วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Rosalind Franklin บน Google logo วันนี้

Rosalind Franklin
Rosalind Franklin.jpg


เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463
ตำบลนอตติงฮิล กรุงลอนดอน
เสียชีวิต 16 เมษายน พ.ศ. 2501 (อายุ 37 ปี 9 เดือน)
ตำบลเชลซี กรุงลอนดอน
ด้วยโรคมะเร็งรังไข่
เชื้อชาติ อังกฤษ
สาขาวิชา การถ่ายภาพผลึกด้วยรังสีเอกซ์
สถาบันที่อยู่ สถาบันวิจัยอรรถประโยชน์ถ่านหินแห่งสหราชอาณาจักร
ห้องปฏิบัติการกลางเคมีบริการแห่งชาติฝรั่งเศส
ราชวิทยาลัย และวิทยาลัยเบิร์กเบค มหาวิทยาลัยลอนดอน
ผลงาน โครงสร้างละเอียดของถ่านหินและแกรไฟต์, โครงสร้างดีเอ็นเอ, โครงสร้างไวรัส
Rosalind Franklin's 93rd birthday

โรซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 — 16 เมษายน พ.ศ. 2501) เป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส แม้ในตอนแรกเธอจะทำงานวิจัยด้านถ่านหินและการศึกษาด้วยรังสีเอกซ์ แต่เทคนิคที่เธอใช้ก็ได้นำมาศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลจนทำให้เพื่อนร่วมงานของเธอได้รับรางวัลโนเบล อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานในสถานที่ที่มีรังสีเอกซ์อยู่มาก ทำให้เธอต้องถึงแก่กรรมก่อนวัยอันควร



ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2496 โรซาลินด์ได้เดินทางไปราชการที่สหรัฐอเมริกา แต่แล้วเรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อเธอพบเนื้องอกที่ช่องท้อง จนทำให้ไม่สามารถสวมกระโปรงได้อย่างปกติ ไม่นานนักเธอเข้ารับการผ่าตัดในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ผลปรากฏพบเนื้องอกสองก้อนในช่องท้อง นับแต่นั้นมา โรซาลินด์ต้องเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาสลับกับการพักฟื้น กำลังใจของเธอในขณะนั้นมาจากเพื่อนร่วมงานและญาติ ๆ ในจำนวนนั้นก็มีแอนน์ ซายร์ (Anne Sayre) ฟรานซิส คริก และภรรยา โอดิล คริก (Odile Crick) นอกจากนี้ โรแลนด์ แฟรงคลิน (Roland Franklin) และนินา แฟรงคลิน (Nina Franklin) ผู้เป็นหลานน้า ก็ยังให้กำลังใจในช่วงเวลาที่แย่ที่สุดในชีวิตด้วย
แม้โรซาลินด์จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้าย และอาการของเธอก็ทรง ๆ ทรุด ๆ แต่ก็หาให้เธอได้ละความเพียรในงานวิจัยไม่ ระหว่างนั้นเอง โรซาลินด์และเพื่อนร่วมงานได้มุ่งมั่นทำงานวิจัยและผลิตบทความทาวิชาการ โดยในปี พ.ศ. 2499 กลุ่มวิจัยของเธอตีพิมพ์บทความ 7 ฉบับ และในปี พ.ศ. 2500 ก็ตีพิมพ์บทความได้ 6 บทความ ปีเดียวกันนั้นเอง กลุ่มวิจัยยังได้ศึกษาไวรัสโปลิโอ โดยได้รับทุนวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา
ไม่นานนัก โรซาลินด์ล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลในกรุงลอนดอน อาการก็กลับคลายลงจนช่วงต้นปี พ.ศ. 2501 เธอก็ได้กลับไปทำงานในฐานะนักวิจัยสมทบสาขาชีวฟิสิกส์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ครั้นถึงวันที่ 30 มีนาคม ปีเดียวกันนั้นเอง เธอก็ล้มป่วยซ้ำอีก ในที่สุดนักเคมีผู้พากเพียรแต่โชคร้ายผู้นี้ก็ถึงแก่กรรมลงเมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2501 ด้วยโรคปอดบวมและมะเร็งรังไข่ระยะที่สอง รวมอายุได้ 37 ปี

ผลงานของเธอ
โรซาลินด์ แฟรงคลิน ไม่เคยได้รับเสนอชื่อให้ได้รับรางวัลโนเบล เนื่องจากข้อบังคับการให้รางวัลได้ห้ามการเสนอชื่อผู้ทำผลงานที่สิ้นชีวิตแล้ว เพื่อนร่วมงานของเธอ ฟรานซิส คริก, เจมส์ วัตสัน และมอริส วิลคินส์ ซึ่งรับช่วงงานต่อ จึงได้รับรางวัลแทนเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในฐานะการค้นพบกรดนิวคลีอิกและดีออกซีไรโบนิวคลีอิก

อย่างไรก็ดี เธอได้รับเกียรติยศหลังจากที่ถึงแก่กรรมไปแล้วจากหลายสถาบัน ดังต่อไปนี้
* พ.ศ. 2525 องค์กรนักเคมีสตรี (ไอโอตาซิกมาพาย) ของสหรัฐอเมริกา ยกย่องให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
* พ.ศ. 2535 คณะกรรมการมรดกแห่งชาติอังกฤษ ประกาศให้บ้านที่โรซาลินด์ แฟรงคลินอาศัยในวัยเยาว์ เป็นมรดกแห่งชาติ
* พ.ศ. 2536 ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน เปลี่ยนชื่อหอพักออร์ชาร์ด (Orchard Residence) เป็นหอโรซาลินด์ แฟรงคลิน
* พ.ศ. 2537 ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน ตั้งชื่อหอพักที่วิทยาเขตแฮมสเตดเป็นชื่อแฟรงคลิน เพื่อเป็นเกียรติยศ
* พ.ศ. 2538 วิทยาลัยนิวน์แฮม มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สร้างหอพักแฟรงคลินขึ้น แล้วตั้งอนุสาวรีย์ของเธอไว้ในสวนด้วย
* พ.ศ. 2540 วิทยาลัยเบิร์กเบค (วิทยาลัยภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยลอนดอน เปิดห้องปฏิบัติการโรซาลินด์ แฟรงคลิน
* พ.ศ. 2540 ดาวเคราะห์น้อย 9241 รอสแฟรงคลิน ถูกค้นพบและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติยศ
* พ.ศ. 2541 หอภาพบุคคลกรุงลอนดอน แขวนภาพของโรซาลินด์ แฟรงคลิน ไว้ข้าง ๆ รูปของเพื่อนร่วมงานของเธอ
* พ.ศ. 2543 ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลอนดอน เปิดอาคารแฟรงคลิน-วิลคินส์ เพื่อเป็นเกียรติแก่โรซาลินด์และมอริสในฐานะที่เคยทำงานที่วิทยาลัยแห่งนี้
* พ.ศ. 2541 สถาบันมะเร็งแห่งชาติอเมริกา สถาปนารางวัลโรซาลินด์ อี. แฟรงคลิน เพื่อสตรีในวงการวิทยาศาสตร์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การแสดงความคิดเห็นของบล็อกประเพณีไทย จะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น
ควรใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม ก่อนที่จะทำการแสดงความคิดเห็นของท่านสู่ที่สาธารณะ งดคำหลาบ คำว่าร้ายทุกกรณี หรืออื่นๆที่ทีมงานเห็นว่าไม่ดีไม่งาม
ขอลบทันทีโดยไม่บอกกล่าวหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขอบคุณครับ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น