขานั่นแหละครับ

สาระดีๆจากท่าน willyquiz ท่าน siamese รวมไปถึงเว็บของอาจารย์ เทาชมพู ด้วยจ้า....


ประเพณีไทย การละเล่นรีรีข้าวสาร - รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก...


เล่น รีรีข้าวสาร
การเล่นรีรีข้าวสาร เป็นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนประเภทหนึ่ง นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ ไม่มีอุปกรณ์การเล่น แต่มีกติกาและวิธีการเล่นดังนี้
เวลาเล่นจะแบ่งเป็นสองพวก พวกแรกสองคนยืนจับมือกันสองข้างแล้วชูเหนือหัวคล้ายประตู
อีกพวกกี่คนก็ได้เดินจับตัวกันเป็นแถวแล้วลอดใต้โค้ง เดินวนอ้อมไปด้านหลังสองคนแรก แล้วลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ
ระหว่างเดินทุกคนก็จะร้อง "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี"
จบเพลงสองคนที่จับมือเป็นโค้งประตูก็จะกระตุกมือลงอย่างรวดเร็ว กักเอาคนที่อยู่ตรงหน้าไว้
คนที่ถูกกักตัวได้ถือว่าออก ไปตบมือร้องเพลงรีรีข้าวสารเชียร์เพื่อนๆ ลุ้นว่าใครจะออกเป็นคนต่อไป
เล่นไปจนหมดตัวเล่น
รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร


รีรีข้าวสาร


ประโยชน์จากการเล่น

        เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
1. เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
2. ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
3. หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
4. หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้



Clip รีรีข้าวสาร

การละเล่นโพงพาง - โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง


   โพงพางเอย                   ปลาเข้าลอด
                                   (อ้าย) ปลาตาบอด            เข้าลอดโพงพาง

    และมีอีกหนึ่ง version ที่ร้องว่า
                                 
                                  โพงพางเอย                  นกกระยางเข้าลอด
                                   เสือปลาตาบอด               เข้าลอดโพงพาง

     แต่สำหรับกลุ่มของผมที่เล่นตอนเป็นเด็กจะร้องทั้งสอง version เลย

     การละเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
     วิธีการเล่นคือ  เสี่ยงทายหาผู้แพ้เพื่อที่จะมาเล่นเป็นปลาหนึ่งคน  จากนั้นนำผ้าผืนหนึ่งมาผูกตาปลาให้มิดชิด  จับปลาหมุน 3-4 รอบ  แล้วเด็กคนอื่นๆ ก็จับมือกัน
เดินวนรอบตัวปลาพร้อมกับร้องเพลงโพงพางไปด้วย  เมื่อเพลงจบเด็กทุกคนก็จะนั่งลงพร้อมกันยกเว้นปลา  แล้วถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย" ถ้าปลาตอบว่า "ปลาเป็น"
เด็กก็จะลุกขึ้นนั่งสลับที่กัน  แต่ถ้าปลาตอบว่า "ปลาตาย" เด็กทุกคนก็จะนั่งนิ่งๆ  ปลาก็จะเข้ามาคลำใบหน้าเด็กที่นั่งอยู่รอบๆ  เพื่อจะทายว่าเป็นใคร  ถ้าทายผิดปลาก็จะ
ต้องเป็นปลาต่อไป  ถ้าทายถูก คนที่ถูกจับได้ก็จะมาเป็นปลาแทน

การละเล่นโพงพาง - โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง


ตี่จับ ประเพณีไทย ที่เด็กไทยหลายคนชื่นชอบ


เล่น ตี่จับ
การเล่นแบ่งเป็น 2 ฝ่ายจำนวนเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวหรือ "เป้ายิงฉุบ" ว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน
ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยส่งพวกของตนเองหนึ่งคน เป็นคนเข้าไปตี่
คนตี่จะต้องกลั้นหายใจแล้วส่งเสียง "ตี่..." วิ่งเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม
ฝ่ายตรงข้ามต้องคอย จับยึด ดึงตัวคนตี่ไว้ ไม่ให้วิ่งกลับไปเข้าแดนตัวเองได้ จนกว่าคนร้องตี่กลั้นลมหายใจต่อไม่ไหว จะหมดเสียงตี่
คนนั้นต้องตกเป็นเชลย ของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าคนตี่สามารถหนีกลับเข้าแดนตนเองได้
โดยใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะที่เส้นเขตแดน (ส่วนใหญ่จะเป็นเท้า เพราะตัวจะถูกฉุดรัดอยู่)
คนที่กอดรัดดึงตัวคนตี่อยู่ จะกี่คนก็ได้ ต้องไปเป็นเชลยของฝ่ายตี่
ฝ่ายเชลยก็ต้องส่งคนมาช่วย โดยส่งคนมาตี่ เข้าไปช่วยเชลยกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้อง คอยกันไม่ให้แตะกันได้
ถ้าแตะกันได้เชลยก็จะได้กลับแดนของตน เล่นสลับกันไปเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นถูกจับเป็นเชลยหมด ถือว่าแพ้...

ตี่จับ ประเพณีไทย ที่เด็กไทยหลายคนชื่นชอบ

ตั้งเต การละเล่นของเด็กไทย ที่ควรบอกต่อ


เล่น ตั้งเต
ก่อนอื่นต้องมีเรียบๆ เช่นถนน ในบริเวณโรงเรียน พื้นกระดานหลังห้องเรียน ลฯ
อุปกรณ์คือ ชอล์ก จากกระดานดำหน้าห้องเรียนค่ะ
แล้วก็ขีดตารางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลายๆ ช่อง
บางช่างมีขีดคั่นตรงกลาง ด้านบนทำโค้งๆ เรียกว่า หัวกะโหลก
เวลาเล่น ผู้เล่นกระโดดขาเดียวเข้าไปยืนในช่องสี่เหลี่ยม
ถ้าช่องไหนมีเส้นขีดคั่นตรงกลาง แบ่งช่องสี่เหลี่ยมออกเป็นสองช่อง
ก็ยืนสองขาได้ โดยวางขาลงในช่องที่ถูกขีดคั่นทั้งสองช่อง
กระโดดไปเรื่อยๆ จนถึงหัวกระโหลก ให้กลับหลัง แล้วกระโดดกลับมาที่จุดเริ่มต้น
คนต่อไปก็กระโดดบ้าง...วนไปเรื่อยๆ เหนื่อยน่าดูเลยค่ะ...
ตั้งเต การละเล่นของเด็กไทย ที่ควรบอกต่อ


การละเล่นพื้นบ้าน ของเล่นสนุกๆประเพณีไทย การละเล่นหมากเก็บ

ประเพณีไทย การละเล่นหมากเก็บ



หมากเก็บ
จำนวนผู้เล่น 2 - 4 คน
วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้
"ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู" เมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง
บทร้องประกอบ "ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ"


เก็บตก ภาพนางนพมาศ ประจำปี 2555 ให้คะแนนเต็ม 10


วันนี้ขอนอกเรื่องประเพณีไทยก่อนนะครับ เพราะภาพนี้ก็น่าจะเกี่ยวกับประเพณีไทยหรือเปล่า ต้องชมกัน
ก่อนจะชมภาพฟังเสียงคอมเมนต์จาก facebook กันก่อนเลย

สุรดิษ ตั้งเจียวลี้ ชนะแน่
November 28 at 5:09pm · Like · 1

Thanaphorn Siribut กรี๊ดดดดด
November 28 at 5:09pm · Like

เนย ปวีณา สวยเว่อร์คร๊
November 28 at 5:09pm · Like

บอล ศิวกร เพลย์บอย ชอบคนนี้อ่า
November 28 at 5:10pm · Like

Guy Jaja เฮ้ย...........แค่เห็นก็...........สยองขวัญแล้วล่ะครับ
November 28 at 5:10pm · Like

เอ็ม ครับ สวยสาดด
November 28 at 5:10pm · Like

Oui Suwinadda Ph เริ่ดด !! ค่ะ
November 28 at 5:11pm · Like

Ruttysk Coke คนหรือนี่
November 28 at 5:11pm · Like

Anusorn Mai สวยงามมากกกกกก
November 28 at 5:12pm · Like

Nu Jean 555+
November 28 at 5:13pm · Like

Nu Jean ตัว รัย อะ้
November 28 at 5:13pm · Like

Sumali Trilam สวยเวอร์ ชนะแน่ 555+
November 28 at 5:13pm · Like

ดับเบิ้ล มิ้นท์ ที่หนึ่ง
November 28 at 5:14pm · Like

รักเธอ ชั่วนิรันดร์ ตัวไหรอ่ะ(โปรดอ่านเป็นภาษาใต้ค่ะ) ((คำตอบตัวเฮี้ย))
November 28 at 5:14pm · Like

Numtarn Kusuma อุบะ
November 28 at 5:19pm · Like

Krissada Noocharoen รางวัลน่าจะเป็นของเซ่นไหว้ แบบว่าดิบๆ อ่ะ...
November 28 at 5:20pm · Like · 1

เพชร สมาคม แก๊งสามเหล่า 555+
November 28 at 5:22pm · Like

เหลือไว้แค่ ความทรงจำ แหมทำไปด้าย
November 28 at 5:23pm · Like

อิ่มจัง จอมพลังแห่งยุทธภพ เฮอ..... เห็นแล้วเพลีย..
November 28 at 5:23pm · Like

Took Tik ง่ะ!!!!!ท่าเจอต้องเผลอทีบแน่ๆ
November 28 at 5:26pm · Like

Porntip Pakdee เรียกว่าตัวรัยค่ะ..???
November 28 at 5:27pm · Like

Phonyanuch Kook 55555
November 28 at 5:28pm · Like

Phonyanuch Kook ไม่ลอยกระทงแล้ว..แบบนี้เรียกลอยกระเทย 555555
November 28 at 5:29pm · Like

ไหนว่าจะไม่ หลอกกัน นึกว่าครุฑ
November 28 at 5:31pm · Like · 2

Khunkrua Ortip ลอยๆอยู่เจอแบบนี้เดินมาแม่จะตีให้ขาเสีย!!
November 28 at 5:37pm · Like · 1

Waritsara Chensarikit 555555 น่ากลัวๆๆๆ
November 28 at 5:41pm · Like

กัญญา สุขกล้า เจอกลางคืนวิ่งแน่ๆๆ
November 28 at 5:41pm · Like

ยัยตัวร้าย จิบิจิบิ สวยมากเหอๆ
November 28 at 5:48pm · Like

ปรมาพร แสงสุกวาว น่ากลัวจัง
November 28 at 6:04pm · Like

Ploypim Aongfong ขอถ่ายรูปคู่หน่อย
November 28 at 6:06pm · Like

Vin Smile Vin Smile 555+ น้ามันเปนรัยที่น่กลัว มว๊ากก ^^
November 28 at 6:09pm · Like

ขุนเฉิ่ม ประคำเหล็ก แมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม๋..........ช่วยด้วยยยยยยย..
November 28 at 6:16pm · Like

Romzai Maitarat เอาคะแนนความฮาไป
November 28 at 6:55pm · Like

Phattharawadee Phokham 55555
November 28 at 6:59pm · Like

Kamol Naksiri โอ้โฮ๊ นี่นางนพมาศหรือ.........
November 28 at 8:20pm · Like

Yongyut Sriurai นางผีตานี
November 28 at 8:35pm · Like

พรรณทิพย์ภา อินทร์มา นาง น่า จิ ไป กำ เนิด ไหม่
November 28 at 8:53pm · Like · 1

Kwan Kung งาม มากกกกกก
November 28 at 9:09pm · Like

ธร ธร ให้ไปเดินคู่กับอ.แจ๊คลอยกระทงคืนนี้หลังเที่ยงคืนเป็นงัยแหร่มเลย:p
November 28 at 9:16pm · Like

อินฐหวา อินทัซ ภูตแม่น้ำโขงชัดๆ
November 28 at 9:52pm · Like

Apinya Koratnakorn สวย_ไปหมด
November 28 at 11:09pm · Like

P-Milk PH ผีฟ้า.... นี่นา
November 28 at 11:13pm · Like

Chatchawal Paotong ตัว เชี้ย ไร
November 29 at 5:02am · Like · 1

June Accounting น่ารักครี
November 29 at 8:48am · Like

มุตตา ออโต้พลัส น่า ทีบ อ่ะ
November 29 at 8:55am · Like

MNira Plus นาายแน่มากกก
November 29 at 8:56am · Like

Chaweewun Pratumma มาจากไหนเนี้ย น่ากลัว
November 29 at 1:20pm · Like

สมชาย นิ่มเรือง ได้รางวัลแน่ๆ
November 29 at 1:30pm · Like

Nattacha Pintunibat น่ากลัวมากก
November 29 at 5:01pm · Like

Niraya Klangboet ละครลิง
November 29 at 5:53pm · Like

Wini Suramart เข้าใจคิดนะ
November 29 at 6:48pm · Like

ลักษณ์ จิ๊กกี้จัง สวยมากกกก อิอิ
November 29 at 7:03pm · Like

Jiranan Saetan เกิดมายังไม่เห็นใครสวยเท่านี้เล 555
November 29 at 7:52pm · Like

Chuenarom Tharawas ไป ๆๆ ไปกะคนในรูปใล่ม๊า..เดี๋ยวอาบน้ำก่อนนะ รอแป๊บบบบ
November 29 at 10:09pm · Like

Chota Chotasiri น่ากลัววว จัง+
November 30 at 11:28am · Like

พัด ซาตาน ตัวพ่อ หน้ารักจัง
November 30 at 8:13pm · Like

Chaweepan Suangkiattikun แอดมิน หน้าตาอย่างนี้นี่เอง 555
December 1 at 9:15pm · Like

Supoj Suebthawinkul ตกใจหมดเลย ทำไมทำกันอย่างนี้
December 1 at 9:51pm · Like

A-paul Garcia hahahhahahaha
Sunday at 12:53pm · Like


และแล้ว ท่าจะได้พบกับ นางนพมาศปีนี้ครับ
พร้อมกันหรือยัง



ภาพนางนพมาศ ประจำปี 2555 ให้คะแนนเต็ม 10
เดินไปเจอกลางคืนนี่ถึงกับหลอน wanwan009  wanwan035กันเลยนะครับ ห้าๆๆๆๆ
wanwan004 wanwan019


ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีไทย

ท่านมองประเพณีไทยเราเป็นอย่างไร คิดถึงเรื่องอะไร แล้วท่านเข้าใจที่มาที่ไปของประเพณีไทยหรือยัง
จริงๆแล้วจะเอาอะไรมาตัดสินคำว่าประเพณีไทยแท้ๆนั้นยากครับ สรุปมาว่าถูกต้องนะ ไม่ถูกนะ ก็ไม่ได้ทั้งหมด
คนไทยหลายคนยังเข้าใจว่า ประเพณีไทยนั้นเป็นของไทยแท้ๆ หรือหลายคนยังสงสัยอยู่
จริงๆแล้ว ประเพณีไทยเรานั้นได้รับอิทธิพลมาจากหลายชาติครับ เช่น ลาว มาลายู อินเดีย และอื่นๆ
และส่วนมากแล้วล้วนมาจากเรื่องของศาสนานั่นแหละ และคนไทยได้นำมาใช้ในไทยเรา ประยุกต์ให้เข้ากับคนไทย เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก และยังทำกันมายาวนาน สืบทอดกันมาเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น
แล้วเรียกมันว่า ประเพณีไทยนั่นเอง


ประเพณีไทย
ประเพณีไทย

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีทั่วไทย ประเพณีไทย 4 ภาค ฉบับย่อ


ประเพณีไทยภาคเหนือ
 ประเพณีไทยภาคเหนือ
ประเพณีสลากภัตร
พุทธศาสนิกชนทาง
ภาคเหนือเรียกประเพณีสลากภัตรว่า “ทานสลาก” หรือ “กินสลาก” หรือ “ทางก๋วยสลาก” โดยเฉพาะคำว่า “ก๋วย” แปลว่า “ตะกร้า” หรือ “ชะลอม” พิธีดังกล่าวนี้จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน 10 แรม 15 ค่ำ เป็นต้นไปจนถึงวันเดือน 11 แรม 8 ค่ำ โดยจัดให้มีขึ้นทุก ๆ วันผลัดเปลี่ยนกันไป
ครั้นในเมื่อวัดจะมีการถวายสลากภัตรกันขึ้นเจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ ก็จะนิมนต์พร้อมกับเชิญชวนไปยังเจ้าอาวาสวัดอื่น ๆ ตลอดทั้งยังได้แจ้งไปให้คณะศรัทธาชาวบ้านให้มาร่วมในงานด้วย เมื่อถึงวันถวาย ก็จะได้เตรียมเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม เช่น หมาก เมี่ยง บุหรี่ ไม้ขีดไฟ หอม กระเทียบ สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ข้าวสาร น้ำตาล และน้ำอ้อย เป็นต้น แล้วต่างก็นำมารวมกันไว้ในบริเวณวัดที่ได้จัดให้มีการถวายสลากภัตร เฉพาะเครื่องไทยทานได้บรรจุลงในรูปสัตว์ต่าง ๆ โดยใช้ไม้จักสาร เช่น ทำเป็นรูปช้าง ม้า วัว ควาย และเสือ เป็นต้น จากนั้นก็ได้นำใบลานหรือใบตาลมาเขียนคำมุทิตา เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เฉพาะใบลานหรือใบตาลที่กล่าวมานี้ ชาวพื้นเมืองพากันเรียกว่า “เส้นสลาก” ก่อนที่จะมีการเส้นสลาก ก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย 1 กัณฑ์ ต่อจากนั้นก็มีการผสมรวมเส้นสลากที่มีผู้นำไป แล้วนับจำนวนสลากกับแบ่งสลากให้เท่ากันกับจำนวนพระภิกษุและสามเณร ต่อจากนั้นผู้ทีไปทำบุญในวันนั้น ก็จะพากันออกไปเที่ยวค้นหาเส้นสลากของตนต่อไป เมื่อหาสลากพบแล้วก็จะขอร้องให้พระภิกษุ และสามเณรอ่านข้อความในใบลานนั้นในฟัง ถ้าเป็นสลากของตนก็จะถวายเครื่องไทยทานที่เตรียมมานั้นให้ท่านไป ท่านก็จะสวดมนต์ให้ศีลให้พร

อนึ่ง เฉพาะสลากใหญ่ เรียกว่า “สลากหลวง” ชาวบ้านนิยมและพากันเรียกว่า “สลากโชค” มักจะ ตั้งอยู่กับที่เพราะใหญ่โตมีของมากมาย ประเพณีการทานสลากเป็นประเพณีใหญ่ ที่ต้องใช้เงินและเวลามาในการแต่ง อนึ่งมีบางเมืองในภาคเหนือเช่น ที่อำเภอเมืองลำพูน มีประเพณี “การทานสลากย้อม” ตั้งรวมพิธีอยู่ในประเพณีสลากภัตรด้วย ประเพณีการทานสลากย้อมนี้ นิยมถือกันว่าเป็นหน้าที่ของหญิงสาวโดยเฉพาะ นั่นคือ เมื่อหญิงคนใดมีอายุแตกเนื้อสาวที่สามารถพอจะทำงานหาเงินรวมได้แล้ว พ่อแม่ก็จะแนะนำให้ทราบถึงหน้าที่ของหญิงสาวที่จะพึง ปฏิบัติเป็นเบื้องแรก คือการให้รู้จักเก็บหอมรอมริบด้วยการหาเงินด้วยน้ำพักน้ำแรงรักษาไว้เพื่อทานสลากย้อม หญิงนั้นก็ยังไม่ควรจะแต่งงาน ถ้ามีพิธีทานสลากย้อมแล้ว ถือว่าถ้าแต่งงานไปจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้ โดยหญิงสาวนั้นเริ่มจะมัธยัสถ์เพื่อเตรียมเก็บเงินไว้จนกระทั่งสามารถรวมหาเงินซื้อสร้างคอทองคำ เข็มขัดเงินและเครื่องเรือนจนครบทุกชนิด นอกจากนั้นก็จะมีผลไม้ต่าง ๆ กล้วยก็ใส่ทั้งเครือ มะพร้าวก็ใส่ทั้งทะลาย พร้อมทั้งขนมต่าง ๆ อีกมากมาย เฉพาะ “ต้นสลากย้อม” นั้น นิยมทำสูงประมาณ 5-6 วา แล้วก็จะปักร่มไว้ที่ปลายยอดและตามเชิงชายของร่ม จะห้อยย้อยไปด้วยสร้อยคอและเข็มขัด ตลับเงินและเหรียญเงินประดับประดาอย่างสวยงาม โดยเฉพาะลำดับของสลากย้อมใช้ฟางมัดล้อมรอบ เพื่อง่ายแก่การปักไม้สำหรับแขวนผลไม้และสิ่งของต่าง ๆ ตามแต่เจ้าภาพจะปรารถนา อนึ่งการแต่งสลากย้อมนั้นช่วยกันทำกันร่วมเดือน กระดาษสีที่นำไปแปะติดและประดิษฐ์ก็นับจำนวนหลายร้อยแผ่น กับทั้งต้นสลากย้อมก็จะต้องมีประวัติของเจ้าของสลากย้อมด้วย การเขียนประวัติของเจ้าของสลากย้อมนี้ ต้องไปจ้างคนผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน พื้นเมือง ให้แต่งซึ่งเรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “ครรโลง” หรือ “ค่าว” ผู้แต่งจะบรรยายประวัติของเจ้าของสลากย้อม ด้วยสำนวนลีลาอันไพเราะ นับตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง ในบทครรโลงหรือคำค่าวนี้ ผู้แต่งจะสอดแทรกคติธรรม ตลกขบขันเพื่อให้เกิด รสนิยมแก่เจ้าของสลากย้อมและผู้ฟัง ส่วนท้ายก็จะเป็นคำแผ่นาบุญและอธิฐานที่เจ้าของสลากย้อมตั้งใจไว้ ตอนจบก็ลงด้วยครรโลงธรรมเป็นคติสอนใจ การอ่านครรโลงหรือค่าวขนสลากย้อม นิยมอ่านกันตั้งแต่ 2-3 คน ขึ้นไป ต้องหาคนที่มีเสียงดีไพเราะอ่านแล้วถึงจะน่าฟังมาก ถ้าครรโลงของใครแต่งดี ก็จะมีคนมาอ่านไม่ขาด เป็นที่ เชิดหน้าชูตาแก่ผู้เป็นเจ้าของสลากย้อมยิ่งนัก เมื่อแต่งดาสลากย้อมเสร็จแล้ว ก็จะถึงวันทานสลากภัตร เขาจะช่วยกันหามออกจากบ้านไปสู่วัดที่มีการทานสลากภัตร คือใช้คนหามอย่างน้อย 12 คน การถวายทานสลากย้อมก็จะเหมือนกันกับการถวายสลากภัตรนั่นเองเมื่อสลากย้อมจะได้แก่พระภิกษุรูปใด พระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น ก็จะต้องหาคนมาอ่านครรโลงของเขาให้จบก่อน แล้วจึงจะทำพิธีถวายต้นสลากย้อมแก่ท่าน และพร้อมกับรับศีลรับพรจากท่านก็เป็นอันเสร็จพิธี


ประเพณีไทย ภาคใต้
ประเพณีไทย ภาคใต้

ประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระในภาคใต้ พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณการ คือ “พิธีชักพระบก” และ “พิธีชักพระทางน้ำ” ซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา เป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับจากโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ก่อนทำพิธีชักพระ 1 วัน ชาวบ้านจะเตรียมทำอาหารเพื่อนำไปใส่บาตร ซึ่งมีภาษาของ ชาวบ้าน เรียกว่า “พิธีใส่บาตรหน้าล้อ” ครั้งรุ่งขึ้นเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านก็จะนำ ข้าวปลาอาหารไปใส่บาตร โดยมีบาตรมาตั้งเรียงรายเป็นแถว ที่ทำพิธีฉลองพระลากของวัดนั้น ๆ ของทำบุญใส่บาตรก็มี “ปัด” คือข้าวเหนียวใส่กะทิ แล้วห่อด้วยยอดใบมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุก หรือคือเป็นข้าวต้มมัดนั่นเอง เพื่อไปทำบุญ อนึ่ง ในจังหวัดปัตตานีได้มีประเพณีทำข้าวต้ม ห่อใบกะพ้อ โดยการเอาข้าวเหนียวซึ่งหุงด้วยน้ำกะทิ แล้วนำมาห่อด้วยใบกะพ้ออ่อน ๆ การห่อ เขาห่อกันเป็นสามมุมแล้วเอาใส่หม้อต้มอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสุกดีแล้ว จึงเตรียมใส่บาตรทำบุญ ต่อไป
พิธีชักพระบก ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัดบางวัดที่ทำพิธีชักพระทางบก โดยมี พระพุทธรูปยืน ซึ่งหล่อด้วยเงินทั้งองค์เป็นประธานในพิธีชัก เมื่อจวนกำหนดวันลากพระ ทางวัด ก็ต้องตระเตรียมเครื่องประโคมต่าง ๆ เช่น ตะโพน กลอง และฆ้อง เป็นต้น
การชักพระบก จะต้องจัดทำบุญบกที่เรียกกันว่า “ร้านม้า” บนไม้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ 2 ท่อน และไม้ 2 ท่อนนี้เปรียบเสมือนตัวพญานาค แล้วก็มีหัวนาค 2 หัวอยู่ข้างหน้า ส่วนข้างหลัง ก็ทำเป็นหางนาค โดยเฉพาะบนตัวพญานาคปลูกเป็นร้านขึ้น ให้สูงประมาณ 1 เมตรครึ่ง เพื่อเป็นร้านรับบุษบก สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแล้วประดับประดาด้วยธงสามเหลี่ยม ด้านละ 3 คัน รอบนอกกั้นด้วยผ้าผืนยาวประมาณ 2-3 เมตร เพื่อให้สวยงาม
สำหรับบุษบกนี้ เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า “พนมพระ” รอบ ๆ ร้านที่ยกพื้นนี้มีฝาสาน ด้วยไม้ไผ่ มีลวดลายระบายสีตามลักษณะของการยกดอก ซึ่งปิดทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า ฝาผนัง
บนพื้นร้านมานี้ นอกจากจะรับบุษบกแล้ว ก็ยังใช้เป็นที่วางกลองสำหรับประโคมพร้อมด้วยระฆัง ได้นิมนต์พระภิกษุขึ้นประจำบนบุษบกด้วย ขณะที่ชักพระตัวพญานาค 2 ข้างด้านหน้า ต้องใช้เชือกขนาดใหญ่ ซึ่งวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เมตรขึ้นไป เพื่อใช้ในการชักพระข้างละเส้น
การที่ใช้เชือกผูกไว้ เป็นที่สำหรับชักพระไปตามสถานที่ ๆ กำหนดไว้ ซึ่งตามปกติ ก็ไม่ห่างไกลเกินควรนัก ในพิธีชักพระนี้ จะมีพุทธศาสนิกชนทุกวัยและทุกรุ่นไปร่วมพิธีกันมาก ทั้งนี้ หวังที่จะได้บุญได้กุศลและสนุกสนานอีกด้วย อนึ่ง ในขณะที่ผู้คนกำลังลากพระอยู่นี้ ก็จะ ตีกลองเร่งจังหวัดในลากเร็วยิ่งขึ้น บางแห่งที่จุดนัดพบของการลากพระไปรวมกันถึง 4-5 วัดก็มี หรือมากกว่านั้น โดยในบางปีก็ได้จัดให้มีการประกวดพนมพระอีกด้วยว่า วัดใดจะได้รับรางวัลชนะเลิศไป เมื่อทำบุญประเพณีในตามที่ที่ชุมนุมพระทางบกของพุทธศาสนิกชน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ทำพิธีชักพระกลับวัดก็เป็นอันเสร็จพิธี
พิธีชักพระทางเรือ โดยมากมักจะเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำ เช่น ในจังหวัดปัตตานี มีวัดตะเคียนทอง วัดบูรพาราม วัดมัชฌิมาวาส วัดนิยาราม และวัดท่านาว เป็นต้น
ในเรือพระ จะมีพระพุทธรูปสำคัญประดิษฐานอยู่ โดยเฉพาะเรือพระได้ตกแต่งกันไว้ อย่างสวยงามมาก นอกนั้นก็มีเรือของชาวบ้านมาสมทบเข้ากับขบวนแห่ และช่วยกันลากจูงเรือพระแห่ไปสมโภช ที่ย่านกลางชุมนุมชนตามริมฝั่งแม่น้ำ
พิธีการของชักพระก็โดยการใช้เรือลำใหญ่ ๆ เพื่อขนานกันได้ 2-3 ลำ แล้วผูกไม้คาน ให้ติดกันอย่างแข็งแรง เอากระดานปูเป็นพื้นเพื่อตั้งบุษบกหรือพนมพระ ลงบนพื้นนั้น แล้วประดับประดาด้วยธงทิว ประโคมเสียงฆ้อง กลอง ให้อึกกะทึกตลอดเวลา แล้วลากจูงไปตามลำแม่น้ำ เพื่อไปยัง ณ ที่จุดรวมพิธีสมโภช
โดยเฉพาะประเพณีชักพระทางเรือนั้น นับว่าสนุกสนานมากกว่าประเพณีชักพระทางบกมาก ในท้องที่ของอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จุดรวมของพระที่ชักมาก็คือ “หลักหลวงพ่อทุ่งคา” ซึ่งถือว่าเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของเมืองปัตตานีแห่งหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นสถานที่บำบัดโรคและให้โชคลาภแก่ผู้ที่มาทำบุญอีกด้วย
เรือพระที่ทางวัดได้ตกแต่งกันอย่างสวยงามจากหลายวัด ก็จะได้มาชุมนุมกันที่นี่ กับทั้งจะมีเรือของหญิงและของชายอีกหลายลำที่ร่วมขบวนแห่พระ มารวมกันที่ต้นไทรใหญ่ ของลำน้ำยามู เมื่อเรือทุกวัดมาพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็จะทำพิธีใส่บาตรเลี้ยงพระเป็นงานบุญใหญ่ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ก็จะมีการสาดน้ำซึ่งกันและกันระหว่างฝ่ายหญิงกับฝ่ายชาย มีการรื่นเริงด้วยการละเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ จนพลบค่ำจึงชักเรือพระกลับวัด
อนึ่ง มีการละเล่นเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน และสามัคคีกันอย่างดียิ่ง กล่าวคือ มีประเพณีการแย่งเรือพระกัน โดยมีชาวหมู่บ้านหนึ่งเตรียมไว้เพื่อ เข้าไปแย่งชิงเรือพระอีกหมู่บ้านหนึ่ง ฝ่ายเจ้าของก็จะเข้าแย่งเรือพระชักกลับ โดยชักกันไปแล้วชักกันมา ฝ่ายใดมีกำลังมากกว่าก็ชักพระลากไปไว้ที่หน้าวัดของตนเพื่อเรียกร้องเอาค่าไถ่หรือรางวัล หากไม่ได้ค่าไถ่หรือรางวัลก็จะไม่ชักลากเรือพระกลับ


ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีผูกเสี่ยว    
ประเพณี"ผูกเสี่ยว"ก็คือ"พิธีบายศรีสู่ขวัญ"นั่นเองเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอิสานคําว่า"ผูกเสี่ยว"หมายถึง"ผูกมิตรภาพ"นั่นเองเป็นการแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้เลื่อนตําแหน่งในวงราชการและเป็นการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนซึ่งในอิสานนั้นเมื่อมีการจัดงานอะไรก็ตาม
มักจะมีพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือพิธีผูกเสี่ยวควบคู่กันไปเป็นการรับขวัญเรียกขวัญของผู้ที่จากบ้านไปไกลด้วยเวลาอันยาวนานหรือผู้ที่เพิ่งหายป่วยไข้ ให้ขวัญมาอยู่กับเนื้อกับตัวพร้อมกับทําพิธีอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุขให้มีอายุมั่นขวัญยืนพร้อมกันไป

ประเพณีภาคกลาง
ประเพณีภาคกลาง

ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
ความสำคัญ :เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป
พิธีกรรม :โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้มเผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง(บางหมู่บ้านใช้ผ้าสี ผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย
สาระ :เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น


ประเพณีกำฟ้าเป็นประเพณีพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนในจังหวัดสิงห์บุรี
ซึ่งถือว่าเป็นการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือเทวดาผู้รักษาท้องฟ้า ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมีความเชื่อ
สืบต่อกันมาว่า เมื่อได้มีการทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีและประกาศขอพรจากทวยเทพ
ผู้รักษาท้องฟ้าแล้ว เทพยดาอารักษ์ก็จะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

"วันกำฟ้า" ของพวกไทยพวนในหมู่บ้านต่างๆ จะถูกจัดขึ้นไม่ตรงกัน  แล้วแต่
ท้องที่ แต่จะถือกันว่าให้จัดขึ้นภายใน 3 เดือน คือเดือนอ้ายขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ และ
เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีจะถือเอาวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกๆ ปีเป็นวัน
กำฟ้า
ในวันแรกของงานคือวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 หรือที่เรียกว่า "วันสุกดิบ" นี้ชาวบ้าน
จะช่วยกันทำ "ข้าวปุ้น"หรือ "ขนมจีน" กับทั้งน้ำยาหรือน้ำพริกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำไปทำ
บุญถวายพระที่วัดส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจะแจกจ่ายให้ตามบ้านญาติพี่น้อง  เพื่อเป็น
การแสดงความเอื้ออารีต่อกัน และถือเป็นการทำกุศลอย่างหนึ่งน้อยกว่าได้มีการ    เปลี่ยนจาก
ข้าวปุ้นมาเป็นการเผา "ข้าวหลาม" แทน หรือที่เรียกกันว่า"ข้าวหลามทิพย์" แทนเพราะลงทุน
และเก็บได้หลายวันบางคนจึงเรียกงานบุญกำฟ้าว่า "งานบุญข้าวหลาม" ก็มี
พิธีทางสงฆ์ในวันกำฟ้านี้  จะมีพระสงฆ์จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น
จากนั้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เรียกกันว่า "อาจารย์" จะแต่งชุดสีขาว ก็จะทำพิธีสวดเบิกบายศรี
บูชาเทวดาพร้อมกับอัญเชิญเทวดาทั่วสารทิศมารับเครื่องสังเวยและดูพิธีกรรม มีการรำขอพร
โดยหญิงสาวภายในหมู่บ้าน เสร็จจากการรำถวายแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี
สำหรับชาวบ้านเมื่อเสร็จจากทำบุญในตอนเช้าแล้ว ตอนบ่ายก็จะร่วมพิธีกรรม
ร่วมกันส่วนในตอนเย็นชาวบ้านก็จะร่วมกันเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น ไม้หึ่ม มอญซ่อนผ้า ช่วงรำ
วิ่งวัว(ใช้คนวิ่งเป็นคู่ๆ ผู้คว้าธงแดงได้ก่อนเป็นผู้ชนะ) ตีไก่ หรือการเล่นแตะหม่าเปย (คล้าย
สะบ้า) กันอย่างสนุกสนาน
และต่อจากนี้ไปอีก 5 วัน  ชาวบ้านก็จะจัดสำรับกับข้าวอาหารคาวหวานไปถวาย
พระภิกษุที่วัดอีกครั้งหนึ่งเมื่อเสร็จจากการทำบุญแล้วก็จะนำเอาฟืนซึ่งกำลังลุกอยู่ในเตาไฟ
ดุ้นหนึ่งไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อเป็นการสักการะบูชาเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
บนท้องฟ้าเพื่อจะบันดาลให้ฝนตกลงมา  และในช่วง 7 วันนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะคอยฟังเสียงฟ้า
ร้องคำรามว่ามาจากทิศใด  ห่างหรือถี่ขนาดไหนแล้วก็จะทำนายทายทักไปตามทิศนั้นว่าปีนี้
ฝนจะตกมากหรือตกน้อย การทำนาจะได้ผลดีหรือได้ผลน้อย เป็นต้น

ประเพณีไทย