Julius Richard Petri คือใคร?
วันนี้ Google มีเรื่องราวดีๆ มาฝาก เราจะมาพูดถึงประวัติของ Julius Richard Petri ผู้ที่เป็นทั้งแพทย์ และนักแบคทีเรียวิทยาชาวเยอร์มันคนแรก ที่เป็นผู้คิดค้น พัฒนาจานเพาะเชื้อ (Petri dish) ที่ปัจจุบันนี้มีใช้กันแพร่หลายในการวิจัยต่างๆ ซึ่งวันนี้ 31 พฤษภาคม 2013 นี้ เป็นวันครบรอบวันเกิด 161 ปี เรามารู้จัก และดูประวัติของ Julius Richard Petri กันดีกว่าครับ
google : Julius Richard Petri
ประวัติ Julius Richard Petri
Julius Richard Petri ( จูเลียว ริชาร์ด เพตริ) เกิดวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1852 ที่เบอร์ลิน ประเทศเยอร์มัน เขาเริ่มศึกษาทางการแพทย์ที่ Kaiser Wilhelm Academy ซึ่งเป็นสถาบันการแพทย์ของทางการทหาร และสำเร็จการศึกษาในปี 1876 แต่จากนั้น Julius Richard Petri ได้ทำการศึกษาต่อที่โรงพยาบาล Charite จึงทำให้ได้รับการบรรจุเป็นแพทย์ทหารตั้งแต่ปี 1882 นั่นเอง
Julius Richard Petri
จนมาถึงปี 1879 Julius Richard Petri ได้เข้ามาทำงานที่ Imperial Health Office ในกรุงเบอร์ลิน ที่แห่งนี้เอง เขาได้เป็นผู้ช่วยให้กับ Robert Koch นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ผู้ที่ริเริ่มเทคนิตการเพาะเชื้อบน Agar Plate จาก Petri Dish ของ Julius Richard Petri นั่นเอง จากนั้น Julius Richard Petri ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1921 เมือง Zeitz ประเทศเยอร์มัน อายุรวม 69 ปี
Petri Dish
ผลงานที่น่าสนใจของ Julius Richard Petri
Petri Dish คือ จานเพาะเชื่อ ที่ถือว่าเป็นผลงานที่มีประโยชน์ต่อวงการวิจัยเป็นอย่างมาก ซึ่งจานเพาะเชื้อนี้ สามารถเพาะเลี้ยงเชื้อได้ ด้วยวิธึการเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง ซึ่งทำมาจากวัสดุที่เป็นแก้วหรือพลาสติก รูปทรงกระบอกทรงเตี้ย มีฝาปิดผนึก
Petri Dish นี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยนำมาฆ่าเชื้อด้วย สเตอริไรส์ ในหม้อนึ่งความดัน หรือเข้าตู้อบความร้อนที่อุณหภูมิ 160 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก็จะสามารถนำมาใช้ใหม่ได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงจะสามารถกล่าวได้ว่า Julius Richard Petri เป็นบุคคลสำคัญต่อวงการทางการแพทย์เลยมาจนถึงปัจจุบันเลยก็ว่าได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
การแสดงความคิดเห็นของบล็อกประเพณีไทย จะมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น
ควรใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม ก่อนที่จะทำการแสดงความคิดเห็นของท่านสู่ที่สาธารณะ งดคำหลาบ คำว่าร้ายทุกกรณี หรืออื่นๆที่ทีมงานเห็นว่าไม่ดีไม่งาม
ขอลบทันทีโดยไม่บอกกล่าวหรือแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขอบคุณครับ
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น