วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การละเล่นเด็กไทย เล่นว่าว การแข่งว่าว เมื่อยามหนาวมาถึง
วันพุธ, ธันวาคม 05, 2555
Lottery Thai
No comments
การเล่นอีกอย่างหนึ่งที่เด็กผู้ชายยุคไอ้จุกไอ้แกละนิยมกัน โดยเฉพาะคนอยู่ต่างจังหวัด หรือถ้าอยู่ในเมืองหลวงแต่มีที่ว่างๆแถวบ้านให้เล่น ก็เล่นกันสนุกสนานตอนเย็นๆ
คือเล่นว่าว
เมื่อดิฉันยังเด็ก ทางรถไฟช่องนนทรีหลังบ้านเป็นที่กว้าง ลมแรง มีเด็กแถวบ้านเอาว่าวมาเล่นกัน ถึงฤดูลมว่าว มองจากหน้าต่างชั้นบน เห็นว่าวหลายตัวลอยลมอยู่บนฟ้า สีสันสดสวย มีหางยาวไหวริกๆตามลม
เดี๋ยวนี้อยู่ทาวเฮาส์ กับคอนโด กันมาก ที่ว่างก็หายาก เด็กผู้ชายยุคนี้คงไม่รู้จัก "ส่งว่าว" หรือ "ผ่อนสายป่าน" เมื่อว่าวถึงลมบน กันแล้ว
ใครเคยทำ "ป่านคม" บ้าง?
วิธีการทำป่านให้คมตามกรรมวิธีของผม เริ่มแรกต้องซื้อด้าย( ซึ่งต้องเป็นด้ายตราสมอด้วย) สองหลอดหรืออาจจะถึงสามหลอด (สำรองเผื่อแพ้ถูกเขาตัดขาด)
กาวหนังควายชิ้นใหญ่ๆ หนึ่งชิ้น หลอดฟลูออเรสเซนต์หนึ่งหลอด กระป๋องไมโลหนึ่งกระป๋อง น้ำพอประมาณ ผ้าสะอาดหนึ่งชิ้น
ทุบหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ครกตำให้ป่นมากที่สุดจนเหมือนแป้ง
เอาน้ำใส่กระป๋องต้มบนเตาไฟให้เดือด ใส่กาวหนังควายลงไป เคี่ยวจนกาวละลายเหนียว ใส่ผงฟลูออเรสเซนต์ลงไป กวนให้เข้ากันดี อย่าให้เหนียวมาก และอย่าให้ใสเกินไป
อันนี้แล้วแต่เทคนิกของแต่ละคน
เอาไม่รวกสองอันมาปักเป็นหลักห่างกันพอประมาณ จากนั้นนำหลอดด้ายใส่ลงไปในกระป๋องกาว นำปลายด้ายมาผูกไว้ที่หลักใดหลักหนึ่ง รอจนกาวคลายความร้อนพอที่มือเรา
จะทนได้ นำผ้าสะอาดชุบที่กาวรูดไปที่ด้ายเดินวนไปตามหลักที่ปักไว้ ระวังอย่าให้เป็นตุ่มปม จนด้ายหมดหลอด รอจนด้ายแห้งซึ่งตอนนี้เรียกว่าป่านแล้ว ม้วนเก็บใส่แกนซึ่ง
อาจจะเป็นปล้องไม่ไผ่ หรือกระป๋องนม ขั้นตอนนี้ต้องระวังมากเพราะป่านจะคมจนบาดนิ้วเราได้โดยแทบไม่รู้สึกตัว เป็นอันเสร็จกรรมวิธี
ต่อไปก็นำเอาป่านไปผูกกับคอซุงของว่าว แล้วก็ชักขึ้นไปบนท้องฟ้า คราวนี้ก็แล้วแต่ฝีมือละครับ ใครดีใครอยู่
แต่ป่านของผมจะใช้มือเปล่าๆ เล่นไม่ได้โดยเด็ดขาด รับรองว่าถ้าสาวผิดพลาดนิดเดียวเนื้อเหวอะแน่ อย่างน้อยต้องมีปลาสเตอร์พันรอบนิ้วชี้ขวา-
ซ้ายตลอดเวลา เพราะต้องคอยกระตุกว่าวเป็นระยะๆ เพื่อกะจังหวะการโฉบ จะต้องพยายามรักษาว่าวให้อยู่สูงกว่าคู่ต่อสู้เสมอ เมื่อจังหวะดีเราก็
โฉบเข้าหา แล้วผ่อนว่าวอย่างรวดเร็วทับป่านของคุ่ต่อสู้ แล้วผ่อนกระตุกเป็นจังหวะ ได้จังหวะว่าวกินลมก็ผ่อนยาวไปเลย รับรองรายไหนรายนั้น
ไม่มีเหลือ แต่ถ้าคู่ต่อสู้ทันกัน ผ่อนตาม คราวนี้ก็เหลือแต่ว่าสายป่านของใครยาวกว่า คนที่สายป่านยาวกว่ามักจะเป็นผู้ชนะในตอนท้ายเสมอ แต่
ถ้าเราเป็นฝ่ายทาบบน เราก็ยังมีโอกาสหนีได้ครับ แต่ถ้าถูกเขาทาบและสายป่านเราสั้นกว่าก็ เอวัง ครับ
อาวุธของว่าวจุฬา คือ จำปา ติดไว้ที่ปลายสายป่านว่าว เป็นตะขอไว้สำหรับเกี่ยวว่าวปักเป้า และลูกดิ่ง
ส่วนอาวุธของว่าวปักเป้า คือ เหนียง โดยทำเชือกห้อยไว้เพื่อสำหรับคล้องว่าวจุฬา
ให้ดูอาวุธของว่าวปักป่าว เรียกว่า จำปา
ของโบราณทำด้วยหนามหวาย นำมามัดเข้าด้วยกัน ๑ มัดประมาณ ๑๐ หนามหวาย มีความคมมาก สามารถเกี่ยวสายป่านว่าวปักเป้า
ของปัจจุบันนิยมนำจากไม้ไผ่เหลา นำมามัดเข้าด้วยกัน
ส่วนว่าวปักเป้า เวลาแข่งขันจะใส่หางให้ เพื่อให้ถ่วงบังคับได้ง่าย อาวุธของว่าวปักเป้าคือ เหนียง ซึ่งก็คือสายป่านที่ห้อยย้อยลงมา เพื่อให้คล้องหัวว่าวจุฬาได้
คำว่า "เหนียง" เราเลยมาใช้กับคนสูงอายุ ที่ถุงใต้คอห้อยยาน เรียกว่า เหนียงยาน
ก่อนอื่นคือ ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ว่าวธรรมดาที่ไม่ได้ทำมาเพื่อใช้แข่ง ใช้ชักเล่นเพื่อสนุกสนาน เราจะไม่ไปข้องแวะกับเขา เพราะเขาไม่ได้ใช้ป่าน ถ้าป่าน
ของเราไปถูกด้ายของเขานิดเดียวก็ขาดผล็อยแล้ว ต่างกับป่านที่ผมได้อธิบายให้อาจารย์ทราบไปแล้วนั่นจะเหนียวและคม
การตัดกันจะมีหลายลักษณะ ไม่จำเป็นต้องขวางเฉียงเสมอไป จังหวะการทาบล่างทาบบนก็สำคัญ แต่ถ้าเรามั่นใจว่าป่านเรายังใหม่และคม-เหนียว อย่างแน่นอน เราก็
ท้าชนได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องนั้น อาจจะโฉบพันเลยเพื่อตัดสินกันในคราวเดียว เขาเรียกมวยหมัดหนัก ไม่ให้คู่ต่อสู้หนีเพราะป่านพันกันอยู่ ในกรณีนี้ป่านเราต้องใหม่จริงๆ
ไม่ใช่ใช้ตัดกันมาหลายครั้งแล้ว
ส่วนกระทบกันแล้วจะขาดเลยหรือไม่มันอยู่ที่จังหวะ โดนสายซุง คอซุง ขาดทันที ทำป่านไม่ดีมีตุ่ม มีปม ป่านติดตุ่มหรือปมก็ขาดเกือบจะทันที
ส่วนการถูสายป่านอย่างที่อาจารย์กล่าว มันอยู่ที่จังหวะฝีมือและความคงทนของสายป่าน ถ้าจังหวะที่เขาสาวแต่เราผ่อนก็แทบจะรู้ผลกันในตอนนั้นเลย คือการเสียดสีกันอย่าง
รุนแรงเกิดขึ้นในขณะนั้น
ส่วนการผ่อนสายป่านยาวจะเกิดขึ้นในกรณี หนีกันไม่ออก อันเกิดจากสายป่านพันกัน และป่านเหนียวคมพอกัน เราจะต้องค่อยๆ ผ่อน ค่อยๆ ดึงเป็นจังหวะ ปลายนิ้วเราจะต้อง
แตะสัมผัสกับสายป่านเพื่อรับความรู้สึกสั่นสะเทือนที่ผ่านมาตามสายป่านว่าอยู่ในลักษณะใด กรณีนี้เกิดขึ้นยาก แสดงถึงฝีมือที่ทัดเทียมกันจริงๆ อาจารย์อาจจะไม่เชื่อถ้าผม
บอกว่าบางครั้งสู้กันจนมองเห็นว่าวตัวเล็กกว่านกกระจอกแล้วยังไม่แพ้ชนะกันเลย แยกไม่ออกว่าว่าวใครเป็นว่าวใคร
และการผ่อนสายป่านอย่างรวดเร็วจะมีหลายกรณี หากว่าวเราอยู่สูงแล้วเราโฉบเข้าหาคู่ต้อสู้ปักดิ่งเข้าไปหา โดยปกติคู่ต่อสู้จะโฉบหนีเพราะอยู่ในสภาพเสียเปรียบ แต่ถ้าเกิด
ความผิดพลาดว่าวไม่เป็นใจ หนีไม่ทันถูกเราทาบได้ แล้วเราผ่อนสายป่านยาวโดยทันที ก็เหมือนเราเอาใบเลื่อยไปตัดเขานั่นแหละครับ
สาระดีๆจากท่าน willyquiz ท่าน siamese รวมไปถึงเว็บของอาจารย์ เทาชมพู ด้วยจ้า....
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
การแสดงความคิดเห็นของบล็อกประเพณีไทย จะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น
ควรใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม ก่อนที่จะทำการแสดงความคิดเห็นของท่านสู่ที่สาธารณะ งดคำหลาบ คำว่าร้ายทุกกรณี หรืออื่นๆที่ทีมงานเห็นว่าไม่ดีไม่งาม
ขอลบทันทีโดยไม่บอกกล่าวหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขอบคุณครับ
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น